Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50585
Title: | แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เวลาว่างของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต |
Other Titles: | Guidelines for improving the efficiency of leisure time use among lower secondary school students for life skills development |
Authors: | พัชราภรณ์ ทัพมาลี |
Advisors: | จรูญศรี มาดิลกโกวิท |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Charoonsri.M@Chula.ac.th,charoonsri@hotmail.com |
Subjects: | นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น การใช้เวลาว่าง ทักษะชีวิต Junior high school students Leisure Life skills |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพการใช้เวลาว่างและระดับทักษะชีวิตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้เวลาว่างของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต 3) นำเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เวลาว่างของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 397 คน ครูประจำชั้น จำนวน 45 คน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน โดยมีวิธีการวิจัย ได้แก่ 1) การวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามการใช้เวลาว่างเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและแบบสอบถามการส่งเสริมการใช้เวลาว่างของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และนำผลมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows หาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-Test และความแปรปรวนทางเดียว(One-way ANOVA) 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขอข้อเสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เวลาว่างของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และนำมาวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อสรุปยกร่างแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เวลาว่างของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต 3) การสนทนากลุ่ม(Focus Group) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ครอบครัว เด็กและเยาวชน ทั้งหมด 5 คน เพื่อนำมาวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปเป็นแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เวลาว่างของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมภายในบ้าน ส่วนมากใช้เวลาว่างในการใช้สมาร์ทโฟนเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์และพูดคุย การทำอาหารและการใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นอินอินเตอร์เน็ต(ท่องเว็บต่างๆ) กิจกรรมนอกบ้าน ส่วนมากใช้เวลาว่างในการเล่นกีฬา เข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนาและพบปะสังสรรค์ โดยภาพรวมพบว่านักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีระดับทักษะชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง มีทักษะด้านการแก้ไขปัญหาสูงที่สุด ส่วนทักษะด้านการจัดการกับอารมณ์ต่ำที่สุด เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบการใช้เวลาว่างในแต่ละกิจกรรมกับทักษะชีวิตแต่ละด้าน พบว่า มี 18 กิจกรรมที่ระยะเวลาในการทำกิจกรรมแปรผันไปในทิศทางเดียวกับทักษะชีวิตและ 6 กิจกรรมที่ระยะเวลาในการทำกิจกรรมแปรผกผันกับระดับทักษะชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการใช้เวลาว่างเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มี 5 ตัวแปร ได้แก่ ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง อายุ เพศ รายได้ของครอบครัว และเกรดเฉลี่ย ตามลำดับ ส่วนครูร้อยละ 100 ได้มีการส่งเสริมแนวคิดเพื่อปลูกฝังการใช้เวลาว่างให้กับนักเรียน โดยสอนนักเรียนให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยการทำการบ้านที่ครูสั่ง อ่านหนังสือทบทวนที่ครูสอน หรือช่วยครอบครัวในการทำงานบ้านต่างๆ 3) งานวิจัยนี้ได้นำเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เวลาว่างของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ดังนี้ (1) ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความสามารถในการสื่อสารเรื่องการรู้เท่าทันสื่อแก่บุตรหลาน (2) ส่งเสริมการทำกิจกรรมภายในบ้านรูปแบบอื่นๆให้แก่บุตรหลาน (3) ส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวทำกิจกรรมยามว่างร่วมกัน (4) จัดให้มีโครงการวันว่างสร้างสรรค์ โดยสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร (5) ส่งเสริมการทำกิจกรรมบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชนและท้องถิ่นตามความสนใจในลักษณะของอาสาสมัคร (6) สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้ปกครอง ในรูปแบบของวิทยาลัยชุมชน(Community College) โดยสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร (7) ส่งเสริมให้บุตรหลานทำกิจกรรมชุมนุมหรือชมรม (8) เตรียมความพร้อมเด็กในระดับประถมศึกษา (9) แก้ไขปัญหาของครัวเรือน โดยสนับสนุนการทำบัญชีครัวเรือนและพยายามให้เกิดการสร้างงานในพื้นที่หรือชุมชน (10) ผู้ปกครองควรส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กในช่วงระหว่างปิดภาคเรียน เมื่อเปิดภาคเรียน สถานศึกษาควรส่งเสริมการเรียนรู้ในลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน |
Other Abstract: | This research is quantitative and qualitative. The research aims to 1) analyze leisure time use and life skills level among Lower Secondary School students, 2) analyze factors affecting the efficiency of leisure time use among Lower Secondary School students for life skills development, 3) propose guidelines for improving the efficiency of leisure time use among Lower Secondary School students. Sampling includes 397 Lower Secondary School students in Bangkok Metropolitan Schools and 45 homeroom teachers. Informants include 3 experts and 5 scholars. The methods of this research include 1) a survey research using a questionnaire on leisure time use for life skills development and a questionnaire on supports for leisure time use for life skills development among Lower Secondary School students. The data is analyzed through SPSS for windows to find frequencies, percentage, means, standard deviation, T- test, and One-way ANOVA. 2) a qualitative research using interviews with experts for guidelines for improving the efficiency of leisure time use among Lower Secondary School students. The data is analyzed through content analysis to draft guidelines for improving the efficiency of leisure time use among Lower Secondary School students, and 3) focus group discussion among 5 scholars on education, family, children and youth. The data is analyzed through content analysis to conclude guidelines for improving the efficiency of leisure time use among Lower Secondary School students. The study finds that: 1) At-home activities: most students spend leisure time on smartphone to stay connected with the online community and chatting, followed by cooking and computer use (web browsing). Out-of-home activities: most students spend leisure time on sports, religious ceremonies, and meetings. Overall, Secondary School students have an average life skills level, high problem-solving skills, and lowest emotional control skills. Through comparison between leisure time use on each activity and each life skill, it is found that 18 activities have a positive correlation with life skills, while there are 6 activities that activity time has a negative correlation with life skills level with statistical significance at 0.05 2) There are 5 variables that correspond with the efficiency of leisure time use for life skills development with statistical significance at 0.05, including parents’ level of education, age, sex, family income, and grade point average respectively. 100% of teachers provided supports to encourage leisure time use among students by teaching student to utilize their time productively through doing assigned homework, reviewing class material, and helping family do house chores. 3) This research proposes guidelines for improving the efficiency of leisure time use among Lower Secondary School students as follows: (1) encourage parents to improve the skills to communicate with their children on media literacy (2) support other at-home activities to children (3) encourage family members to spend leisure time doing activity together (4) Launch a Wan-wang Sang-san or “free day creativity” project by BMA authority (5) Support volunteer activities to benefit the society and community based on interests (6) Support the learning among parents through Community College by BMA (7) encourage children to join clubs or groups (8) Prepare children since primary education (9) solve family problems through supports on family account and creating jobs in the community. (10) Parents should support child learning during the break and institutions should support peer learning during the semester. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พัฒนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50585 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1246 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1246 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5783344627.pdf | 4.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.