Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50366
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริพันธุ์ สาสัตย์en_US
dc.contributor.authorจิตติมา ดวงแก้วen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:05:53Z-
dc.date.available2016-12-01T08:05:53Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50366-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษาสองกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง (two group pretest-posttest design) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกการรู้คิดต่อการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดของผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในสถานสงเคราะห์คนชราภาครัฐ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุทั้งเพศหญิงและเพศชายที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยที่พักอาศัยในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านนครปฐม จ.นครปฐมและสถานสงเคราะห์คนชราบ้านลพบุรี จ.ลพบุรี เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีหลายขั้นตอน (multi-stage sampling) จำนวน 40 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน จับคู่กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน (matched pair) ในด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษาและโรคประจำตัว กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกการรู้คิด เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติของสถานสงเคราะห์คนชราภาครัฐ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แบบสอบถามส่วนบุคคล แบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย แบบวัดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุไทยและแบบวัดความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ โดยใช้สูตรของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson Reliability) ค่าความเที่ยงของแบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทยและแบบวัดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุไทย เท่ากับ .97 และ .92 ค่าความเที่ยงของแบบวัดความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของ ครอนบาค (Cronbach's Alpha Coefficient) เท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. การทำหน้าที่ด้านรู้คิดของผู้สูงอายุกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการฝึกการรู้คิดดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2. การทำหน้าที่ด้านรู้คิดของผู้สูงอายุกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกการรู้คิดดีกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe quasi-experimental research with the two group pretest-posttest design aimed to study the effects of the Cognitive training program on cognitive function in older persons with mild cognitive impairment in govermental welfare home for the aged. The participants consisted of both male and female older persons resided in welfare home in Nakhon Pathom province and Lopburi province. The multi-stage sampling consisted of 40 older persons were assigned into the control and experiment groups with 20 persons in each group which were matched pair similarity in term of gender, age, education level, and health condition. The experimental group underwent a Cognitive training program and the control group received conventional nursing care. The Cognitive training program was performed once a week for 8 weeks. The research instruments included; Mini-Mental State Examination Thai version 2002 (MMSE-T 2002), Thai Geriatric Depression Scale (TGDS) and Barthel Index Activites of Daily Living (ADL). The Kuder Richardson Reliability was used for testing the reliability. The reliability of the MMSE-T 2002 and TGDS were .97 and .92 and The Cronbach's Alpha Coefficient was used for testing reliability the ADL was .95 Data were analyzed using descriptive (percentage, mean, standard deviation) and t-test statistics. The research results were summarized as follows. 1. The cognitive function among older persons with mild cognitive impairment in the experimental group after receiving the Cognitive training program was significantly higher than before receiving the program at the level of .05 2. The cognitive function among older persons with mild cognitive impairment in the experimental group after receiving the Cognitive training program was significantly higher than those who received conventional nursing at the level of .05en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการรู้คิดในวัยสูงอายุ-
dc.subjectสถานสงเคราะห์คนชรา-
dc.subjectCognition in old age-
dc.subjectAdult day care centers-
dc.titleผลของโปรแกรมการฝึกการรู้คิดต่อการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดของผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในสถานสงเคราะห์คนชราของภาครัฐen_US
dc.title.alternativeTHE EFFECT OF COGNITIVE TRAINING PROGRAM ON COGNITIVE FUNCTION IN MILD COGNITIVE IMPAIRMENT OLDER PEOPLE IN GOVERMENTAL WELFARE HOME FOR THE AGEDen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSiriphun.S@Chula.ac.th,sisasat@gmail.comen_US
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5677160436.pdf8.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.