Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49604
Title: ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยภาย หลังเกิดโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน
Other Titles: Selected factors related to depression in post acute stroke patients
Authors: วิชชุตา พุ่มจันทร์
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
ศิริพันธุ์ สาสัตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Chanokporn.J@Chula.ac.th
Siriphun.S@Chula.ac.th
Subjects: ความซึมเศร้า
หลอดเลือดสมอง -- โรค
Depression
Cerebrovascular disease
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยภายหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความสามารถในการสื่อสาร การทำหน้าที่ด้านการรู้คิด และกลวิธีการเผชิญปัญหา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยภายหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันวัยผู้ใหญ่ อายุ 18 ถึง 59 ปี ที่ได้จากการสุ่มหลายขั้นตอน จำนวน 170 คน ที่มารับบริการที่แผนกอายุรกรรมผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตำรวจ และโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความสามารถในการสื่อสาร การทำหน้าที่ด้านการรู้คิด แบบประเมินกลวิธีการเผชิญปัญหา และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน และตรวจสอบความเที่ยงของแบบประเมิน ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .87, .84, .94, .71, .89 และ .90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ผู้ป่วยภายหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ร้อยละ 42.9 มีระดับความ ซึมเศร้าเล็กน้อย (x = 5.37, SD=3.45) 2. การสนับสนุนทางสังคม ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความสามารถในการสื่อสาร การทำหน้าที่ด้านการรู้คิด และกลวิธีการเผชิญปัญหามีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้า (r=-.409, -1.74, -.594, -.475 และ -.075 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this study was to examine the relationships among factors related to depression in acute stroke patients including social support, activities daily living, communication and cognitive function. The participants were 170 outpatients with stroke; aged 18-59 years old, who were recruited from stroke clinic at Police General Hospital and Nopparat Rajthanee Hospital using a multistage sampling. Questionnaires were composed of demographic information, Social support, Activities of Daily Living, Communication ability, Cognitive function, Coping strategies and Patient Health Questionnaire-9 (PHQ 9). All were content validated by four experts. The Cronbach’s alpha coefficients were .87, .84, .94, .71, 89 and .90 respectively. Descriptive statistics (e.g., percent, mean and standard deviation), Chi- square and Pearson’s product moment correlation were used for statistic analysis. The major findings were presented as follow. 1. 42.9% of post acute stroke patients had mild depression (x = 5.37, SD=3.45) 2. Social support, Activities of Daily Living, Communication ability, Cognitive function and Coping strategies were significantly negative correlated with depression (r=-.409, -.174-.594, -.475 and -.075, respectively).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49604
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1533
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1533
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
vitchuta_pu.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.