Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51411
Title: การสร้างงานนาฏยศิลป์ไทยเพื่อการอนุรักษ์และสร้างสรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่
Other Titles: Thai dance creation using conservation and creative ideas for the new generation
Authors: มาลินี อาชายุทธการ
Advisors: นราพงษ์ จรัสศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: นาฏศิลป์ไทย
นาฏศิลป์ไทย -- การอนุรักษ์
การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
นราพงษ์ จรัสศรี
Dramatic arts, Thai
Dramatic arts, Thai -- Conservation
Naraphong Charassri
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เล่มนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษารูปแบบและแนวคิดในการสร้างงานนาฏยศิลป์ไทยเพื่อการอนุรักษ์และสร้างสรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่ โดยให้ความสำคัญกับการศึกษาการแสดงชุด “เพนดูลัม: อีสท์ แอน เวสท์ อิน อะ ไลฟ์ ออฟ ดานซ์” ซึ่งสร้างสรรค์และแสดงเดี่ยวโดย นราพงษ์ จรัสศรี ในปี ค.ศ. 1983 ณ เมืองเวลส์ ประเทศสหราชอาณาจักร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากงานเอกสาร ร่วมสัมมนา สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ การทำการแสดงซ้ำ (Reproduction) โดยทดลองสร้างการแสดงชุด “เพนดูลัม” ขึ้นใหม่ และประเมินผลเพื่อหาวิธีการทำงาน ผลการวิจัยพบว่าการแสดงชุดเพนดูลัม สามารถเป็นตัวแทนของการแสดงนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยสำหรับคนรุ่นใหม่ ซึ่งประกอบด้วย 1) บทการแสดงใช้เพื่อเล่าเรื่องราว 2) ลีลาการแสดงแบบนาฏยศิลป์ไทย บัลเลต์ และนาฏยศิลป์ร่วมสมัย 3) นักแสดงคนเดียวที่มีความสามารถหลากหลายทางการแสดง 4) เครื่องแต่งกายออกแบบบนพื้นฐานของศิลปวัฒนธรรมไทยและตะวันตกที่ใช้เทคนิคการเปลี่ยนเครื่องแต่งกายบนเวทีแสดง 5) เสียงและดนตรีใช้ดนตรีไทยเดิมและเสียงพูดที่ออกแบบให้เหมาะสมกับเรื่องราว 6)พื้นที่เวทีสำหรับการแสดงถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพในเรื่องของที่ว่าง 7) แสงสำหรับการแสดงถูกใช้เพื่อแนะนำสายตาผู้ชม 8) อุปกรณ์การแสดงใช้เป็นสัญลักษณ์ประกอบเรื่องราวที่แสดง และแนวคิดในการสร้างงานที่สำคัญ 3 ประการที่พบ คือ 1) การใช้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ให้ศิลปวัฒนธรรมไทยโดดเด่นท่ามกลางกระแสวัฒนธรรมอื่นอย่างสร้างสรรค์ 2)การใช้สัญลักษณ์ในการสื่อสารเพื่อสร้างอรรถรสในการแสดง 3)การใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียในการแสดง จากการประเมินแนวความคิดพบว่า การตีความ(Interpretation)เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยผ่านระบำและการตีบท (Acting) การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยนั้นสามารถใช้ท่ารำ เพลงดนตรีและเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมอย่างสร้างสรรค์ จะเห็นได้ว่าการสร้างงานนาฏยศิลป์ไทยเชิงอนุรักษ์และสร้างสรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่ ถ้าทำอย่างมีหลักการจะสามารถสร้างงานที่มีคุณภาพอันเป็นการสืบทอด อนุรักษ์และเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรมประจำชาติสู่ประชาคมโลกอย่างภาคภูมิ
Other Abstract: The scope of this dissertation is to study forms and concepts of producing Thai dance for the purposes of cultural preservation and creativity aiming at the new generation. The study places an emphasis on an investigation of Pendulum: East and West in a Life of Dance, a dance solo created by Narapong Charasri. It was world premiered in 1983 in Wales, The United Kingdom. This study employs qualitative research methods by document survey, attending a seminar, interviews, reproduction of Pendulum: East and West in a Life of Dance, assessment and evaluation of the reproduction in order to find out the working procedure. The study reveals that Pendulum: East and West in a Life of Dance is capable of representing Thai contemporary dance for the new generation in which constitutes the followings: (1) dialogue for telling a story; (2) a combination of Thai dance, ballet, and contemporary dance; (3) a soloist possessing performing versatility; (4) costume design on the basis of Thai and western cultural elements that must be changeable on stage; (5) usage of sound, Thai traditional music, and spoken words designed specifically to fit in a story; (6) efficient utilization of stage area; (7) lighting for guiding audience view; (8) symbolic implications of props. The three major concepts of constructing such a creative work of Thai dance contemporary with the purposes of cultural reservation for the new generation include: (1) using the concept of cultural diversity enhancing Thai culture to become eminent among other mainstream cultures creatively; (2) using symbols to communicate and to build performance aesthetics; (3) using technology and muti-media in a performance. Interpretation is one of the most important elements in producing a Thai contemporary dance through a group-dance and acting. Cultural Preservation can be accomplished by implementing dance movements, music, and costume appropriately. In order to make a Thai dance for the purposes of cultural preservation and creativity aiming at the new generation, adhering to principles and quality are of great importance to transmit, preserve, and disseminate the national heritage to global community elegantly.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51411
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1629
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1629
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
malinee_ac.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.