Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47716
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรีสะอาด ตั้งประเสริฐ-
dc.contributor.authorลัดดา เหลืองวัฒนากิจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-01T08:41:31Z-
dc.date.available2016-06-01T08:41:31Z-
dc.date.issued2532-
dc.identifier.isbn9745762512-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47716-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบความแตกต่างทางพื้นที่ด้านเศรษฐกิจสังคมของภาคเหนือในปี พ.ศ. 2524 และพ.ศ. 2528 พร้อมทั้งเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบทางพื้นที่ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวโดยมีสมมุติฐานของการวิจัยว่า “การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมย่อมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางพื้นที่ของตัวแปรเศรษฐกิจสังคม” ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษารูปแบบทางพื้นที่ของสภาพเศรษฐกิจสังคมมี 33 ตัวแปร ตัวแปรเหล่านี้ได้จากข้อมูลระดับจังหวัดวิธีการทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก การวิเคราะห์ข้อมูลปี 2524 รูปแบบทางพื้นที่ขององค์ประกอบสะท้อนให้เห็นถึงผลของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 ซึ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดังปรากฏว่าองค์ประกอบโครงสร้างพื้นฐานมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งเนื่องจากสามารถอธิบายความแปรปรวนสูงสุดนอกจากนี้การวิเคราะห์ยังแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างจังหวัดในภาคเหนือในด้านการพัฒนาเมือง การพัฒนาเกษตรกรรมและบริการสาธารณสุข การวิเคราะห์ข้อมูลปี 2528 แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 ดังจะเห็นว่าในปีนี้องค์ประกอบด้านการพัฒนาเมืองมีความสำคัญสูงสุดทั้งนี้เนื่องจากนโยบายการพัฒนาเมืองหลักจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งตามแผนฯ จัดให้เห็นเมืองหลักมีค่าคะแนนตัวประกอบสูงเด่นเป็นพิเศษต่างจากค่าคะแนนที่สูงเป็นอันดับสองคือค่าคะแนนของจังหวัดนครสวรรค์เป็นอันมากนอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรม การศึกษาและบริการของแพทย์ บริการสาธารณสุขและ การพัฒนาพืชไร่ตามลำดับ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลการวิเคราะห์ปี 2524 กล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางพื้นที่ด้านเศรษฐกิจสังคมในภาคเหนือได้เกิดขึ้นจริงและมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to study the spatial variation in socio-economic aspects of the Northern Region in 1981 and 1985 as well as to compare the change of the spatial pattern during the period between these 2 years. The hypothesis of the study is : “Socio-Economic development usually has effect on the changes in spatial pattern of the socio-economic variables.” There are 33 variables used in the analysis. These variables are taken from the data at changwat level. The technique used is principal component analysis. The analysis of the data of 1981 shows that the spatial patterns of components reflect the result of the Fourth Plan which emphasized the development of the infrastructure. It is found that the “Infrastructure Component” is the most important because it has the highest explained variance. Furthermore, the analysis also reveals spatial variations in urban, agricultural and health service development among changwats of Northern Region. The analysis of the data of 1985 shows that during the Fifth Plan, the spatial variation has changed. In 1985, the “Urban Development Component” is the most important because of the growth center policy. Chiangmai, which is a growth center in the Plan, has highest component score, much higher than Nakhon Sawan which has the second highest score. Furthermore, the result of the analysis also reveals the importance of the development of industry, education, medical and health services and upland crops respectively. When compared to the result of the analysis of 1981, it can be said that there were changes in the spatial pattern of socio-economic aspects in the Northern Region in accordance with policies in the Fifth Plan.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการวิเคราะห์ความแตกต่างทางพื้นที่ด้านเศรษฐกิจสังคม ของภาคเหนือในปี พ.ศ. 2524 และ พ.ศ. 2528en_US
dc.title.alternativeAnalysis of spatial variation in socio-economic aspects of the northern region in 1981 and 1985en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภูมิศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ladda-lu_front.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open
Ladda-lu_ch1.pdf668.7 kBAdobe PDFView/Open
Ladda-lu_ch2.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
Ladda-lu_ch3.pdf766.67 kBAdobe PDFView/Open
Ladda-lu_ch4.pdf3.35 MBAdobe PDFView/Open
Ladda-lu_ch5.pdf5.45 MBAdobe PDFView/Open
Ladda-lu_ch6.pdf702.51 kBAdobe PDFView/Open
Ladda-lu_back.pdf12.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.