Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/459
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิชุดา รัตนเพียร-
dc.contributor.authorศิรินทรา บัวประชุม, 2523--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-22T12:17:44Z-
dc.date.available2006-06-22T12:17:44Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741768109-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/459-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจำในการใช้กระดานสนทนาแบบมีและไม่มีการนำเสนอโครงสร้างเนื้อหาในการเรียนการสอนบนเว็บกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของนักเรีนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีแบบการคิดต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาโดยการให้นักเรียนทั้งหมดทำแบบทดสอบเดอะ กรุ๊ปเอมเบดเดดฟิกเกอร์เทสท์ (The Group Embeddent Figures Test: GEFT) ของโอลท์แมน แรสกินและวิทกิน เพื่อแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มฟิลด์ ดิเพนเดนซ์ (Field Dependence: FD) และกลุ่มฟิลด์ อินดิเพนเดนซ์ (Field Independence: FI) มากลุ่มละ 50 คน จนได้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองจำนวนทั้งสิ้น 100 คน แล้วจึงแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มทดลอง ทดลองกลุ่มละ 25 คน ดังนี้ 1) ผู้เรียนที่มีแบบการคิดแบบ FD เรียนจากบทเรียนที่มีการทำกิจกรรมผ่านกระดานสนทนาแบบมีการนำเสนอโครงสร้างเนื้อหา 2) ผู้เรียนที่มีแบบการคิดแบบ FD เรียนจากบทเรียนที่มีการทำกิจกรรมผ่านกระดานสนทนาแบบไม่มีการนำเสนอโครงสร้างเนื้อหา 3) ผู้เรียนที่มีแบบการคิดแบบ FI เรียนจากบทเรียนที่มีการทำกิจกรรมผ่านกระดานสนทนาแบบมีการนำเสนอโครงสร้างเนื้อหา 4) ผู้เรียนที่มีแบบการคิดแบบ FI เรียนจากบทเรียนที่มีการทำกิจกรรมผ่านกระดานสนทนาแบบไม่มีการนำเสนอโครงสร้างเนื้อหา นำผลที่ได้จากการทดลองมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่มีแบบการคิดต่างกัน เมื่อเรียนด้วยโปรแกรมการเรียนการสอนบนเว็บ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจำแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมการเรียนการสอนบนเว็บที่มีรูปแบบกระดานสนทนาต่างกัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจำไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่มีแบบการคิดต่างกัน เมื่อเรียนด้วยโปรแกรมการเรียนการสอนบนเว็บที่มีรูปแบบกระดานสนทนาต่างกัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจำไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research study was to compare the achievement and retention of using webboards with and without a content structure presentation in web-based instruction. The samples of the study were 100 students in mathayom suksa four of Yannawadvittayacom School in Bangkok. They were given the Group Embedded Figures Test (GEFT) to measure field dependence/field independence and randomly divided into four experiment groups, each group consisted of 25 students as follows: 1) FD students studying from web-based instruction program with content structure presentation webboard, 2) FD students studying from web-based instruction program without content structure presentation webboard, 3) FI students studying from web-based instruction program with content structure presentation webboard and 4) FI students studying from web-based instruction program without content structure presentation webboard. The collected data were analyzed using Two-Way Analysis of Variance. The results were as follows: 1. There was statistically significant difference at 0.05 level on learning achievement and retention of students with different cognitive styles learning from web-based instruction program. 2. There was no statistically significant difference at 0.05 level on learning achievement and retention of students learning from web-based instruction program with different webboard formats. 3. There was no statistically significant difference at 0.05 level on learning achievement and retention of students with different cognitive cognitive styles learning from web-based instruction program with different webboard formats.en
dc.format.extent3938899 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1040-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกระดานข่าว (คอมพิวเตอร์)en
dc.subjectการเรียนการสอนผ่านเว็บen
dc.subjectสังคมศึกษา--การศึกษาและการสอนen
dc.subjectความจำen
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen
dc.titleผลของการใช้กระดานสนทนาแบบมีและไม่มีการนำเสนอโครงสร้างเนื้อหาในการเรียนการสอนบนเว็บกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา และวัฒนธรรมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีแบบการคิดต่างกันen
dc.title.alternativeEffects of using webboards with and without a content structure presentation in web-based instruction in social studies, religion and culture learning strand upon learning achievement and retention of mathayom suksa four students with different cognitive stylesen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorVichuda.R@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.1040-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirintra.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.