Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45775
Title: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยาของเครื่องวัดผลลัพธ์ด้านการรักษาโดยการใช้ยาที่รายงานโดยผู้ป่วย: ด้านคุณภาพชีวิต ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี
Other Titles: PSYCHOMETRIC PROPERTIES OF THE PATIENT–REPORTED OUTCOME MEASURE OF PHARMACEUTICAL THERAPY: QUALITY OF LIFE (PROMPT-QOL) AT RAMATHIBODI HOSPITAL
Authors: ภัทริน สุกาญจนาเศรษฐ์
Advisors: พรรณทิพา ศักดิ์ทอง
วิชช์ เกษมทรัพย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Phantipa.S@Chula.ac.th,phantipa.s@pharm.chula.ac.th
vijj@hotmail.com
Subjects: คุณภาพชีวิต
การวัดทางจิตวิทยา
การบริบาลทางเภสัชกรรม
แบบทดสอบทางจิตวิทยา -- ความตรง
ความเชื่อถือได้
การรักษาด้วยยา -- ไทย -- โรงพยาบาลรามาธิบดี
Quality of life
Psychometrics
Pharmaceutical services
Psychological tests -- Validity
Reliability
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ : เพื่อวิเคราะห์ข้อคำถามและทดสอบความสามารถในการใช้งานจริง ความเที่ยงและความตรงของแบบสอบถาม PROMPT-QoL (Patient–Reported Outcome Measure of Pharmaceutical Therapy: Quality of Life) ซึ่งเป็นแบบประเมินผลลัพธ์ด้านการรักษาโดยการใช้ยาที่รายงานโดยผู้ป่วย วิธีการศึกษา : ทำการศึกษาในผู้ป่วยนอก 400 คนที่มีการใช้ยาต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือน ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยอาสาสมัครจะได้รับแบบสอบถาม PROMPT-QoL แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ยา MTB แบบสอบถาม WHOQOL-BREF–THAI และ EQ-5D-5L ฉบับภาษาไทยสำหรับตอบด้วยตนเอง และขอความร่วมมือให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถามซ้ำอีกครั้งในอีก 1 - 2 สัปดาห์ต่อมา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมวิเคราะห์ข้อคำถาม หาความสามารถในการใช้งานจริง ความเที่ยง และความตรงของแบบสอบถาม PROMPT-QoL ผลการศึกษา : แบบสอบถาม PROMPT-QoL ประกอบไปด้วย 9 มิติ 43 ข้อคำถาม ใช้เวลาในการทำเฉลี่ย 14.4 ± 5.4 นาทีซึ่งสามารถนำไปใช้งานจริงได้ มีความเที่ยงของการทดสอบซ้ำอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากในทุกมิติ (ICCs ≥ 0.75) มีความเที่ยงภายในเครื่องมือของมิติส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (Cronbach’s alpha ≥ 0.7) ยกเว้นในมิติการมียาให้ใช้/การเข้าถึงยา อย่างไรก็ตามความสอดคล้องกันของข้อคำถามโดยรวมในมิติดังกล่าวถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ สำหรับความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ แบบสอบถาม PROMPT-QoL มีสหสัมพันธ์กับ WHOQOL-BREF–THAI และ EQ-5D-5L ในระดับพอใช้ถึงปานกลาง (r = 0.25 - 0.50) ด้านความตรงทางโครงสร้าง แบบสอบถาม PROMPT-QoL 7 มิติย่อยมีสหสัมพันธ์กับมิติคุณภาพชีวิตโดยรวมของการใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการใช้แบบสอบถาม PROMPT-QoL ในกลุ่มคนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา จำนวนรายการยาที่ใช้ การควบคุมโรค การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา ทัศนคติความต้องการในการใช้ยา และสิทธิการรักษาที่แตกต่างกัน คะแนน PROMPT-QoL จะมีความแตกต่างกันในบางมิติแตกต่างกันไป สรุป : แบบสอบถาม PROMPT-QoL ประกอบไปด้วย 9 มิติ 43 ข้อคำถาม มีความสามารถในการใช้งานจริง ความเที่ยงและความตรงอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ แต่ควรมีการศึกษาความไวต่อการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพ เพื่อให้การทดสอบคุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยาเป็นไปอย่างครบถ้วน คำสำคัญ : ความสามารถในการใช้งานจริง ความเที่ยง ความตรง การประเมินผลลัพธ์ด้านการรักษาที่ได้จากการรายงานของผู้ป่วย โรงพยาบาลรามาธิบดี
Other Abstract: Objective: To conduct item analysis and investigate practicality, reliability and validity of Patient-Reported outcome Measure of Pharmaceutical Therapy: Quality of Life (PROMPT-QoL) Method: In this study, data were collected from 400 outpatients who had been using medications for at least 3 months at Ramathibodi hospital. Participants completed PROMPT-QoL, Medication Taking Behavior questionnaire (MTB), WHOQOL-BREF-THAI and EQ-5D-5L Thai version by themselves. They were asked for retest these questionnaires in 1 - 2 weeks later. Classical test theory was used to analyze item and test practicality, reliability and validity of PROMPT-QoL Result: PROMPT-QoL consisted of nine domains (forty-three items). The average time used for it was 14.4 ± 5.4 mins that no burden for administration. Every domain in PROMPT-QoL showed excellent test-retest reliability (ICCs ≥ 0.75). Most domains revealed acceptable internal consistency reliability (Cronbach’s alpha ≥ 0.7) except availability/accessibility domain. However this domain showed acceptable corrected item-total correlations. For criterion validity, PROMPT-QoL moderately correlated with WHOQOL–BREF-THAI and EQ-5D-5L (r = 0.25 – 0.50). Among nine PROMPT-QoL domains, seven domains correlated with overall quality of life domain significantly. Different sex, age, levels of education, number of medicines per day, disease control level, incidence of adverse drug reaction, attitude to medicine use and health insurance affected PROMPT-QoL scores in each domain differently. Conclusion: PROMPT-QoL consists of nine domains (forty-three items) that reveals acceptable practicality, reliability and validity. Further studies about responsiveness are required to complete psychometric properties. Keyword: practicality, reliability, validity, patient-reported outcome, Ramathibodi Hospital
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45775
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.590
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.590
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5676212233.pdf4.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.