Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49817
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีรฉัตร์ สุปัญโญen_US
dc.contributor.advisorวีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนาen_US
dc.contributor.authorสิทธิพงษ์ ล้ำสมบัติen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-11-30T05:37:14Z-
dc.date.available2016-11-30T05:37:14Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49817-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดจิตสำนึกเชิงวิพากษ์และแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมการรู้พหุวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาการศึกษานอกระบบ 2. สังเคราะห์ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการรู้พหุวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาการศึกษานอกระบบที่ได้จากการพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดจิตสำนึกเชิงวิพากษ์และแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกัน พื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาคือศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมประกอบด้วย นักศึกษาการศึกษานอกระบบที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 25 คน ครูและผู้บริหารรวม 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการรู้พหุวัฒนธรรมที่พัฒนาขึ้น แบบทดสอบวัดความรู้ แบบประเมินเจตคติการยอมรับพหุวัฒนธรรม แบบประเมินเจตคติการเห็นคุณค่าพหุวัฒนธรรม แบบประเมินพฤติกรรมการยอมรับพหุวัฒนธรรม แบบประเมินพฤติกรรมการเห็นคุณค่าพหุวัฒนธรรม และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อโปรแกรม ผลการวิจัยพบว่า 1. โปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ทำให้ผู้เข้าร่วมโปรแกรมมีความรู้ มีเจตคติด้านการยอมรับการเห็นคุณค่า และมีการแสดงออกทางพฤติกรรมด้านการยอมรับการเห็นคุณค่าในพหุวัฒนธรรม สูงขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. องค์ประกอบของการพัฒนาโปรแกรมประกอบด้วย 1) หลักการพื้นฐาน 4Re’s คือ Reduction, Recognition, Reinforcement, Reorganization 2) กระบวนการพัฒนาโปรแกรม 7T’s คือ Tie, Team, Task, Tune, Test, Track, Take 3) ปัจจัยและเงื่อนไข ของการนำโปรแกรมไปใช้ 3. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการรู้พหุวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาการศึกษานอกระบบ ประกอบด้วยประเด็นยุทธศาสตร์ 3 ประเด็น คือ 1) การส่งเสริมความเข้าใจวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน 2) การส่งเสริมการยอมรับวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน 3) การส่งเสริมการเห็นคุณค่าวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to 1. develop a non-formal education program based on the concepts of critical consciousness and collaborative learning to enhance multicultural literacy for non-formal education students. 2. synthesize strategies for an enhancement of multicultural literacy of non-formal education students. The research was undertaken at the non-formal education center, Yannawa district, Bangkok. Research sample comprised 25 upper secondary non-formal education students as well as 6 teachers and administrators. The research instruments included the developed program to enhance multicultural literacy, multicultural literacy tests, evaluation forms for attitudes toward multicultural acceptance and appreciation, evaluation forms for behaviors toward multicultural acceptance and appreciation, and a questionnaire surveying opinion towards the program. The research findings were 1. the developed program increased students’ knowledge, attitudes toward multicultural acceptance and appreciation, behaviors toward multicultural acceptance and appreciation, comparing with those prior to joining the program, at a statistical significance level of .05; 2. the elements of program development comprised 1) basic principals called 4 Re’s : Reduction, Recognition, Reinforcement, and Reorganization. 2) the process of program development called 7 T’s : Tie, Team, Task, Tune, Test, Track, and Take 3) affecting factors and conditions for program implementation; 3. strategies for an enhancement of multicultural literacy of non-formal education students included 3 strategic issues : 1) the promotion of understanding the cultures of neighbouring countries, 2) the promotion of an acceptance of the cultures of neighbouring countries, and 3) the promotion of an appreciation of the cultures of neighbouring countries.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1128-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการศึกษานอกระบบโรงเรียน-
dc.subjectจิตสำนึก-
dc.subjectพหุวัฒนธรรมนิยม-
dc.subjectNon-formal education-
dc.subjectConsciousness-
dc.subjectMulticulturalism-
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดจิตสำนึกเชิงวิพากษ์และแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมการรู้พหุวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาการศึกษานอกระบบen_US
dc.title.alternativeDevelopment of a non-formal education program based on the concepts of critical consciousness and collaborative learning to enhance multicultural literacy for non-formal education studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWeerachat.S@chula.ac.th,Weerachat.S@chula.ac.then_US
dc.email.advisorWirathep.P@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.1128-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5284293027.pdf11.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.