Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45881
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเอก ตั้งทรัพย์วัฒนาen_US
dc.contributor.authorสาทร ศรีเกตุen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:20:16Z-
dc.date.available2015-09-18T04:20:16Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45881-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้ ศึกษาความสัมพันธ์เชิงอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองในวัฒนธรรมเพลงไทยสากล ตั้งแต่เกิดแนวเพลงนี้ขึ้นจนถึงปี พ.ศ.2545 โดยมีสมมุตติฐานว่า พื้นที่ของวัฒนธรรมเพลงไทยสากล เป็นพื้นที่ของการต่อสู้ต่อรองเชิงอำนาจ ที่แต่ละฝ่ายพยายามเข้าไปสร้างความเป็นจ้าว โดยผู้ที่จะสามารถครองความเป็นจ้าวในพื้นที่ดังกล่าว จะต้องสร้างฐานอำนาจทั้งในเชิงเศรษฐกิจการเมืองหรือฐานอำนาจในกระบวนการผลิต และฐานอำนาจในทางสังคมวิทยาการเมืองหรือฐานอำนาจทางวาทกรรมความคิด โดยผู้วิจัยได้ตั้งคำถามหลักในการศึกษา คือ 1) โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจทางเศรษฐกิจการเมืองในกระบวนการผลิตเพลงไทยสากลมีความเป็นมาอย่างไร 2) ความสัมพันธ์เชิงอำนาจทางวาทกรรม ทั้งการต่อสู้ต่อรองเพื่อแย่งชิงพื้นที่ในสังคมของแต่ละแนวเพลง และการนำเสนอความคิดผ่านบทเพลงมีความเป็นมาอย่างไร และ 3) ความสัมพันธ์ทางอำนาจทั้งในเชิงเศรษฐกิจการเมืองและในเชิงวาทกรรมในวัฒนธรรมเพลงไทยสากล ส่งผลกระทบอย่างไรต่อการสร้างอำนาจนำและการต่อสู้ต่อรองเชิงอำนาจของผู้ที่เกี่ยวข้องและส่งผลอย่างไรการพัฒนาทางการเมืองไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการพัฒนาประชาธิปไตย ผลการศึกษา พบว่า ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 รัฐเป็นผู้มีอำนาจหลักในกระบวนการผลิตเพลง แต่ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว ทุนได้เข้ามามีอำนาจแทนรัฐ แต่รัฐก็ไม่ได้สูญเสียอำนาจนำแต่อย่างใด เนื่องจากทุนแสดงตัวเป็นพันธมิตรมากกว่าฝ่ายตรงข้าม ในส่วนของอำนาจเชิงวาทกรรม รัฐก็เป็นผู้แสดงบทบาทหลักในการควบคุมวาทกรรมความคิดตลอดจนการมีอิทธิพลต่อฐานะตำแหน่งของแนวเพลงต่างๆ ในสังคม ทั้งนี้ เมื่อวัฒนธรรมประชานิยมมีพลังมากขึ้น รัฐก็ได้เข้ามาแสดงตนเป็นตัวแทนการให้ความหมาย และดึงเพลงลูกทุ่งมาเป็นฝ่ายเดียวกับรัฐ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและกระแสประชาธิปไตย ก็ส่งผลให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นในวัฒนธรรมเพลงไทยสากล ทั้งในส่วนของอำนาจทางการผลิตและการนำเสนอแนวคิดผ่านบทเพลง ก็ได้สะท้อนการพัฒนาประชาธิปไตยไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นของการยอมรับซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมen_US
dc.description.abstractalternativeThis study attempt to explain the political and economic power relation in Thai popular music culture from the beginning of the musical genre to 2002. The study’s assumption is that the cultural sphere is the area of struggle to gain or maintain hegemonic power and for ones to reach to hegemonic status, is to gain both Political Economy, the predominate power in production process, and Political sociology, the predominate power in discursive practices arena. The questions of the study are 1) how the power structure in Thai popular music production process been until 2002, 2) how the power structure in discursive practices in Thai popular music culture been until 2002, and 3) how the power relation studied in 1) and 2) reveal to Thai political development especially in the realm of democratic progress. The finding of the study is that Thai state was the hegemonic power in Thai popular music culture until 1973. After that the music industry was formed and encouraged the capitalist to jumped in and got more power in the industry, but the power of the state didn’t weak down because state and capitalist were not appeared a rival but alliance that made both were the co-predominate power in Thai popular music culture. However resistances were constantly happened and got more stronger by the means of changing in technology that declined the dominate power of the capitalist and democratic trend that empowered the subordinated to presented themselves, including their musical identities. Overall, the declined of the hegemonic power in Thai popular music culture revealed Thai democratic development especially the democratic of differences acceptance.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleพัฒนาการความสัมพันธ์เชิงอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองในวัฒนธรรมเพลงไทยสากลen_US
dc.title.alternativeTHE DEVELOPMENT OF POLITICAL AND ECONOMIC POWER RELATION IN THAI POPULAR MUSIC CULTUREen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineรัฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAke.T@Chula.ac.th,ake.tangsupvattana@gmail.comen_US
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5281510624.pdf5.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.