Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46442
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยุพิน อังสุโรจน์en_US
dc.contributor.authorปานจันทร์ ชูทิพย์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:39:16Z-
dc.date.available2015-09-19T03:39:16Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46442-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบประเมินสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาสร้างแบบประเมินสมรรถนะ ในขั้นตอนการพัฒนาแบบประเมินใช้แนวคิดของ Burns and Grove (2001) ประกอบด้วย 1) กำหนดคำนิยามเชิงปฏิบัติการ จากการทบทวนวรรณกรรมและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ได้สมรรถนะหลักจำนวน 8 ด้าน 2) สร้างข้อคำถาม ได้คำถามจำนวน 69 ข้อ 3) ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรง เท่ากับ .97 4) หาค่าความเที่ยง โดยการนำไปทดลองใช้กับกลุ่มพยาบาล จำนวน 30 คน ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ.97 และ 5) ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ตัวประกอบกับกลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 250 คน และขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมิน โดยการหาค่าความเที่ยงของแบบประเมินสมรรถนะ การตรวจสอบความตรงตามสภาพของแบบประเมิน โดยวิธี Known-groups technique และตรวจสอบความสอดคล้องของการประเมิน 2 กลุ่ม ด้วยวิธี Interrater Reliability ด้วยสถิติ Intraclass Correlation Coefficient (ICC) ได้เท่ากับ .84 ผลการวิจัยพบว่าแบบประเมินสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน มีสมรรถนะหลัก จำนวน 9 ด้าน รวม 69 ข้อรายการ ประกอบด้วย ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านการสร้างเครือข่าย ด้านภาวะผู้นำ ด้านความตระหนักรู้ทางวัฒนธรรม ด้านการบริการการพยาบาล ด้านการสร้างสัมพันธภาพ ด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร ด้านการสื่อสาร และ ด้านการบริหารความเสี่ยง อธิบายความแปรปรวนรวม ได้ร้อยละ 71.72 และจากการตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมิน โดยการหาค่าความเที่ยงของแบบประเมินสมรรถนะ ได้ค่าอัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .98 ตรวจสอบความตรงตามสภาพ ด้วยวิธี Known-Groups Technique ด้วยการหาค่า t-test พบว่า กลุ่มพยาบาลที่มีสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมสูงมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มกลุ่มที่มีคะแนนต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (= 4.30 ± 0.15, = 3.83 ± 0.55, t = 4.74) และค่าความสอดคล้องของการประเมิน Intraclass Correlation Coefficient (ICC) ที่ประเมินโดยผู้จัดการแผนกและเพื่อนร่วมงาน เท่ากับ .84 สรุปได้ว่าแบบประเมินสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นเครื่องมือที่ดี มีหลักฐานของความตรงและความเที่ยง และสามารถวัดสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพได้เหมาะสม ตรงตามความเป็นจริงen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to develop and to investigate the transcultural nurses’ competency assessment scale of the professional nurses in private hospital at Bangkok Metropolitan. There were 2 steps of developing the assessment. The first step was constructing the assessment scale by 1) identified the operational definition from literature review and interview 5 experts. There were 8 competency dimensions, 2) developed 69 items from 8 competency dimensions, 3) 5 conducted content validity by 5 experts; CVI was .97, 4) Examined Internal consistency by try out with 30 nurses; Cronbach’s alpha was .97 and 5) analyzed construct validity by collected data from 250 nurses using Factor analysis. Then the second step was to investigate the quality of the assessment scale by 1) examined internal consistency 2) examined the concurrent validity by Known-groups technique method and 3) examined consistency reliability by interrater reliability. The research result of the transcultural nurses’ competency assessment scale of the professional nurse in private hospital consisted of 9 factors 69 items. There were morals and ethics, networking development, leadership, cultural awareness, nursing care service, relationship, technology for communication, communication skill and risk management. Explained variance of the scale was 71.72%. The result of quality investigation of the assessment scale were 1) Reliability; Cronbach’s alpha coefficient result was .98, 2) Concurrent validity by using known-groups technique at significant level .01 (= 4.30 ± 0.15, = 3.83 ± 0.55, t = 4.74), meant that the score of high competency nurse group was higher than low competency nurse group. The interrater agreement reliability using interrater reliability; Intraclass Correlation Coefficient (ICC) between the head nurse group and colleague group was .84. These evidences supported that the transcultural nurses’ competency assessment scale was reliable and valid instrument, can be appropriate to use.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสมรรถนะ -- การประเมิน-
dc.subjectการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม-
dc.subjectPerformance -- Evaluation-
dc.subjectTranscultural nursing-
dc.titleการพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชนen_US
dc.title.alternativeTHE DEVELOPMENT OF TRANSCULTURAL NURSES' COMPETENCY ASSESSMENT SCALE OF PROFESSIONAL NURSES, PRIVATE HOSPITALSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477320336.pdf7.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.