Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50760
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริพรรณ นกสวน สวัสดีen_US
dc.contributor.authorตะวัน ย้อยเมืองen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:03:32Z
dc.date.available2016-12-02T02:03:32Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50760
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาเปรียบเทียบการเลือกตั้งส.ส.ภายใต้ระบบบัญชีรายชื่อปิดของไทยกับระบบบัญชีรายชื่อเปิดของอินโดนีเซียใน 2 ประเด็นหลักคือ เรื่องเหตุผลซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบบัญชีรายชื่อ และเรื่องอำนาจของพรรคการเมืองในการควบคุมและจัดลำดับของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในบัญชีรายชื่อของพรรค รวมไปถึงเรื่องของยุทธศาสตร์ในการแข่งขันหาเสียงเลือกตั้ง จากผลการศึกษาพบว่า เหตุผลซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งของทั้ง 2 ประเทศมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ประเทศไทยได้นำเอาระบบบัญชีรายชื่อปิดเข้ามาใช้ร่วมในการเลือกตั้งส.ส.ด้วย เพราะคาดหวังว่าเป็นระบบเลือกตั้งที่จะสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่พรรคการเมือง และมีส่วนช่วยละลายการซื้อเสียงได้ระดับหนึ่ง ในขณะที่ประเทศอินโดนีเซียได้เปลี่ยนมาใช้ระบบเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อเปิด เพราะเห็นว่า ระบบบัญชีรายชื่อเปิดมีศักยภาพที่จะช่วยส่งเสริมความรับผิดชอบของส.ส.ต่อประชาชนผ่านการลงคะแนนเสียงจากบัตรเลือกตั้งได้ ประเด็นต่อมา ในการจัดทำบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองทั้งของไทยและอินโดนีเซียต่างก็ยังคงรวมศูนย์อำนาจในการตัดสินใจเพื่อจัดทำและเรียงลำดับผู้สมัครในบัญชีรายชื่ออยู่ที่หัวหน้าและแกนนำพรรคอยู่ แต่ว่าหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการคำนึงเพื่อจัดทำและเรียงลำดับในบัญชีรายชื่อจะมีความแตกต่างกัน เพราะด้วยรูปแบบของระบบบัญชีรายชื่อปิดที่ประชาชนไม่สามารถเลือกผู้สมัครในบัญชีรายชื่อได้โดยตรง ทำให้พรรคการเมืองของไทยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องความนิยม และศักยภาพในการชนะการเลือกตั้งของผู้สมัครมากนักในการจัดทำและเรียงลำดับในบัญชีรายชื่อ และส่งผลต่อยุทธศาสตร์การหาเสียงเลือกตั้งให้เป็นการหาเสียงในระดับพรรคการเมือง ขณะที่ภายใต้ระบบบัญชีรายชื่อเปิดของอินโดนีเซีย ประชาชนสามารถลงคะแนนเสียงเลือกผู้สมัครในบัญชีรายชื่อได้โดยตรง ทำให้พรรคต้องคำนึงเรื่องศักยภาพและโอกาสในการชนะเลือกตั้งของผู้สมัครในการจัดทำและเรียงลำดับในบัญชีรายชื่อ และยังส่งผลต่อยุทธศาสตร์การหาเสียงเลือกตั้งที่เน้นไปที่การหาเสียงของทางผู้สมัครเองen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims to compare House of Representatives elections under Thailand’s closed list system with Indonesia’s open list system on two main issues; first, to explore the reasons for adopting the party list electoral system, second, to evaluate the electoral campaign strategies and the power of political parties to control and rank order of the candidates on the party lists. The study found that the reasons for adopting the party list electoral system in the two countries were different. Thailand has used closed list system with plurality system for House of Representatives elections because it was expected that the closed list system could strengthen the party and prevent vote-buying. While Indonesia has switched to the open list system because this system has the potential to increase the accountability of members of parliament to their constituencies through the ballot box. Next issue, the decision-making authority for making and ranking the order of candidates on the lists of political parties in Thailand and Indonesia was also within the hands of the central party leadership. But the criteria for consideration in making and ranking the order of candidates on the lists was different. Under the closed list system, voters can’t vote directly for an individual candidate. Parties in Thailand did not need to consider candidates’ popularity and electability in preparation the lists. Therefore, affects the parties’ campaign tended to emphasize party-centered strategies. For Indonesia’s open list system, voters could cast a vote directly for an individual candidate on the lists. Parties needed to consider candidates’ popularity and electability in preparation the lists. As a result, campaign strategies tended to emphasize candidate-centered strategies.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.805-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเลือกตั้ง -- ไทย
dc.subjectการเลือกตั้ง -- อินโดนีเซีย
dc.subjectสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร -- การเลือกตั้ง
dc.subjectElections -- Thailand
dc.subjectElections -- Indonesia
dc.subjectMembers of paliament -- Election
dc.titleเปรียบเทียบระบบเลือกตั้งสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อปิดของประเทศไทยกับระบบเลือกตั้งสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อเปิดของประเทศอินโดนีเซียen_US
dc.title.alternativeComparing Thailand’s closed list proportional representation electoral system with Indonesia’s open list proportional representation electoral systemen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการปกครองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSiripan.No@Chula.ac.th,nogsuan@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.805-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5580609224.pdf5.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.