Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49706
Title: ผลของการเสริมน้ำมันตะไคร้แกงในอาหารไก่ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต การทำงานของเอนไซม์ช่วยย่อยและสุขภาพของทางเดินอาหาร
Other Titles: Effects of Dietary Supplementation of Lemongrass oil on Growth Performance,Digestive Enzyme Activity and Gut Health in Chickens
Authors: กานต์อนุช วสุนธรารักษ์
Advisors: สุพัตรา ศรีไชยรัตน์
จิโรจ ศศิปรียจันทร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Supatra.S@Chula.ac.th
Jiroj.S@Chula.ac.th
Subjects: น้ำมันตะไคร้
ไก่ -- อาหาร
ไก่ -- ประสิทธิภาพอาหารสัตว์
ไก่ -- การเจริญเติบโต
อาหารสัตว์
Lemongrass oil
Chickens -- Food
Chickens -- Feed utilization efficiency
Chickens -- Growth
Feeds
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้น้ำมันตะไคร้แกงเป็นวัตถุเติมในอาหารไก่ แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 เป็นการศึกษาเบื้องต้นที่ทดลองในไก่ไข่เพศเมีย พันธุ์ Babcock B-380 จำนวน 52 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มการทดลอง กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มควบคุม ได้รับอาหารพื้นฐาน กลุ่มที่ 2, 3 และ 4 ได้รับอาหารที่มีการเสริมน้ำมันตะไคร้แกงขนาด 100, 200 และ 400 มก./กก. ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าไก่กลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมน้ำมันตะไคร้แกงขนาด 400 มก./กก. มีจำนวนเชื้อแบคทีเรียที่ใช้ออกซิเจนในลำไส้เล็กต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้พบว่าไก่กลุ่มที่ได้รับน้ำมันตะไคร้แกงขนาด 100 มก./กก. อาหาร มีระดับแอนติบอดีที่ตอบสนองต่อวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลที่อายุ 56 วัน สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ขณะที่น้ำหนักตัวไก่ ปฏิกิริยาต้านออกซิเดชั่นของไขมัน และลักษณะจุลกายวิภาคของผนังลำไส้เล็ก ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในแต่ละกลุ่มการทดลอง การทดลองที่ 2 ศึกษาในไก่เนื้อเพศเมียพันธุ์ Cobb 500 จำนวน 144 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มการทดลองและได้รับอาหารที่มีการเสริมน้ำมันตะไคร้แกงในระดับเดียวกับการทดลองที่ 1 ผลการศึกษาพบว่า การเสริมน้ำมันตะไคร้แกงในอาหารมีผลเพิ่มสมรรถนะการเจริญเติบโตในไก่เนื้อ โดยไก่ที่ได้รับการเสริมน้ำมันตะไคร้แกงในอาหารทั้งสามขนาดมีน้ำหนักตัวที่อายุ 42 วัน มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยที่ไก่กลุ่มที่ได้รับการเสริมน้ำมันตะไคร้แกงในขนาด 400 มก./กก. อาหาร มีปริมาณการกินอาหารสะสม ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และอัตราแลกเนื้อของไก่กลุ่มที่ได้รับการเสริมน้ำมันตะไคร้แกงในขนาด 200 และ 400 มก./กก. น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ไก่ที่ได้รับอาหารที่เสริมน้ำมันตะไคร้แกงทั้งสามขนาด มีปริมาณ MDA ซึ่งเป็นผลจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของไขมันในซีรั่มโดยเฉลี่ย ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กลุ่มที่ได้รับน้ำมันตะไคร้แกงเสริมในอาหารทั้งสามขนาดมีสมรรถนะของ -amylase มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กลุ่มที่ได้รับการเสริมน้ำมันตะไคร้แกงในขนาดสูง มีจำนวนเชื้อ E. coli ลดลง และอัตราส่วนของจำนวนเชื้อ Lactobacilli ต่อ E. coli สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยสรุปแล้ว น้ำมันตะไคร้แกงสามารถต้านเชื้อแบคทีเรียในทางเดินอาหาร และมีผลกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในไก่ไข่ และมีผลในการเพิ่มสมรรถนะการเจริญเติบโต ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของไขมันในเลือด เพิ่มการทำงานของเอนไซม์ช่วยย่อยจากตับอ่อน และปรับสมดุลของเชื้อจุลชีพในทางเดินอาหารในไก่เนื้อ แสดงให้เห็นว่าน้ำมันตะไคร้แกงมีผลที่ดีในการเพิ่มสมรรถนะของไก่ไข่และไก่เนื้อ จึงมีศักยภาพที่จะนำไปใช้เป็นวัตถุเติมในอาหารไก่
Other Abstract: This study was aimed to investigate the effects of using lemongrass oil (LO) as feed additive in chickens. The study was divided into two experiments. The first experiment is designed to be a preliminary study. Fifty two, female layer chickens (Barbcock B-380) were assigned to the basal diet (CON) and the basal diet supplemented with 100 mg LO/kg diet (LO100), 200 mg LO/kg diet (LO200) and 400 mg LO/kg diet (LO400). The result from this study showed that there was no significant difference in the total body weight gain, serum malondyaldehyde (MDA) and intestinal histomorphology. Dietary supplemented with the high dose of LO decreased the number of total aerobic bacteria significantly (p< 0.05). In the final week, all of LO groups had higher ND antibody titers than control, however, significant difference was found only in LO 100 group (p< 0.05). The second experiment was studied in 144 female broiler chickens (Cobb 500). Chickens were divided in to four groups and received the same feed as the first trial. The results showed that dietary supplement of LO increased the final body weight of chickens significantly (p<0.05). Feed intake of LO400 group was significantly (p<0.05) lower than the control group. Significant improvement of cumulative feed conversion ratio found in LO200 and LO400 group compared with the control group. All three doses of LO supplementation significantly (p<0.05) decreased serum MDA compared with the control. For the gut health, the activities of pancreatic α-amylase significantly (P<0.05) increased in chickens fed all three doses of LO. Dietary supplementation with the high dose of LO decreased the CFU of E. coli and Lactobacilli: E. coli ratio was significantly increased (p<0.05) comparing with those control and the lower dose of LO group. In conclusion, LO had antimicrobial effects and could stimulate immune response in layer chickens. For the broiler, LO fed in diet improved growth performance, inhibited serum lipid peroxidation, increased pancreatic enzyme activity and modulate intestinal microflora. It could be indicated that, LO had the potential to be used as feed additive in chicken.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยาทางสัตวแพทยศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49706
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1568
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1568
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kananuch_va.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.