Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49734
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธราพงษ์ วิทิตศานต์-
dc.contributor.authorชุติมาพร วรรณวงษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2016-11-08T09:37:19Z-
dc.date.available2016-11-08T09:37:19Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49734-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษากระบวนการไพโรไลซิสน้ำมันสบู่ดำเป็นเชื้อเพลิงเหลวบนตัวเร่งปฏิกิริยาเอฟซีซีในเครื่องปฏิกรณ์แบบแบตช์ขนาด 70 มิลลิลิตร ใช้ปริมาณน้ำมันสบู่ดำจำนวน 15 กรัม ทำการศึกษาที่ภาวะอุณหภูมิ 380-440 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา 30-60 นาที ปริมาณของตัวเร่งปฏิกิริยาเอฟซีซีร้อยละ 1-5 โดยน้ำหนัก ความดันไฮโดรเจนเริ่มต้น 1-5 บาร์ ออกแบบการทดลองโดยใช้การทดลองแบบแฟกทอเรียลสองระดับในการศึกษาอิทธิพลของตัวแปรที่มีผลต่อร้อยละผลได้ของผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลว เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลวและองค์ประกอบที่ดีที่สุด นำผลิตภัณฑ์ที่ได้มาวิเคราะห์หาปริมาณและองค์ประกอบของเชื้อเพลิงเหลวที่ได้ด้วยเครื่อง Simulate Distillation Gas Chromatography (DGC) หาภาวะที่เหมาะสมของการไพโรไลซิสน้ำมันสบู่ดำเป็นเชื้อเพลิงเหลวบนตัวเร่งปฏิกิริยาเอฟซีซี จากการวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม design-expert ภาวะที่เหมาะสมที่ได้ คือ ที่อุณหภูมิ 410.24 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา 30 นาที ความดันไฮโดรเจนเริ่มต้น 1 บาร์ และตัวเร่งปฏิกิริยาร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก (0.15 กรัม) ซึ่งทำให้ได้ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลวร้อยละ 88.60 โดยน้ำหนัก และผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลวมีองค์ประกอบของแนฟทา เคโรซีน และดีเซล ร้อยละ 15.62 7.93 และ 40.15 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ อีกทั้งพบว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้มีองค์ประกอบหลักเป็นพวก แนฟทา(C₄–C₁₀) ดีเซล (C₁₁–C₂₂) และหมู่ฟังก์ชั่นเป็นอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ซึ่งมีองค์ประกอบที่คล้ายองค์ประกอบของเชื้อเพลิงเหลวจากปิโตรเลียมen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study, the pyrolysis of jatropha oil to liquid fuels over spent fluid catalytic cracking (FCC) catalyst in a 70 ml batch reactor. The variables catalyst-to-jatropha oil ratio (0.15-0.75 g catalyst to 15 g jatropha oil), reaction temperature (380-440°C) and time of reaction (30-60 minutes) were studied for their effect on the yield of liquid fuel. The operating variables were varied and results investigated for their influence on liquid product yield and composition. The liquid fuel was analyzed for product distribution by Simulated Distillation gas chromatography (DGC). According to design-expert program. The optimum conditions of pyrolysis of jatropha oil were reaction temperature of 410.24 °C, catalyst of 0.15 g, initial hydrogen pressured of 1 bar and reaction time of 30 minutes. The product yield at optimum condition is 88.60 percent by weight and contains a naphtha kerosene, diesel to 15.62, 7.93 and 40.15 percent by weight. It was concluded that the liquid fuel obtained from the conversion of jatropha oil mainly similar to those found in naphtha (C₄–C₁₀) and diesel fuel (C₁₁–C₂₂) boiling range fractions of petroleum.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1591-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสบู่ดำ (พืช)en_US
dc.subjectการแยกสลายด้วยความร้อนen_US
dc.subjectJatropha curcusen_US
dc.subjectPyrolysisen_US
dc.titleไพโรไลซิสน้ำมันสบู่ดำเป็นเชื้อเพลิงเหลวบนตัวเร่งปฏิกิริยาเอฟซีซีในเครื่องปฏิกรณ์แบบแบตช์en_US
dc.title.alternativePyrolysis of jatropha oil to liquid fuels on fcc catalyst in batch reactoren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเคมีเทคนิคen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisortharap@sc.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1591-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chutimaporn_wa.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.