Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45894
Title: ยุทธศาสตร์กองบัญชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาตำรวจชั้นประทวนประจำสถานีตำรวจ
Other Titles: STRATEGIES OF THE POLICE EDUCATION BUREAU FOR THE DEVELOPMENT OF NON-COMMISSIONED OFFICERS IN POLICE STATION
Authors: ศักดิ์ดา ประพุฒิศักดิ์
Advisors: พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
ชญาพิมพ์ อุสาโห
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pruet.S@Chula.ac.th
Chanyapim.U@Chula.ac.th
Subjects: การบริหารงานบุคคล
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ยุทธศาสตร์
ตำรวจ
ตำรวจชั้นประทวน
การพัฒนาบุคลากร
Personnel management
Human resources development
Strategy
Police
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการพัฒนาตำรวจชั้นประทวนประจำสถานีตำรวจกลุ่มการป้องกันปราบปราม 2) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการพัฒนาตำรวจชั้นประทวนประจำสถานีตำรวจกลุ่มงานป้องกันปราบปราม และ 3) เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์กองบัญชาการศึกษาสำหรับการพัฒนาตำรวจชั้นประทวนประจำสถานีตำรวจ โดยใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาบุคลากรแบบการพัฒนาผลการปฏิบัติงาน (HPE model) ของ William J. Rothwell โดยเก็บข้อมูลจากศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภาค สถานีตำรวจและสำนักงานการศึกษาและการประกันคุณภาพ กองบัญชาการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบประเมินและการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น Modified Priority Need Index : PNI Modified ผลการศึกษา พบว่า ยุทธศาสตร์กองบัญชาการศึกษาเพื่อพัฒนาตำรวจชั้นประทวนประจำสถานีตำรวจได้กำหนดยุทธศาสตร์เป็น 8 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ 1) เร่งรัดพัฒนาทักษะบุคลากรในศูนย์ฝึกอบรม 2) พัฒนาตำรวจชั้นประทวนโดยใช้ปัญหาร่วมในการปฏิบัติงานเป็นหลัก 3) วัดผลความสำเร็จของการพัฒนาตำรวจชั้นประทวนโดยเน้นการลดค่าใช้จ่ายองค์กรและปัญหาได้รับการแก้ไข 4) เปลี่ยนกระบวนทัศน์ที่มาของปัญหาการปฏิบัติงาน 5) เปลี่ยนกระบวนทัศน์พันธกิจของศูนย์ฝึกอบรม 6) สร้างความสัมพันธ์เชิงรุกกับเป้าหมายขององค์กร 7) ปรับเปลี่ยนการรับรู้ของผู้อื่นต่อศูนย์ฝึกอบรม 8) เพิ่มศักยภาพการอยู่รอดของศูนย์ฝึกอบรมในเวลาวิกฤติ
Other Abstract: The purposes of this research were to 1) Study the current and expected situation of the Development of Non-Commissioned Officers in Police Station and 2) Identify strengths, weaknesses, opportunities and threats of the development of non-commissioned officers in police station and 3) Develop the strategies of the police education bureau for the development of non-commissioned officers in police station by adapting Performance Improvement in Human Resource Development (HPE Model) by William J. Rothwell. The questionnaire, evaluation form and focus group meeting were used as the instrument. The data were statistically analyzed in terms of mean, standard deviation and modified priority needs index technique. The results showed that the Strategic of the police education bureau for the development of non-commissioned officers in police station formulated 8 issues of strategies as 1) To precipitate of the development of personnel skills in training centers 2) The development of non-commissioned officers by using the common problem based on performance 3) To measure the performance of non-commissioned officers by reduce the expenses and response the problems solving 4) Change the paradigm of operational problems 5) paradigm shift for the Mission of training center 6. ) proactively build relationships with corporate goals 7) Modifications the perception of others on the training centers and 8) To enhance survival potential of the training center during crisis.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45894
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.646
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.646
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5284482227.pdf6.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.