Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46151
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริพันธุ์ สุวรรณมรรคาen_US
dc.contributor.authorเกียรติชัย ด้วงเอียดen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:22:36Z
dc.date.available2015-09-18T04:22:36Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46151
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์วิธีการส่งเสริมใจใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) ศึกษาผลที่เกิดกับนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้ ของครูที่ส่งเสริมใจใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กรณีศึกษาคือ ครู 2 คน เเละนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 12 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์คำหลัก วิเคราะห์เนื้อหาเเละสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัย 1. วิธีการส่งเสริมใจใฝ่เรียนรู้ของครูผู้สอนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ 1 คน เเละครูผู้สอนแผนการเรียนคณิตศาสตร์ – ภาษาต่างประเทศ 1 คน มีเเนวทางการปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ใช้ 2 หลักการ คือ หลักการปฏิบัติเเละหลักการสื่อสารเสริมสร้างกำลังใจและความมีมิตรไมตรี โดยหลักการปฏิบัติเป็นการชวนให้นักเรียนได้คิด เเละชวนให้นักเรียนได้หาคำตอบ หลักการสื่อสารให้ความสำคัญกับการสร้างสัมพันธภาพแบบมิตรไมตรี เเละการเสริมสร้างกำลังใจให้แก่นักเรียน วิธีการที่พบนี้จึงมีลักษณะเป็น “วิธีการส่งเสริมใจใฝ่เรียนรู้ แบบปฏิบัติไมตรี” 2. ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนมีลักษณะดังนี้ สำหรับนักเรียนที่มีผลการเรียนอยู่ในระดับสูง เเละระดับปานกลางการมีใจใฝ่เรียนรู้ สะท้อนออกมาเป็นผู้มีความพยายามตั้งใจ ความขยันอดทน ความเพียรพยายาม มุ่งมั่นในการศึกษาเล่าเรียน ความเป็นคนช่างสังเกตและแสวงหาความรู้ และการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนที่มีผลการเรียนอยู่ในระดับต่ำพฤติกรรมของการมีใจใฝ่เรียนรู้ยังไม่ปรากฏชัด โดยสะท้อนออกมาเป็นคุณลักษณะและพฤติกรรมคือ มีการซักถามครูบ้างเป็นครั้งคราว สามารถทำงานหรือการบ้านที่ไม่ยากได้ด้วยตนเอง แสดงความคิดเห็นและเรียนรู้ในเรื่องที่ใกล้ตัวen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were 1) to analyze methods for inquisitive mind of high school students 2) to study results of teacher’s teaching that enhancing inquisitive mind of high school students. The cases consisted of 2 teachers and 12 students in a high school. The data were collected by document’s study participatory and non- participatory observations and interview. Data were analyzed by domain analysis, content analysis and inductive conclusion. The research findings; 1. Methods for enhancing inquisitive mind of high school students from Mathematics - Science teacher and Mathematics - English teacher were similar. The two underlying principles of the methods were emphasized in practice and goodwill principles. The practice principle was to support students to think critically and to support them to search for solutions. The goodwill principle created a positive attitude for the students to build supportive relationship and encouragement. Therefore, the two principles could be combined as a set of "Goodwill Practice Methods for Enhancing Inquisitive Mind". 2. As results of enhancing inquisitive mind through these methods. The students with higher and intermediate levels of achievements demonstrated their strong will and commitment to learn: observation and inquiry skills; and participant in learning activities. For lower level achievements, they still had low "will and commitment to learn" and "low observation and inquiry skills". However, they could do their homework by themselves, if it the tasks were not difficult. In addition, they could give opinion and learn basic and familiar content.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.861-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความสนใจ
dc.subjectการเรียนรู้ (จิตวิทยา)
dc.subjectการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
dc.subjectInterest (Psychology)
dc.subjectLearning, Psychology of
dc.subjectInquiry-based learning
dc.titleการวิจัยกรณีศึกษาเพื่อวิเคราะห์วิธีการส่งเสริมใจใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายen_US
dc.title.alternativeCASE STUDY RESEARCH TO ANALYZE METHODS FOR ENHANCING INQUISITIVE MIND OF HIGH SCHOOL STUDENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuwatana.S@Chula.ac.th,siripaarn.s@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.861-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583802527.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.