Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46251
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจักรกริศน์ เนื่องจำนงค์en_US
dc.contributor.advisorกฤษ อังคนาพรen_US
dc.contributor.authorศศิ วิมลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:23:28Z
dc.date.available2015-09-18T04:23:28Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46251
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมสารเสริมชีวนะ (Bacillus subtilis และ Bacillus licheniformis) ต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต การย่อยได้ของสารอาหาร จำนวนจุลชีพในไส้ตันและ สัณฐานวิทยาของลำไส้เล็กในไก่เนื้อ โดยทำการศึกษาในไก่เนื้อเพศเมียพันธุ์ Ross 308 อายุ 1 วันจำนวน 288 ตัว ทำการสุ่มไก่ออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 6 ซ้ำๆ ละ 12 ตัว โดยเลี้ยงในโรงเรือนเปิด ภายในสภาพแวดล้อมเดียวกันจนถึงอายุ 42 วันและใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) อาหารที่ใช้ในการทดลองมีทั้งหมด 4 สูตร คือ 1) อาหารควบคุม 2) อาหารควบคุมเสริมด้วยยาปฏิชีวนะ Amoxycillin 200 พีพีเอ็ม (ppm) 3) อาหารควบคุมเสริมด้วย Bacillus subtilis และ Bacillus licheniformis 2.5 x 107โคโลนีต่อกิโลกรัม (CFU/kg) อาหาร และ 4) อาหารควบคุมเสริมด้วย Bacillus subtilis และ Bacillus licheniformis 5 x 107โคโลนีต่อกิโลกรัม (CFU/kg) อาหาร ทำการเก็บลำไส้เล็กส่วนเจจูนัมเพื่อวัดค่าสัณฐานวิทยา รวมถึงพารามิเตอร์อื่นๆ ได้แก่ สมรรถภาพการเจริญเติบโต สัมประสิทธิ์การย่อยได้บริเวณลำไส้เล็กส่วนปลาย จำนวนจุลินทรีย์ในไส้ตันและ ค่า pH ในลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม โดยทำการเก็บข้อมูลรวมทั้งหมด 2 ช่วงเวลาได้แก่ ช่วงวันที่ 21 และ 42 ของการทดลอง ผลการศึกษาเมื่อสิ้นสุดการทดลองที่ 42 วันพบว่า อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันและ อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวของไก่กลุ่มที่ได้รับยาปฏิชีวนะ Amoxycillin และกลุ่มที่ได้รับการเสริมชีวนะ Bacillus subtilis และ Bacillus licheniformis ทั้งสองกลุ่ม ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) แต่ค่าปริมาณอาหารที่กินเฉลี่ยต่อวันไม่มีความแตกต่างกัน (P>0.05) การย่อยได้บริเวณลำไส้เล็กส่วนปลาย พบว่าในวันที่ 42 ของการทดลองกลุ่มที่ได้รับสารเสริมชีวนะที่ระดับ 5 x 107โคโลนีต่อกิโลกรัม (CFU/kg) อาหารมีค่าการย่อยได้ของน้ำหนักวัตถุแห้ง และโปรตีนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) ในขณะที่ค่าการย่อยได้ของไขมันพบว่าทุกกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน ในวันที่ 21 ของการทดลอง ไก่กลุ่มที่ได้รับสารเสริมชีวนะทั้งสองระดับมีจำนวนเชื้อ Lactic acid bacteria และค่า Lactobacillus : E. coli ratio เพิ่มขึ้น (P <0.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนวันที่ 42 ของการทดลอง ไก่ที่ได้รับสารเสริมชีวนะที่ระดับ 5 x 107 โคโลนีต่อกิโลกรัม (CFU/kg) อาหาร มีจำนวนเชื้อ Bacillus spp., Lactic acid bacteria และค่า Lactobacillus : E. coli ratio เพิ่มขึ้น (P <0.05) และมีประชากร E. coli ลดลง (P< 0.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามไม่มีการตรวจพบเชื้อ Salmonella spp. ในทุกกลุ่มการทดลอง ผลค่าสัณฐานวิทยาในลำไส้ พบว่าในวันที่ 21 และ 42 ของการทดลองสารเสริมชีวนะ Bacillus subtilis และ Bacillus licheniformis ทั้งสองระดับมีความสูงของวิลไลเพิ่มขึ้น (P <0.05) นอกจากนี้อัตราส่วนของวิลไลต่อคริปท์ในกลุ่มที่เสริม Bacillus subtilis และ Bacillus licheniformis ที่ระดับ 5 x 107โคโลนีต่อกิโลกรัม (CFU/kg) อาหารดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (P <0.05) ส่วนค่า pH ในลำไส้พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันในทุกกลุ่มการทดลอง (P>0.05) ผลการทดลองสรุปได้ว่า การเสริม Bacillus subtilis และ Bacillus licheniformis ที่ระดับ 5 x 107โคโลนีต่อกิโลกรัม (CFU/kg) อาหาร สามารถปรับปรุงความสมดุลของจุลินทรีย์ในไส้ตัน สัณฐานวิทยาในลำไส้เล็ก และการย่อยได้บริเวณลำไส้เล็กส่วนปลาย อย่างไรก็ดีการเสริมสารเสริมชีวนะทั้งสองระดับสามารถเพิ่มสมรรถภาพการเจริญเติบโตในไก่เนื้อได้ไม่แตกต่างกันen_US
