Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51483
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิยนาถ บุนนาค-
dc.contributor.advisorสุด จอนเจิดสิน-
dc.contributor.authorกัณฐิกา ศรีอุดม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2017-01-16T04:36:26Z-
dc.date.available2017-01-16T04:36:26Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51483-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา "เอกซฮิบิเชน" ของสยาม ตั้งแต่ "นาเชนแนลเอกซฮิบิเชน" เมื่อ พ.ศ. 2425 ถึง "สยามรัฐพิพิธภัณฑ์" เมื่อ พ.ศ. 2468 ที่ได้รับอิทธิพลจากมหกรรมนานาชาติ กับทั้งยังทำให้ เห็นภาพสะท้อนประวัติศาสตร์สยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผลจากการศึกษาทำให้เห็นความสำคัญและพัฒนาการของ "เอกซฮิบิเชน" ดังนี้ ประการที่ 1 การจัด "เอกซฮิบิเชน" ของสยามในต่างประเทศเป็นการสร้างภาพลักษณ์ของสยามในฐานะ อารยประเทศและการรักษาทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศ ประการที่ 2 ชนชั้นนำสยามนำแนวคิดเรื่อง "เอกซฮิบิเชน" มาปรับใช้ให้เห็นว่าสยามมีความก้าวหน้าและทันสมัย จึงเกิดกระบวนการจัดแสดง "เอกซฮิบิเชน" ตามแบบอย่างตะวันตกขึ้นในสยามอย่างสม่ำเสมอ จนเกิดการถ่ายทอดแนวคิดเรื่องการจัด "เอกซฮิบิเชน" จากชนชั้นนำไปสู่ข้าราชการและราษฎร ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ประการที่ 3 การจัด "เอกซฮิบิเชน" ในสยามดำเนินการไปพร้อมกับการสั่งงานในระบบราชการสมัยใหม่ ซึ่งมีระบบจัดการที่ ชัดเจน ทำให้ข้าราชการ ได้พัฒนาตนเองจากการลงมือปฏิบัติ เมื่อต้องจัด "เอกซฮิบิเชน" เพื่อให้ราษฎรได้ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ประการที่ 4 การจัด "เอกซฮิบิเชน" ในกรุงเทพฯ สะท้อนให้เห็นการเจริญเติบโต ของกรุงเทพฯ เป็นเมืองสมัยใหม่แบบตะวันตก ซึ่งเห็นได้จากการสร้างถนน สะพานและรถราง เพื่ออำนวย ความสะดวกในการเดินทาง ตลอดจนประเภทและจำนวนธุรกิจสมัยใหม่ที่เพิ่มมากขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis studies the "Siamese Fairs and Exhibitions" form the "National Exhibition" in 1882 to "The Siamese Kingdom Exhibition" in 1926, which were influence by international exhibitions. This study also reflects Siamese history in the reigns of King Chulalongkorn and King Vajiravudh. The study of the "Siamese Fairs and Exhibitions" illustrates the significance and development of the following Firstly, Siamese participations in many international exhibitions were seen as a way to demonstrate Siam as a civilized nation. They were also used to strengthen international relations. Secondly, having learnt the technique of organizing fairs and exhibitions from the West, the Siamese elite started organizing their own as proof of the Kingdom's modernization. By organizing fairs and exhibitions times and again, the knowledge of modern management was passed on from the elite to the government officials and to the public. Thirdly, the organization of fairs and exhibitions in Siam relied on the modern bureaucratic system, which had a clear line of management. This coupled with actual practice from organizing the events on a regular basis for the betterment of the Siamese people help promoted self-development of government officials. Fourthly, fairs and exhibitions in Bangkok reflected the growth of Bangkok as a modern city as seen in the constructions of roads, bridges, and tramways as modern means of transportation, and in the increase in the types and volume of modern business in Bangkok.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.392-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2396-2453 -- นิทรรศการen_US
dc.subjectมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2423-2468 -- นิทรรศการen_US
dc.subjectสยามรัฐพิพิธภัณฑ์en_US
dc.subjectไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2394-2475en_US
dc.titleจาก "นาเชนแนล เอกซฮิบิเชน" ถึง "สยามรัฐพิพิธภัณฑ์" : ภาพสะท้อนประวัติศาสตร์สยาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวen_US
dc.title.alternativeFrom "National Exhibition" to "The Siamese Kingdom Exhibition" : reflections of Siamese history in the reigns of King Chulalongkorn and King Vajiravudhen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPiyanart.B@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.392-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kanthika_sr_front.pdf5.24 MBAdobe PDFView/Open
kanthika_sr_ch1.pdf7.75 MBAdobe PDFView/Open
kanthika_sr_ch2.pdf39.13 MBAdobe PDFView/Open
kanthika_sr_ch3.pdf45.41 MBAdobe PDFView/Open
kanthika_sr_ch4.pdf34.56 MBAdobe PDFView/Open
kanthika_sr_ch5.pdf33.04 MBAdobe PDFView/Open
kanthika_sr_ch6.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open
kanthika_sr_back.pdf26.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.