Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50355
Title: ผลของแกลบ เถ้าแกลบ ชานอ้อย และเถ้าชานอ้อยต่อสมบัติทางกายภาพของอิฐดินเผามวลเบา
Other Titles: Effects of rice husk, rice husk ash, bagasse and bagasse ash on physical properties of lightweight clay brick
Authors: สุทัศน์ จันบัวลา
Advisors: ธนากร วาสนาเพียรพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Thanakorn.W@Chula.ac.th,Thanakorn.W@chula.ac.th
Subjects: อิฐ
แกลบ
ขี้เถ้าแกลบ
ชานอ้อย
Bricks
Rice hulls
Rice hull ash
Bagasse
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำวัสดุเหลือทิ้งคือ แกลบ เถ้าแกลบ ชานอ้อย และเถ้าชานอ้อยมาใช้ปรับปรุงสมบัติของอิฐดินเผาให้มีน้ำหนักเบาลง โดยการเติมแกลบ เถ้าแกลบ หรือเถ้าชานอ้อยร้อยละ 10 20 30 และ 40 โดยน้ำหนัก หรือเติมชานอ้อยร้อยละ 5 10 15 และ 20 โดยน้ำหนัก และเผาที่อุณหภูมิ 700 800 900 และ 1000 องศาเซลเซียส ผลการวิจัยพบว่า การเติมแกลบ เถ้าแกลบ ชานอ้อย หรือเถ้าชานอ้อย ส่งผลให้ ความพรุนตัว การดูดซึมน้ำ ของชิ้นงานอิฐเพิ่มขึ้น ในขณะที่ ความหนาแน่น ความต้านทานแรงอัด และการนำความร้อนลดลง เมื่อเพิ่มอุณหภูมิเผาส่งผลให้ ความพรุนตัว การดูดซึมน้ำลดลง ในขณะที่ ความหนาแน่น ความต้านทานแรงอัด การหดตัว และการนำความร้อนเพิ่มขึ้น ชิ้นงานอิฐที่เติมแกลบมีสมบัติดีที่สุด เมื่อเติมแกลบร้อยละ 20 และเผาที่อุณหภูมิ 1000 องศาเซลเซียส โดยได้ชิ้นงานอิฐที่มีความหนาแน่น 1.19 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร มีความต้านทานแรงอัด 7.26 เมกะพาสคัล การนำความร้อน 0.51 วัตต์ต่อเมตรเคลวิน และการดูดซึมน้ำร้อยละ 21 การเติมเถ้าแกลบชิ้นงานอิฐมีสมบัติดีที่สุด เมื่อเติมเถ้าแกลบร้อยละ 10 และเผาที่อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส โดยได้ชิ้นงานอิฐที่มีความหนาแน่น 1.20 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร มีความต้านทานแรงอัด 5.97 เมกะพาสคัล การนำความร้อน 0.43 วัตต์ต่อเมตรเคลวิน และการดูดซึมน้ำร้อยละ 20.59 การเติมชานอ้อยชิ้นงานอิฐมีสมบัติดีที่สุด เมื่อเติมชานอ้อยร้อยละ 10 และเผาที่อุณหภูมิ 1000 องศาเซลเซียส โดยได้ชิ้นงานอิฐที่มีความหนาแน่น 1.11 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร มีความต้านทานแรงอัด 8.14 เมกะพาสคัล การนำความร้อน 0.43 วัตต์ต่อเมตรเคลวิน และการดูดซึมน้ำร้อยละ 20.67 การเติมเถ้าชานอ้อยชิ้นงานอิฐมีสมบัติดีที่สุด เมื่อเติมเถ้าชานอ้อยร้อยละ 40 และเผาที่อุณหภูมิ 1000 องศาเซลเซียส โดยได้ชิ้นงานอิฐที่มีความหนาแน่น 1.20 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร มีความต้านทานแรงอัด 9.42 เมกะพาสคัล การนำความร้อน 0.45 วัตต์ต่อเมตรเคลวิน และการดูดซึมน้ำร้อยละ 21.9
Other Abstract: The objective of this study were recycling of rice husk, rice husk ash, bagasse and bagasse ash waste to improve properties of lightweight clay bricks. The amount of rice husk, rice husk ash and bagasse ash waste added to lightweight clay brick were varied by 10, 20, 30, 40 % by weight, the amount of bagasse added to lightweight clay brick were varied by 5, 10, 15, 20 % by weight and variation of firing temperature by 700, 800, 900, 1000 oC. The results showed that more content of rice husk, rice husk ash, bagasse and bagasse ash waste was added, the higher values of porosity and water absorption was observed, in contrast to the reduction of thermal conduction and bulk density. The increase in firing temperature affected the decrease of porosity and water absorption, for rice husk added 20% and firing temperature 1000 oC the best properties as 1.19 g/cm3 of bulk density, 7.26 MPa of compressive strength, 0.51 W/mK of thermal conductivity, and 21.0 % of water absorption, for rice husk ash added 10% and firing temperature 900 oC the best properties as 1.20 g/cm3 of bulk density, 5.97 MPa of compressive strength, 0.43 W/mK of thermal conductivity, and 20.59 % of water absorption, for bagasse added 10% and firing temperature 1000 oC the best properties as 1.11 g/cm3 of bulk density, 8.14 MPa of compressive strength, 0.43 W/mK of thermal conductivity, and 20.60 % of water absorption, for bagasse ash added 20% and firing temperature 1000 oC the best properties as 1.2 g/cm3 of bulk density, 9.20 MPa of compressive strength, 0.45 W/mK of thermal conductivity, and 21.90 % of water absorption.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วัสดุศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50355
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.875
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.875
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5672852123.pdf9.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.