Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50404
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประกอบ กรณีกิจen_US
dc.contributor.authorวีรชา ศิวเวทกุลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:06:34Z-
dc.date.available2016-12-01T08:06:34Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50404-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ 5E ผ่านเทคโนโลยีการเรียนรู้เคลื่อนที่เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านเหตุผลของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบฯ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 18 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา 8 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิทยาศาสตร์ 5 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านเหตุผล 5 ท่าน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนประถมศึกษาตอนต้น จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบ โมบายแอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษา และแผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถด้านเหตุผล แบบสังเกตพฤติกรรมและแบบสอบถามความคิดเห็นในการเรียนโดยใช้รูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้น มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) ระบบจัดการเนื้อหาบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ 2) แหล่งข้อมูล 3) โปรแกรมสนับสนุนการเรียนรู้ 4) การสร้างและบันทึกข้อมูลและ 5) การติดต่อสื่อสาร โดยมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กระตุ้นความสนใจด้วยสื่อมัลติมีเดีย 2) ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ 3) สรุปข้อมูลที่ได้และอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 4) ทำกิจกรรมขยายความรู้และบันทึกหลักฐานและ 5) ประเมินผล ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ 5E ผ่านเทคโนโลยีการเรียนรู้เคลื่อนที่เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านเหตุผลของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้นพบว่า คะแนนเฉลี่ยความมีเหตุผล สำหรับนักเรียนประถมศึกษาหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (1) to develop a 5e instructional model on mobile learning technology (2) to try out a 5e instructional model on mobile learning technology, and (3) to propose 5e instructional model on mobile learning technology to enhance reasoning ability of lower primary school students. The subjects in model development consisted of eighteen experts including 8 educational technology experts, 5 scientific teaching experts, and 5 reasoning ability teaching experts. The subjects in model experiment were 30 students from the lower primary school students. The research instruments consisted of an expert interview form, a model evaluation form, mobile educational application, and a lesson plan. The data gathering instruments consisted of reasoning ability test, an observation form, and student’s satisfaction towards the model test questionnaire. The data were analyzed using mean, standard deviation, and t-test dependent. The research results indicated that: The developed model consisted of five components including: (1) Mobile learning management system, (2) Contents, (3) Applications, (4) Captures, and (5) Communication. Steps of 5e instructional model on mobile learning technology consisted of five steps as follows: (1) Engagement with Multimedia, (2) Exploration on Mobile, (3) Explanation and Exchange, (4) Elaboration and Evidence, and (5) Evaluation. The experimental result indicated that the subjects had reasoning ability post-test mean scores higher than pre-test mean scores at .05 level of significance.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ 5E ผ่านเทคโนโลยีการเรียนรู้เคลื่อนที่เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านเหตุผลของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้นen_US
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF 5E INSTRUCTIONAL MODEL ON MOBILE LEARNING TECHNOLOGY TO ENHANCE REASONING ABILITY OF LOWER PRIMARY SCHOOL STUDENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPrakob.K@Chula.ac.th,Prakob.K@Chula.ac.then_US
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683388127.pdf8.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.