Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46026
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิทิต มันตาภรณ์en_US
dc.contributor.authorปุลวิทย์ วาณิชยเศรษฐกุลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:21:34Z
dc.date.available2015-09-18T04:21:34Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46026
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงบทบาทของคำวินิจฉัยของกลไกสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและระดับภูมิภาคต่อการกำหนดขอบเขตในการจำกัดการพูดซึ่งมีเจตนาในทางเกลียดชัง ตามกรอบของสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่กลไกสิทธิมนุษยชนแต่ละกลไกทำหน้าที่ตรวจตราดูแลการปฏิบัติตามพันธกรณีของสนธิสัญญา ได้แก่ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานแห่งยุโรป อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งอเมริกา และกฎบัตรว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิประชาชนแอฟริกา ซึ่งจากการศึกษาพบว่าหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยขอบเขตการจำกัดการพูดซึ่งมีเจตนาในทางเกลียดชัง ประกอบไปด้วย เงื่อนไขทั่วไปในการจำกัดสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก คือ หลักความชอบด้วยกฎหมาย (Legality) หลักความชอบธรรม (Legitimacy) และหลักความจำเป็น (Necessity) และเงื่อนไขเฉพาะ คือ การยั่วยุให้เกิดความเกลียดชังและการเผยแพร่ความคิดบนพื้นฐานของความเหนือกว่าทางเชื้อชาติหรือความเกลียดชังทางเชื้อชาติ โดยในการวิเคราะห์ขอบเขตของรัฐในการจำกัดการพูดซึ่งมีเจตนาในทางเกลียดชัง ปัจจัยที่กลไกสิทธิมนุษยชนคำนึงถึง ได้แก่ เนื้อหาของการพูดซึ่งมีเจตนาในทางเกลียดชัง เจตนาของผู้พูด สถานะทางสังคมของผู้พูด สถานะทางสังคมของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการพูด รูปแบบของการพูดและผลกระทบต่อสังคมโดยรวมของการพูด บริบททางสังคมและปัจจัยเรื่องเวลาสถานที่ ตลอดจนลักษณะและระดับความรุนแรงของมาตรการที่รัฐใช้ในการจำกัดสิทธิ อันเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและทำให้ขอบเขตในการจำกัดการพูดซึ่งมีเจตนาในทางเกลียดชังมีความชัดเจนยิ่งขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims to study about the role of the jurisprudence of international and regional human rights mechanisms in shaping the scope of restriction on hate speech under the framework of human rights treaties, in particular International Covenant on Civil and Political Rights, International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination, European Convention on Human Rights, American Convention on Human Rights and African Charter on Human and Peoples’ Rights. The study shows that restriction on hate speech must be examined under general rules for limiting freedom of expression: legality, legitimacy and necessity, as well as specific rules for limiting hate speech that is Incitement to Hatred or Dissemination of Ideas based on racial superiority or racial hatred. In determining permissible scope for limiting hate speech, important factors other than the content of the speech itself are the aim of the speaker, the role of the speaker in society, the role of the person(s) targeted by the speech in society, the form of the speech and its impact to the society, the context at the time the speech was made and disseminated and the place and time of the dissemination, and the nature and severity of the measure used by the State to interfere with freedom of expression. These elements not only help defining the scope of restriction on hate speech but also operate as a protection mechanism for individuals exercising their freedom.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.783-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสิทธิมนุษยชน
dc.subjectเสรีภาพในการพูด
dc.subjectHuman rights
dc.subjectFreedom of speech
dc.subjectHate speech
dc.titleการจำกัดการพูดซึ่งมีเจตนาในทางเกลียดชัง : ศึกษาการวินิจฉัยตีความของกลไกสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและระดับภูมิภาคen_US
dc.title.alternativeRESTRICTIONS ON HATE SPEECH IN INTERNATIONAL LAW : CASE STUDY OF INTERNATIONAL AND REGIONAL HUMAN RIGHT MECHANISMS' JURISPRUDENCEen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorvitit.m@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.783-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5486001634.pdf4.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.