Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45878
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์en_US
dc.contributor.authorนิดา จำปาทิพย์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:20:15Z
dc.date.available2015-09-18T04:20:15Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45878
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำปฏิเสธภาษาไทยจำนวน 4 คำ ได้แก่ บ่ มิ ไป่ และ ไม่ โดยมีสมมติฐานว่าคำเหล่านี้ในอดีตมีความแตกต่างด้านการณ์ลักษณะแต่ต่อมาสูญลักษณะดังกล่าวไป อีกทั้งต้องการนำเสนอที่มาของคำปฏิเสธ ไม่ ซึ่งไม่ใช่คำตกทอดจากภาษาไทดั้งเดิมตามการสืบสร้างคำปฏิเสธในภาษาไทดั้งเดิม งานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาตามแนวการศึกษาแบบอิงการใช้ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารโบราณจำนวน 61 เล่ม ตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึงสมัยรัชกาลที่ 7 ผลการศึกษาพบว่า คำปฏิเสธในสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยาตอนต้นยังคงรักษาความแตกต่างด้านการณ์ลักษณะซึ่งเป็นลักษณะตกทอดจากภาษาไทดั้งเดิมเอาไว้ กล่าวคือ บ่ และ มิ ปรากฏในสถานการณ์แบบทรงสภาพ ขณะที่ ไป่ ปรากฏในสถานการณ์พลวัต แต่เมื่อเข้าสู่สมัยอยุธยาตอนกลางไม่พบความแตกต่างดังกล่าวแล้ว นอกจากความแตกต่างของคำปฏิเสธ ผลการศึกษายังสรุปได้ว่า ไม่ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ มิ และ ได้ จากวลีกลายเป็นคำ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลางต่อเนื่องกับสมัยอยุธยาตอนปลาย การคำนวณค่าความถี่การปรากฏร่วมของ มิได้ แสดงให้เห็นว่าในสมัยอยุธยาตอนกลาง มิ ปรากฏกับ ได้ เกินกว่าครึ่งหนึ่งของการพบ มิ ปรากฏกับคำอื่นๆ และการปรากฏเช่นนี้เป็นลักษณะที่พบในสมัยอยุธยาตอนกลางเท่านั้น ความถี่ของการใช้คำหรือโครงสร้างใดซ้ำๆ มักส่งผลให้เกิดการจดจำแบบเป็นหน่วยเดียว ในกรณีของ มิได้ เมื่อปรากฏร่วมกันด้วยความถี่สูงทำให้พบว่า มิได้ มีความหมายมีความหมายคลุมเครือ บางกรณีมีความหมายเท่ากับคำว่า ไม่ โดยเฉพาะเมื่อปรากฏกับกริยาคุณศัพท์ การที่ มิได้ ถูกใช้เป็นคำปฏิเสธโดยไม่มีความหมายของ ได้ แสดงให้เห็นว่า มิได้ มีลักษณะเป็นหน่วยเดียว ประกอบกับความถี่ของการใช้ทำให้การออกเสียงสั้นลงผลก็คือ มิได้ เกิดการควบรวมเสียง เปลี่ยนจากวลีกลายเป็นคำว่า ไม่ จากหลักฐานต่างๆแสดงให้เห็นว่าคำว่า ไม่ เกิดขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลางต่อเนื่องกับอยุธยาตอนปลาย เพื่อแทนที่ มิได้ แต่ในระยะแรก ไม่ ยังมีตำแหน่งการปรากฏที่จำกัด คือ พบปรากฏเฉพาะหน้าคำกริยาหลัก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ไม่ แสดงการแพร่การใช้และเข้าแทนที่ มิ อย่างสมบูรณ์ในทุกตำแหน่ง จากการเข้าแทนที่ มิ ของไม่ ส่งผลให้ มิ มีจำนวนการปรากฏน้อยลง กระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 7 มิ ได้กลายเป็นคำปฏิเสธที่พบเฉพาะในสำนวนซึ่งเคยมีการใช้บ่อย หรือปรากฏในภาษาที่เป็นทางการเท่านั้นen_US
dc.description.abstractalternativeThis research studies the development of 4 Old Thai negators: bo, mi, pai and mai. It proposes that these morphemes were distinguished from each other in terms of aspect. Moreover, it proposes the origin of mai whose origin cannot be traced back to Proto-Tai. The analysis is conducted in the framework of usage-based theory of language change. The data used in this diachronic research are samples of 61 historical documents, dated from the Sukhothai period (1238A.D.) to the reign of King Rama VII (1934 A.D.) The study reveals that Old Thai makes a distinction between bo and mi in stative situations and pai in dynamic situations. This contrast was presented from the Sukhothai period and the Early Ayutthaya period, but later in the Late Ayuttaya period, the distinction disappeared. Another finding is about the origin of mai. This negator emerges through the process of univerbation between Old Thai negator mi and the verb dai ‘to get’ in resultative constructions. Quantitative data shows that co-occurrences of mi and the verb dai increased dramatically in the Middle Ayutthaya period (1488-1629A.D.) Of all the co-occurences between mi and other verbs, the cooccurences of mi and dai accounts for more than half. High token frequencies result in chunking or holistic memory storage. As mi + dai became a collocation, it showed semantic ambiguity. In many cases, midai are interpreted as ‘not realized’ but in other cases it can be interpreted simply as ‘not.’ It is likely that midai lost its original complexity, and with its high frequency, midai is contracted to mai. Thus, it is believed that the negator mai emerged around late 17th century and replaced midai. It takes over mi as the most common negator during the Late Ayutthaya and Thonburi periods (1629-1782A.D.). However, the position of midai was fixed only before the main verb until the reign of King Rama III period. During this period, it diffused and replaced in all positions. Later in the reign of King Rama VII period, mi was scarcely used and appeared only in fixed expressions and in more formal written language. Whereas mai is used for every purpose and became the most common negator.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.636-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษาไทย -- ความผันแปร
dc.subjectภาษาไทย -- ประวัติ
dc.subjectThai language -- Variation
dc.subjectThai language -- History
dc.titleพัฒนาการของคำบอกปฏิเสธ "บ่" "มิ" "ไป่" "ไม่" ในภาษาไทยen_US
dc.title.alternativeTHE DEVELOPMENT OF THE NEGATORS "BO" "MI" "PAI" "MAI" IN THAIen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineภาษาศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPittayawat.P@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.636-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5280507622.pdf4.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.