Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50589
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินตนา สรายุทธพิทักษ์en_US
dc.contributor.authorชญาภัสร์ สมกระโทกen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:10:07Z-
dc.date.available2016-12-01T08:10:07Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50589-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตนเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม จำนวน 50 คน ที่มีพฤติกรรมการออกกำลังกายน้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ครั้ง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง จำนวน 25 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการจัดโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตน จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตน แบบวัดความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนและการป้องกัน แบบวัดเจตคติในการป้องกันโรคกระดูกพรุน แบบวัดการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคกระดูกพรุน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า “ที” ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนด้านความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนและการป้องกัน ด้านเจตคติในการป้องกันโรคกระดูกพรุน และด้านการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคกระดูกพรุนหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนด้านความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนและการป้องกัน ด้านเจตคติในการป้องกันโรคกระดูกพรุน และด้านการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคกระดูกพรุนหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to study the effects of health behavior change program using self-efficacy theory to promote osteoporosis prevention behaviors of female lower secondary school students. The sample was 50 female lower secondary school students of Chulalongkorn University Demonstration Secondary School with exercise behavior less than three times a week. Divided into 2 groups with 25 students in the experimental group received the health behavior change program using self-efficacy theory for 8 weeks, 3 days a week, 1 hour a day and 25 students in the control group not received the health behavior change program. The research instruments were compost of the health behavior change program using self-efficacy theory and measurement of knowledge, attitude and practice about osteoporosis prevention. Then data were analyzed by mean, standard deviation, t-test. The research findings were as follows: 1) The mean score of the osteoporosis prevention behaviors in the area of knowledge, attitude and practice of the experimental group students after received the health behavior change program were significantly higher than before at .05 levels. 2) The mean score of the osteoporosis prevention behaviors in the area of Knowledge, attitude and practice of the experimental group students after received the health behavior change program were significantly higher than the control group at the .05 levels.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตนเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนของนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้นen_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF HEALTH BEHAVIOR CHANGE PROGRAM USING SELF-EFFICACY THEORY TO PROMOTE OSTEOPOROSIS PREVENTION BEHAVIORS OF FEMALE LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสุขศึกษาและพลศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorJintana.S@Chula.ac.th,jintana.s@chula.ac.then_US
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783387627.pdf6.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.