Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51409
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม-
dc.contributor.authorอภิชาติ วิศิษฏ์กิจการ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2016-12-08T09:34:28Z-
dc.date.available2016-12-08T09:34:28Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51409-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะตรวจสอบปฏิสัมพันธ์ และความเชื่อมโยงของโครงสร้างภายในกลุ่มตลาดหลักทรัพย์เอเชียตะวันออก โดยทำการศึกษาพลวัตของแบบโครงสร้างภายในตลาดหุ้น ผ่านมุมมองโครงข่าย ด้วยกระบวนการวิเคราะห์โครงข่ายแบบอิงสหสัมพันธ์ ซึ่งในงานวิจัยดังกล่าวนี้ เลือกที่จะนำเสนอการวิเคราะห์ความเสี่ยง Systemic Risk ทั้ง 3 รูปแบบ ได้แก่ ความแข็งแรงของโครงสร้างโครงข่าย, สภาวะลุกลามภายโนโครงข่าย และความยืดหยุ่นในการปรับตัวของโครงข่าย งานวิจัยนี้ได้นำเสนอเทคนิค ในการกลั่นกรองข้อมูล โดยการแยกแก่นแท้ของข้อมูลออกจากเส้นเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ภายในโครงข่าย โดยในที่นี้ได้เลือกใช้เทคนิคในการสร้างโครงข่ายแบบบอกทิศทางในรูปแบบเพลน ด้วยวิธี Partial Correlation Planar Maximal Filtered Graphs (PCPG) ซึ่งวิธีดังกล่าวนี้มีข้อดีอยู่ที่แก่นของข้อมูลที่ได้นั้น จะให้ข้อมูลที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับโครงข่าย MST เนื่องจากโครงข่าย PCPG ได้นำการเชื่อมโยงในรูปแบบวงวน และการจับกลุ่มย่อยภายในโครงข่ายมาพิจารณาด้วย โดยที่นำค่า Partial Correlation มาประยุกต์ใช้ ในการวัดสหสัมพันธ์ ระหว่าง 2 ตัวแปรใดๆ เมื่อหักล้างผลกระทบจากตัวกลางแล้ว เช่นวัดผลตอบแทนหุ้น ที่ได้รับผลกระทบ จาก 3 ตัวแปรโดยทำการกำหนดตัวแทน ที่มีอิทธิพลในระดับสูงต่อหุ้นต่างๆภายในตลาดมาใช้เป็นตัวกลาง เพื่อที่จะนำมาใช้หาสหสัมพันธ์แยกส่วน ซึ่งในงานวิจัยนี้มีขอบเขตการศึกษาพลวัตของดัชนี ICF ตลอดช่วง ค.ศ.1990 – 2012 ภายในดัชนีหุ้นของประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออก โดยที่ ICF เป็นสัดส่วนของสหสัมพันธ์ระหว่างตลาด ต่อสหสัมพันธ์แยกส่วนระหว่างตลาด พร้อมกันนี้ยังได้นำค่าทางสถิติของแบบโครงสร้างที่ได้จากโครงข่าย MST และ PCPG มาพิจารณาระดับความเป็นศูนย์กลางของตลาดหุ้นภายในภูมิภาค งานวิจัยดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่าโครงข่ายในรูปแบบที่อิงค่าสหสัมพันธ์นั้น ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวัดคุณสมบัติในแง่ของความเป็นศูนย์กลางภายในโครงข่าย ได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวัดความเสี่ยง Systemic Risk ผ่าน 3 มุมมอง ในการวิเคราะห์โครงสร้าง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้พบว่าโครงสร้างของระบบมีความแข็งแรงแต่เปราะบาง (Robust yet Fragile) ภายในโครงข่าย อีกทั้งยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดสภาวะลุกลามของวิกฤตที่อาจปะทุขึ้นมาอีกครั้งen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to investigate interaction and interdependence of East Asian stock markets by studying the dynamics of stock markets. The structure of stock markets has been visualized by correlation based network which can be used to study the systemic risk in three dimensions including Robustness, Contagion and Resilience in network. I introduce a technique to filter out financial data sets by extracting the core information from representative links. Particularly in the case of Partial Correlation Planar Maximal Filtered Graphs (PCPG) together with loops and cliques are emerged whereas the partial correlation is a measure of how the correlation between two stock market indices returns is affected by a third mediating index. I investigate that meaningful economic information can be extracted from time-varying correlation matrices. The stock market dynamics during 1990 – 2012 in East Asian stock market indices are investigated in terms of the Index Cohesive Force (ICF) which represents the fraction of the stock markets correlations and the stock markets partial correlations after subtraction of the third mediating index contribution. Moreover, the topological analysis of Minimum Spanning Tree (MST) and PCPG has been considered the centrality measures of stock market dynamics in the region. This research shows that the correlation based network can be practical in terms of the centrality analysis of stock market in the region. Furthermore, this network can measure systemic risk which the result shows that the structure of stock markets in the region. Furthermore, this network can measure systemic risk which the result shows that the structure of stock markets are robust yet fragile and the East Asian stock markets could face the contagion of financial crisis in the future.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1628-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectตลาดหลักทรัพย์en_US
dc.subjectตลาดหลักทรัพย์ -- การประเมินความเสี่ยงen_US
dc.subjectการบริหารความเสี่ยงทางการเงินen_US
dc.subjectStock exchangesen_US
dc.subjectStock exchanges -- Risk assessmenten_US
dc.subjectFinancial risk managementen_US
dc.titleการวิเคราะห์ความเสี่ยงภายในกลุ่มตลาดหลักทรัพย์เอเชียตะวันออกen_US
dc.title.alternativeSystemic risk analysis of east asian stock marketsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPongsak.L@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1628-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
aphichat_wi.pdf5.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.