Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50950
Title: IMPACT OF SOCIAL SUPPORT NETWORKS ON LONELINESS AMONG THE OLDER PERSONS IN MYANMAR
Other Titles: ผลกระทบของเครือข่ายสนับสนุนทางสังคมต่อความรู้สึกเปล่าเปลี่ยวของผู้สูงอายุในประเทศพม่า
Authors: Khin Myo Wai
Advisors: Thanyaporn Chankrajang
Other author: Chulalongkorn University. College of Population Studies
Advisor's Email: Thanyaporn.C@chula.ac.th,t.chankrajang@googlemail.com
Subjects: Older people -- Burma
Older people -- Psychology
Loneliness in old age
ผู้สูงอายุ -- พม่า
ผู้สูงอายุ -- จิตวิทยา
ความว้าเหว่ในผู้สูงอายุ
Issue Date: 2015
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: With the increasing life expectancy throughout the world, loneliness in old age is becoming an area of great concern. This study aims at evaluating the prevalence of loneliness and exploring whether social support networks can reduce loneliness among the elderly by undertaking the mix-method. The quantitative analysis employs the data which come from the 2012 national survey of Older Persons in Myanmar. The survey is based on the interviewer-administered questionnaire on 4080 persons aged 60 and above, covering a wide range of topics that are relevant to the assessment of the situation of the older persons. In the study, feelings of loneliness which is the outcome variable of interest are measured in terms of single-item self-reported scale with three ordered responses, single-item deprivation scale with three ordered responses and a two-item composite loneliness scale with five ordered responses. Owing to the ordered response nature of dependent variable, ordered response analyses are undertaken to predict social support networks variables affecting loneliness. In this study, it is found that 29% of the respondents aged 60 and above reported that they feel lonely sometimes or often. Being married, having children, having more frequent contact with children, relatives and non-relatives and maintaining good relationship with family are likely to ward off feelings of loneliness among the elderly. For the currently married older persons, children play a less pivotal role in reducing loneliness than do children for the currently unmarried. Partnership is seen as playing a significant role in lowering loneliness. In addition, it is found that demographic and socio-economic control variables such as age, race, health status, contribution to family economic support, change in family economic situation, family income, access to media and access to a phone are associated with loneliness among the older persons. In addition to the above quantitative empirical analysis, a total of three focus group discussions with a sample of 18 participants were conducted to complement the quantitative analysis and provide additional insights that cannot be derived from the quantitative study. By utilizing content analysis, it is observed that as the economy is undergoing the modernization, the elderly becomes lonelier, in particular for those who lose spouses. Children’s emotional support plays important role in lessening prevalence of loneliness. In addition, visits and emotional support from relatives and neighbor are likely to decrease the lonely feelings. Religion plays much significant role in lowering degree of loneliness. The qualitative findings show the contribution of social support networks to mitigating the lonely feelings, consistent with the quantitative empirical findings. The findings suggest that regional governments should establish social organizations for the elderly, which can provide emotional support the older persons at greater risk of loneliness in collaboration with INGOs and community socialization programs such as a Special Old Age Fund and a health care system for the elderly.
