Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50255
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรุ้งระวี นาวีเจริญen_US
dc.contributor.authorสมฤดี อรุณจิตรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:03:32Z-
dc.date.available2016-12-01T08:03:32Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50255-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมของสตรีกลุ่มเสี่ยงก่อนและภายหลังได้รับโปรแกรมการสอนแนะพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านม และ (2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมของสตรีกลุ่มเสี่ยงระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสอนแนะพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมกับกลุ่มที่ได้รับการสอนตามปกติ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 20 คน และกลุ่มทดลอง 20 คน ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสอนแนะพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมที่โรงพยาบาลเลิดสิน เป็นเวลา 60 นาที และได้รับการเยี่ยมบ้านในสัปดาห์ที่ 4 ภายหลังได้รับโปรแกรมการสอนแนะพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมที่โรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วยโปรแกรมการสอนแนะพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมและคู่มือส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านม เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านม กลุ่มควบคุมได้รับการสอนตามปกติจากพยาบาลวิชาชีพคลินิกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมที่โรงพยาบาลเลิดสิน ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัยจนถึงเก็บรวบรวมข้อมูลสิ้นสุดที่สัปดาห์ที่ 8 สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบด้วยสถิติ The Wilcoxon Matched Pairs Test และ The Mann-Whitney U Test ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมของสตรีกลุ่มเสี่ยงภายหลังได้รับโปรแกรมการสอนแนะพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการสอนแนะพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ พฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมของสตรีกลุ่มเสี่ยงกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสอนแนะพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThis study was a quasi experimental design. It aimed to (1) compare the breast cancer-preventive behaviors of women at risk before and after receiving the coaching program on breast cancer-preventive behaviors and (2) compare between the breast cancer-preventive behaviors of women at risk who received the coaching program and those who received usual care. A participant of 40 women at risk was equally divided into a control group and an experimental group. The researcher selected participants by using simple random sampling. The experimental group received the program including attended a 60-minute coaching session on breast cancer-preventive behaviors at Lerdsin Hospital and home visits were provided 4th weeks after receiving the coaching session. Experimental tools included the coaching program on breast cancer-preventive behaviors and breast cancer-preventive behaviors booklet. Data collection included a questionnaire on demographic information and Breast Cancer-Preventive Behaviors Questionnaire, the control group received usual care from the nurse professional at the outpatient surgery clinic of Lerdsin Hospital. The duration of the study was totally 8 weeks. To analyze the data, Descriptive statistics (percentages, means and standard deviation), The Wilcoxon Matched Pairs Test and The Mann-Whitney U Test were used. The results showed that breast cancer-preventive behaviors in women at risk were better after receiving the coaching program, compared to the behaviors before the introduction of the program at the significance level .05 and breast cancer-preventive behaviors in women at risk who had received the coaching program on breast cancer-preventive behaviors were better than those who had received usual care at the significance level .05.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเต้านม -- มะเร็ง -- การป้องกัน-
dc.subjectมะเร็งในสตรี-
dc.subjectBreast -- Cancer -- Prevention-
dc.subjectCancer in women-
dc.titleผลของโปรแกรมการสอนแนะต่อพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเสี่ยงen_US
dc.title.alternativeTHE EFFECT OF COACHING PROGRAM ON BREAST CANCER - PREVENTIVE BEHAVIORS IN WOMEN AT RISKen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577226136.pdf4.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.