Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51220
Title: งานปูนปั้นรามเกียรติ์ ถนนราชดำเนิน จังหวัดเพชรบุรี: พลวัตของการนำเรื่องรามเกียรติ์มาใช้ในศิลปกรรมไทยร่วมสมัย
Other Titles: Ramakien stucco on Ratchadamnoen road Changwat Phetchaburi : dynamics of the usage of Ramakien in contemporary Thai art
Authors: ขวัญชนก ทองล้วน
Advisors: ปรมินท์ จารุวร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Poramin.J@Chula.ac.th,poramin_jaruworn@yahoo.com
Subjects: ศิลปกรรมไทย
ศิลปกรรมไทย -- เพชรบุรี
ประติมากรรมปูนปั้น
ประติมากรรมปูนปั้น -- ไทย
ศิลปกรรมกับวรรณคดี
รามเกียรติ์
Art, Thai
Art, Thai -- Phetchaburi
Stucco
Stucco -- Thailand
Art and literature
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาที่มาของงานปูนปั้นรามเกียรติ์ ถนนราชดำเนิน จังหวัดเพชรบุรี และวิเคราะห์พลวัตและบทบาทหน้าที่ของงานปูนปั้นรามเกียรติ์ในฐานะศิลปกรรมร่วมสมัย โดยใช้แนวคิดเรื่องอนุภาคและทฤษฎีบทบาทหน้าที่ทางคติชนวิทยา ข้อมูลที่ศึกษาคืองานปูนปั้นเรื่องรามเกียรติ์ที่สร้างขึ้นในโครงการถนนคนเดินราชดำเนินยามเย็นจำนวน 35 ชิ้น และศิลปกรรมรามเกียรติ์ในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีอีก 232 ชิ้น เก็บข้อมูลภาคสนามระหว่างปี 2556-2558 ผลการศึกษาพบว่างานปูนปั้นรามเกียรติ์ที่ถนนราชดำเนิน มีที่มาหรือภาพต้นแบบจาก 4 แหล่ง ได้แก่ ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดหัวลำโพง หนังสือ เส้นสายลายไทย ชุดภาพจับจากศิลปะไทย ของเศรฐมันตร์ กาญจนกุล และโขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 งานปูนปั้นทั้ง 35 ชิ้นนี้สามารถเล่าเรื่องรามเกียรติ์ได้ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง โดยใช้การคัดเลือกเหตุการณ์จากเรื่องรามเกียรติ์ที่เป็นที่รู้จัก เช่น การเกี้ยวของหนุมานกับตัวละครหญิงในเรื่อง การทำกลอุบายต่าง ๆ การรบกับระหว่างตัวละครฝ่ายพระรามกับทศกัณฐ์ มาเรียงลำดับ โดยเน้นเหตุการณ์ต่อสู้มากกว่าเหตุการณ์ประเภทอื่น ผลการวิเคราะห์ในด้านบทบาทหน้าที่พบว่า งานชุดนี้มีบทบาทหลายประการ ประการแรกคือบทบาทในด้านการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ตามจุดประสงค์ที่ระบุไว้ในโครงการถนนคนเดิน ราชดำเนินยามเย็น ประการที่สองคือบทบาทในด้านการสืบทอดความรู้เชิงช่างของเพชรบุรี เพราะงานชุดนี้เป็นการรวบรวมฝีมือสกุลช่างปูนปั้นเพชรบุรีมาจัดแสดงผ่านงานศิลปกรรมที่เป็นภาพจับและภาพลอยตัว อีกทั้งยังช่วยขยายพื้นที่ในการเรียนรู้เกี่ยวกับงานปูนปั้นให้ออกมานอกพื้นที่วัด ประการที่สามคือการสืบทอดเรื่องรามเกียรติ์ในฐานะรามเกียรติ์สำนวนใหม่ที่เกิดขึ้นในการสร้างสรรค์งานศิลปะของจังหวัดเพชรบุรี ประการสุดท้าย คือบทบาทในด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องสกุลช่างมาเป็นจุดขาย และยังช่วยทำให้ถนนราชดำเนินกลายเป็น landmark สำคัญของจังหวัดเพชรบุรีอีกด้วย งานวิจัยนี้จึงเป็นการใช้แนวคิดทางคติชนวิทยามาศึกษากลุ่มข้อมูลประเภทงานศิลปะในท้องถิ่น ที่ช่วยรวบรวมข้อมูลศิลปกรรมเรื่องรามเกียรติ์ที่พบในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งสืบทอดมาแต่เดิมจนถึงข้อมูลศิลปกรรมในปี 2558 และเป็นแนวทางหนึ่งในการศึกษากลุ่มข้อมูลศิลปกรรมที่นำวรรณกรรมมาใช้เป็นเนื้อหาในการสร้างสรรค์
Other Abstract: This thesis aims to study the origin of Ramakien stuccos on the Ratchadumnoen road in Changwat Phetchaburi and to analyze the dynamics and the functions of these stuccos as contemporary art by using the motif concept and the theory of functionalism. The data used in this study, collected from fieldwork in 2013-2015, are thirty-five pieces of Ramakien stuccos at the Ratchadumnoen road and two hundreds and thirty-two pieces of traditional Ramakien artworks in Muang district of Phetchaburi. The result of the study shows that the Ramakien stuccos on the Ratchadumnoen road have 4 origins: the Ramakien mural paintings at Wat Phra Sri Ratna Satsadaram (Wat Phra Kaew), mural paintings at Wat Hua Lum Pong, Setthaman Kanchanakul’s Sen Sai Lai Thai Chut Phab Jub Jak Sinlapa Thai (Thai Drawings: “Phab Jub” in Thai arts), and the figurehead of the Royal Barge Narai Song Suban of King Rama IX. All thirty-five stuccos tell the story of Ramakien from the beginning to the end by depicting famous events, for example, the flirtations of Hanuman with other female characters, plotting of schemes, battles between Rama’s and Totsakan’s (Ravana’s) army, and arranging them into order with the highlight on warring scenes. The analysis of the stuccos’ functions shows the various dynamics of these works which both derive and differ from the predecessor. Their main function is to exalt the present reign, as prescribed in the project’s documentation. Secondly, they preserve the knowledge of “Muang Petch” school of sculpting as they are a result of gathering many Phetchaburi living sculptors, and exhibit it outside the religious space in the unprecedented form of three dimension “Phab Jub.” Thirdly, they preserve the story of ramakien as a new version retold by local artworks. And, lastly, they promote the cultural tourism of Phetchaburi by depicting the local artistic knowledge as an attractive feature and by transforming the Ratchadumnoen road into a new landmark of the province. In conclusion, this thesis illustrates an application of folkloristic approaches to study folk arts which are used to telling literary story. It also collects data of traditional Ramakien artworks in Muang district of Phetchaburi in the hope that it will enrich further study of the province’s heritage.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51220
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.940
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.940
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5580109822.pdf17.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.