Other Abstract: เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอายุคาดเฉลี่ยของประชากรทั่วโลก ทำให้มีความสนใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตซึ่งรวมไปถึงความโดดเดี่ยวในผู้สูงอายุในวงการวิชาการมีมากขึ้น ซึ่งในการศึกษาชิ้นนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเพื่ออธิบายความโดดเดี่ยวของผู้สูงอายุในสหภาพเมียนมาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายสนับสนุนทางสังคมกับการลดลงของความโดดเดี่ยวในผู้สูงอายุโดยใช้วิธีวิเคราะห์ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ในการศึกษาเชิงปริมาณนั้น การศึกษาใช้ข้อมูลจากการสำรวจผู้สูงอายุในสหภาพเมียนมา ในปีพ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งได้มาจากการสำรวจผู้สูงอายุที่มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปจำนวน ๔๐๘๐ คน จากข้อมูลนี้ ผู้วิจัยได้สร้างดัชนีการวัดความโดดเดียว ๓ ดัชนี คือ (๑) ดัชนีจากการรายงานระดับค่าความโดดเดี่ยวจากผู้สูงอายุเอง (๒) ดัชนีจากการรายงานของผู้สูงอายุว่าผู้สูงอายุสามารถพึงพาทางใจได้จากบุคคลรอบข้างใดบ้าง และ (๓) ดัชนีองค์รวมจากดัชนีที่หนึ่งและสอง ผู้วิจัยพบว่า ๒๙ เปอร์เซนต์ของผู้สูงอายุจากการสำรวจรายงานว่ารู้สึกโดดเดี่ยว จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่า เครือข่ายสนับสนุนทางสังคมอย่างไม่เป็นทางการสามารถช่วยในการบรรเทาความรู้สึกโดดเดี่ยวในผู้สูงอายุได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีคู่สมรส มีบุตร และการมีปฏิสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอกับบุตร ญาติ และผู้ที่ไม่ใช่ญาติ เช่น เพื่อนบ้าน สามารถบรรเทาความรู้สึกโดดเดี่ยวในผู้สูงอายุได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งเมื่อผู้วิจัยวิเคราะห์ผู้สูงอายุเป็นรายกลุ่มตามลักษณะทางการสมรส และการมีบุตรหรือไม่มีบุตร ผู้วิจัยพบว่า ในผู้สูงอายุที่ปัจจุบันยังมีคู่สมรส การมีบุตรไม่ได้มีความสำคัญในการบรรเทาความโดดเดี่ยวเท่ากับในผู้สูงอายุที่ปัจจุบันไม่มีคู่สมรส และทำให้สรุปได้ว่าในบรรดาเครือข่ายสนับสนุนทางสังคมอย่างไม่เป็นทางการ คู่สมรสน่าจะเป็นปัจจัยที่ช่วยบรรเทาความรู้สึกโดดเดี่ยวในผู้สูงอายุได้มากที่สุด นอกจากนั้น การศึกษายังพบว่าปัจจัยควบคุมทางประชากร สังคมและเศรษฐกิจ เช่น อายุ ชาติพันธุ์ ถิ่นฐาน สุขภาพ การมีส่วนร่วมในการหารายได้เข้าครอบครัว การเปลี่ยนแปลงทางสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว รายได้ของครอบครัว และการเข้าถึงการสื่อสารทางโทรศัพท์และสื่อต่างๆ ยังมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกโดดเดี่ยวในผู้สูงอายุอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พบว่า อายุที่มากขึ้นสัมพันธ์กับความโดดเดี่ยวที่ลดลง ผู้มีชาติพันธุ์เป็นขาวพม่ามีโอกาสที่จะรายงานว่าโดดเดี่ยวมากกว่าผู้สูงอายุที่มีชาติพันธุ์อื่น ผู้สูงอายุที่อยู่ในเมืองรู้สึกโดดเดี่ยวมากกว่าผู้สูงอายุในชนบท ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพไม่ดีจะรู้สึกโดดเดี่ยวมากกว่าผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี ผู้สูงอายุที่สามารถมีส่วนร่วมในการหารายได้ให้กับครอบครัวมากกว่า หรือครอบครัวมีรายได้มากกว่า จะรู้สึกโดดเดี่ยวน้อยกว่า การอ่านหนังสือพิมพ์ ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ และการสามารถในการเข้าถึงการใช้โทรศัพท์ก็พบว่าสามารถบรรเทาความรู้สึกโดดเดี่ยวในผู้สูงอายุได้ นอกจากการศึกษาเชิงปริมาณ ผู้วิจัยยังได้ทำการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้การสนทนากลุ่มทั้งหมดสามกลุ่ม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมสนทนาทั้งสิ้น ๑๘ คน การสนทนากลุ่มนั้นสามารถช่วยเติมเต็มผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณ และสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกซึ่งไม่สามารถได้รับจากการวิเคราะห์เชิงปริมาณได้ จากการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม พบว่า การที่สังคมและเศรษฐกิจเมียนมาเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจสมัยใหม่ ผู้สูงอายุรู้สึกโดดเดี่ยวมากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่สูญเสียคู่สมรส ถึงกระนั้น หากผู้สูงอายุได้รับการสนับสนุนทางอารมณ์จากบุตร ก็จะช่วยบรรเทาความรู้สึกโดดเดี่ยวลงได้ นอกจากนั้น การมาเยี่ยม ไปมาหาสู่ของญาติและเพื่อนบ้านก็เป็นส่วนหนึ่งซึ่งช่วยในการบรรเทาความโดดเดี่ยวในผู้สูงอายุได้เช่นกัน การสนทนากลุ่มยังบ่งชี้ด้วยว่าการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนามีส่วนอย่างมากในการลดความรู้สึกโดดเดี่ยว โดยสรุปแล้ว ผลการค้นพบจากการศึกษาเชิงปริมาณยืนยันผลจากการศึกษาเชิงคุณภาพว่า เครือข่ายสนับสนุนทางสังคมอย่างไม่เป็นทางการ ช่วยในการบรรเทาความโดดเดี่ยวในผู้สูงอายุ ในสหภาพเมียนมา ข้อเสนอแนะที่ได้จากสิ่งที่งานวิจัยค้นพบคือองค์กรของรัฐในส่วนท้องถิ่นควรที่จะมีองค์กรสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งช่วยในการให้การสนับสนุนในเรื่องของจิตใจและอารมณ์ต่อผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความโดดเดี่ยว องค์กรของรํบนี้อาจจะทำงานร่วมกับองค์กรอิสระท้องถิ่นอื่นๆที่ไม่แสวงหากำไร เช่น กองทุนผู้สูงอายุเฉพาะกิจ และ องค์กรที่ดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุ
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2015
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Demography
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50950
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.31
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.31
Type: Thesis
Appears in Collections:Pop - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5686960651.pdf2.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.