dc.description.abstractalternativeThe experiment aims to investigate the effects of supplementing probiotics (Bacillus subtilis and Bacillus licheniformis) on growth performance, ileal digestibility, cecal microbiota and small intestinal morphology in broilers. Two hundred and eighty-eight, day-old female Ross-308 broiler chicks were randomly allotted to 4 treatments with six replicates of 12 birds on the basis of equal average BW in a completely randomized design. Dietary treatments were T1) basal diet (control), T2) basal diet supplemented with 200 ppm Amoxycillin, T3) basal diet supplemented with Bacillus subtilis and Bacillus licheniformis at the level of 2.5 x 107 CFU/kg feed and T4) basal diet supplemented with Bacillus subtilis and Bacillus licheniformis at the level of 5 x 107 CFU/kg feed. Jejunum was collected to investigate small intestinal morphology. In addition, growth performance, ileal digestibility, cecal microbiota and pH in jejunum were determined. Supplementation of Amoxycillin (T2) and probiotics (T3 and T4) improved (P < 0.05) average daily gain and feed conversion ratio but there was no significant difference in average daily feed intake (P>0.05) at d 42. Diet contained probiotics at the level of 5x107 CFU/kg feed increased ileal dry matter and protein digestibility (P<0.05). In addition, there was no difference in ileal fat digestibility among groups (P>0.05). At d 21 birds supplemented with Bacillus subtilis and Bacillus licheniformis in both groups showed the higher numbers of caecal Lactic acid bacteria and Lactobacillus: E. coli ratio. Moreover, at d 42 birds supplemented with probiotics at the level of 5x107 CFU/kg feed higher numbers of caecal Lactic acid bacteria, Bacillus spp and Lactobacillus: E. coli ratio in T3 and T4. In addition, caecal E. coli count was decreased (P< 0.05) in broilers fed diet supplemented with probiotics at the level of 5x107 CFU/kg feed. However, Salmonella spp. was not detected in all groups. Birds supplemented with the probiotics in both groups had higher villus height (P<0.05) than other groups. Moreover, supplementation of probiotics at the level of 5x107 CFU/kg feed increased (P < 0.05) villus height to crypt depth ratio in jejunum. No significant difference was detected (P> 0.05) for pH in jejunum. In conclusion, diets composed of probiotics (Bacillus subtilis and Bacillus licheniformis) at the level of 5x107 CFU/kg feed improve the balance of intestinal microbiota, small intestinal morphology and ileal digestibility. Moreover, there was no significant difference in growth performance between probiotics at both levels.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1124-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไก่เนื้อ
dc.subjectระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ -- จุลชีววิทยา
dc.subjectไก่เนื้อ -- การเจริญเติบโต
dc.subjectโพรไบโอติก
dc.subjectบาซิลลัสซับทิลิส
dc.subjectบาซิลลัส
dc.subjectBroilers (Poultry)
dc.subjectGastrointestinal system -- Microbiology
dc.subjectBroilers (Poultry) -- Growth
dc.subjectProbiotics
dc.subjectBacillus subtilis
dc.subjectBacillus (Bacteria)
dc.titleผลของสารเสริมชีวนะ Bacillus subtilis และ Bacillus licheniformis ต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต การย่อยได้ของสารอาหาร จำนวนจุลชีพในไส้ตันและสัณฐานวิทยาของลำไส้เล็กในไก่เนื้อen_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF PROBIOTICS BACILLUS SUBTILIS AND BACILLUS LICHENIFORMIS SUPPLEMENTATION ON GROWTH PERFORMANCE, NUTRIENT DIGESTIBILITY, CECAL MICROBIOTA AND SMALL INTESTINAL MORPHOLOGY IN BROILERSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอาหารสัตว์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChackrit.N@Chula.ac.then_US
dc.email.advisorKris.A@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1124-
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5675323031.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.