Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51166
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฤดีรัตน์ ชุษณะโชติen_US
dc.contributor.advisorอัมพร ม้าคนองen_US
dc.contributor.authorสุพรรษา ศรประเสริฐen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:01:15Z
dc.date.available2016-12-02T06:01:15Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51166
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้และแนวคิดการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทระหว่างครูกับนักเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและเพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้และแนวคิดการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทระหว่างครูกับนักเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การดำเนินการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้และแนวคิดการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทระหว่างครูกับนักเรียนแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแนวคิดของทฤษฎีโครงสร้างความรู้ และแนวคิดการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทระหว่างครูกับนักเรียน ระยะที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแนวคิดของทฤษฎีโครงสร้างความรู้และแนวคิดการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทระหว่างครูกับนักเรียน โดยนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารวิทยา จำนวน 48 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ระยะเวลาในการทดลอง 16 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง เครื่องมือวิจัยคือ แบบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ แบบสังเกตพฤติกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ และบันทึกการเรียนรู้ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า t-test ผลการวิจัย 1. รูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้และแนวคิดการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทระหว่างครูกับนักเรียน ประกอบด้วยขั้นตอนการเรียนการสอนทั้งหมด 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นกระตุ้นและเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์เดิม ขั้นแนะนำบทอ่านและกลวิธีการอ่าน ขั้นฝึกอ่านด้วยตนเอง ขั้นตรวจสอบความเข้าใจในการอ่าน ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการให้ข้อมูลป้อนกลับ และขั้นประเมินหลังการอ่านและประยุกต์ใช้ความรู้ 2. การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นจากการนำรูปแบบการเรียนการสอน ไปใช้ในห้องเรียน พบว่า 2.1 นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษหลังการทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนที่มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษปานกลางและอ่อนมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักเรียนที่มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษสูงมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษไม่สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษระดับตีความและระดับวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ในส่วนคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษระดับเข้าใจตัวอักษรหลังเรียนไม่สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2.4 นักเรียนกลุ่มทดลองมีพัฒนาการของความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษดีขึ้นโดยนักเรียนแลกเปลี่ยนความรู้ทั่วไปด้านเนื้อหาและความรู้ด้านภาษาศาสตร์ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมช่วยให้นักเรียนได้เพิ่มพูนความรู้ด้านคำศัพท์ และนำความรู้เหล่านั้นมาเชื่อมโยงเข้ากับเรื่องที่อ่านช่วยในการทำความเข้าใจเนื้อเรื่อง นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้กลวิธีการอ่านต่างๆเพิ่มขึ้น และสามารถเลือกใช้กลวิธีการอ่านต่างๆเพื่อส่งเสริมการทำความเข้าใจในการอ่านได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งนักเรียนมีบทบาทที่หลากหลายขณะทำกิจกรรม เช่นผู้สังเกตการณ์ ผู้มีส่วนร่วม ผู้อภิปราย ผู้นำเสนอผลงาน หรือผู้รับการประเมิน เป็นต้นen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research and development are to develop a reading instructional model based on schema theory and reciprocal teaching approach to enhance English reading ability of secondary school students and to study the quality of the developed instructional model. The research procedure was divided into 2 phases. The first phase was to develop a reading instructional model based on a schema theory and a reciprocal teaching approach. The second phase was to study the quality of the developed instructional model by implementing a model through the samples of the research. The sample group was 48 twelfth grade students of Sarawittaya School, and they were selected by simple random sampling. The duration of the experiment was 16 weeks with two hours per week. The research instruments were the English reading ability tests, the observation form of English reading behaviors, and learning log. The statistical analysis used were the Arithmetic Mean, the Standard Deviation, and T-test. The findings of this study revealed that: 1. The development of a reading instructional model based on schema theory and reciprocal teaching approach comprised 6 steps: stimulating engaging and activating schema, introducing a passage and reading strategies, self-reading comprehension, self-evaluating, sharing knowledge and giving feedback, and evaluating and applying knowledge. 2. The quality of the developed instructional model was investigated by implementing the model in classes with students classified by the English reading ability. The findings of this study revealed that: 2.1 The experimental group had significantly higher English reading ability mean scores than the control group at the level of .05. 2.2 The experimental group had significantly higher English reading ability mean scores than the control group at the level of .05. The fair English reading ability group and the low English reading ability group had significantly higher English reading ability mean scores at the level of .05. Whereas, the high English reading ability group was not statistically significant at .05 level. 2.3 The experimental group had higher English reading ability mean scores in the Interpretive Level and the Critical Level at the level of .05. However, English reading ability mean scores in the Literal Level had no significance at the level of .05. 2.4 The experimental group had enhanced development in English reading ability. Exchanging general knowledge and language knowledge by using social interaction supported students’ knowledge in terms of vocabulary, and students can use the vocabulary knowledge to connect with a reading story, helping them understand the reading story. Moreover, as students gained more knowledge and understood about reading strategies, then they became capable of choosing a suitable reading strategy to enrich their understanding. In addition, students took various roles during the classroom activities such as observers, participants, debaters, presenters, and recipient evaluations.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1199-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- การอ่าน
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subjectEnglish language -- Reading
dc.subjectEnglish language -- Study and teaching (Secondary)
dc.titleการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้และแนวคิดการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทระหว่างครูกับนักเรียน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายen_US
dc.title.alternativeDevelopment of a reading instructional model based on schema theory and reciprocal teaching approach to enhance reading ability of upper secondary school studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorRuedeerath.C@chula.ac.th,bimeduc@gmail.comen_US
dc.email.advisorAumporn.M@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.1199-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384473727.pdf12.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.