Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/465
Title: การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถทางการขับร้องของครูปฐมวัยในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กวัยอนุบาลโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดทางดนตรีของโคดาย
Other Titles: A development of preschool teachers' singing ability enhancement program with regard to preschoolers' learning experience provision by applying Kodaly approach
Authors: วิมลรัตน์ วิมลรัตนกุล
Advisors: บุษบง ตันติวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Boosbong.T@chula.ac.th
Subjects: ดนตรีกับเยาวชน
การศึกษาปฐมวัย
การเรียนรู้แบบประสบการณ์
การศึกษาขั้นอนุบาล
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถทางการขับร้องของครูปฐมวัยในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กวัยอนุบาลโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดทางดนตรีของโคดาย ตัวอย่างประชากร ได้แก่ กลุ่มทดลองเป็นครูชั้นเตรียมอนุบาลและชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 โรงเรียนวรรณสว่างจิต สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 14 คน กลุ่มควบคุมเป็นครูชั้นเตรียมอนุบาลและชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 โรงเรียนทอรัก สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 14 คน สอบปฏิบัติการขับร้องก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางการขับร้องของครูกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ผลการวิจัย ครูกลุ่มทดลองมีความสามารถทางการขับร้องในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กวัยอนุบาลในด้านการควบคุมลม ด้านการเปล่งเสียงร้องตามระดับเสียง ด้านใช้น้ำเสียงอย่างมีคุณภาพ และด้านการถ่ายทอดอารมณ์ตามบทเพลง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ลักษณะของโปรแกรมแบ่งเป็น 2 ส่วน คือการฝึกปฏิบัติในห้องฝึกซ้อมและในชั้นเรียนประกอบด้วย 10 กิจกรรม เครื่องดนตรีที่ใช้ในห้องฝึกปฏิบัติการได้แก่ ส้อมเสียง เปียโน ระนาดฝรั่ง ขลุ่ย และเครื่องเคาะจังหวะ
Other Abstract: The purpose of the study was to develop preschool teachers' singing ability enhancement program with regard to preschoolers' learning experience provision by applying Kodaly approach. The experimental group was 14 preschool teachers from Wanswangchit School. The control group was 14 preschool teachers form Taurak School. A singing ability test was done before and after the program field test. Data were analyzed by using mean, Standard deviation and t-test to compare singing ability between teachers in the experimental group and the control group. The research findings were as follows: After the field test, the ability of singing breath, pitch, tone quality and mood of the experimental group were significantly higher than those of the control group at .05 level. The program covered practices both in music and singing workshop and classrooms. There were 10 activities. The musical instruments were basically class tuning fork, piano, xylophone, recorder and percussion instruments.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/465
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.757
ISBN: 9745318752
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.757
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wimonrat.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.