Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51164
Title: การพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายเป็นฐานผสมผสานแนวคิดกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา
Other Titles: Development of problem solving process by integrating the concepts of challenge-based learning and strategic planning process to enhance creative problem solving ability of primary school students
Authors: ภัทรี สุรโรจน์ประจักษ์
Advisors: วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา
สำลี ทองธิว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Walai.P@chula.ac.th,p_walai@hotmail.com
tsumlee@yahoo.com
Subjects: การแก้ปัญหาในเด็ก
ความคิดสร้างสรรค์ในเด็ก
Problem solving in children
Creative thinking in children
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายเป็นฐานผสมผสานแนวคิดกระบวนการวางแผนกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา และเพื่อศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการแก้ปัญหาที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 35 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเป็นแบบรูบริควัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายผสมผสานแนวคิดกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อแก้ปัญหาในบริบทที่ผู้เรียนอาศัยอยู่บนประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงบนโลกและมีความเกี่ยวข้องกับผู้เรียน ภายใต้การทำงานเป็นทีมร่วมกับเพื่อน ครู และผู้เชี่ยวชาญต่างๆ และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีทุกๆ ขั้นตอน ผู้เรียนจะต้องใช้ทั้งความคิดสร้างสรรค์ร่วมไปกับกับการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวาดภาพอนาคตในสิ่งที่ต้องการให้เกิดและตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน รวมถึงต้องมีการประเมินข้อมูลอย่างรอบด้านเพื่อใช้ในการตัดสินใจต่างๆ จนนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ กระบวนการแก้ปัญหานี้ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน คือ กำหนดประเด็นปัญหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน กำหนดภาพในอนาคตที่ต้องการให้เกิดขึ้น สร้างภารกิจที่เป็นสิ่งท้าทายที่ต้องการทำ พัฒนากลยุทธ์การแก้ปัญหา วางแผนงานและลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา และเผยแพร่ผลิตผลทางความคิดและประเมินงาน 2) ประสิทธิผลของกระบวนการ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของผู้เรียนระหว่างการทดลองสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกระยะ โดยคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองในระยะที่ 3 (ระยะสุดท้าย) สูงกว่า ร้อยละ 80 ตามเกณฑ์ที่กำหนด
Other Abstract: This study was Research and Development with the purposes to develop problem solving process by integrating the concepts of challenge-based learning and strategic planning process to enhance creative problem solving ability of primary school students and to study the effectiveness of the problem solving process which was developed. The sample of the research consisted of thirty five students in sixth grade of private school in Nakhonratchasima province, in first semester of the academic year of 2015. The sample of the research was purposively selected. The instrument used in this research was a rubric for assessing creative problem solving ability. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, and percentage. The research results were as follows: 1) This problem solving process was focused on solving the real world problems in local context by working in team and using technology in every step. Students had to think creatively and systematically, set the expected future scenario and goals, and evaluate all situations in order to make decision. The whole process led to creative problem solving. This problem solving process was comprised of six steps, which were identifying the main problem issue that related to students, defining the expected future scenario, setting the challenging mission, developing the strategies, planning and solving the problem, and publicizing and evaluating the task. 2) The effectiveness of the process was that mean scores of creative problem solving ability of primary students were developed in higher direction and post mean score was higher than 80 percent based on established criterion.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51164
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1145
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1145
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384461127.pdf7.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.