Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51570
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorขันทอง สุนทราภา-
dc.contributor.advisorชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต-
dc.contributor.authorธนวรรณ บุญยศักดิ์เสรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-01-26T02:25:25Z-
dc.date.available2017-01-26T02:25:25Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51570-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ได้ทำการเตรียมเมมเบรนพอลิซัลโฟนและเมมเบรนซัลฟอเนเตดพอลิซัลโฟนเพื่อประยุกต์ใช้ในการแยกไลโคพีนจากมะเขือเทศด้วยกระบวนการเพอร์แวปเพอเรชันแบบแผ่นและกรอบ โดยเตรียมเมมเบรนจากสูตรพอลิซัลโฟนหรือซัลฟอเนเตดพอลิซัลโฟนร้อยละ 20 โดยน้ำหนักและนอร์มัล-เมทิล-2-ไพโรลิโดนร้อยละ 80 โดยน้ำหนัก ด้วยวิธีการเปลี่ยนเฟส โดยแปรค่าอุณหภูมิและเวลาในการระเหยตัวทำละลายและเวลาที่ใช้แช่น้ำ พบว่า ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเมมเบรนพอลิซัลโฟนที่เตรียมขึ้นมี 2 ลักษณะ คือ แบบไม่สมมาตรซึ่งได้จากการระเหยตัวทำละลายที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 ถึง 18 ชั่วโมง หรือได้จากการระเหยตัวทำละลายที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 ถึง 12 ชั่วโมง และแบบเนื้อแน่นซึ่งได้จากการระเหยตัวทำละลายที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 ถึง 18 ชั่วโมง หรือได้จากการระเหยตัวทำละลายที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 14 ถึง 18 ชั่วโมง ส่วนระยะเวลาในการแช่น้ำ 45 นาที ถึง 90 นาที ไม่มีผลต่อโครงสร้างของเมมเบรนอย่างมีนัยสำคัญ ค่าความสามารถทนต่อแรงดึงของสูตรเมมเบรนที่มีโครงสร้างไม่สมมาตรจะอยู่ในช่วง 5.5-16.0 เมกะปาสกาลสำหรับเมมเบรนที่มีโครงสร้างเนื้อแน่นจะอยู่ในช่วง 41.3-63.1 เมกะปาสกาล เมมเบรนพอลิซัลโฟนที่เหมาะสมในการนำมาใช้สกัดสารไลโคพีนออกจากเฮกเซนด้วยกระบวนการเพอร์แวปเพอเรชัน คือ เมมเบรนที่ได้จากการระเหยตัวทำละลายที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 ถึง 18 ชั่วโมง โดยให้ค่าดัชนีการแยกประมาณ 3,000 อย่างไรก็ตามจากการวิจัยพบว่า เมมเบรนที่มีศักยภาพในการนำมาใช้ในกระบวนการเพอร์แวปเพอเรชัน คือ เมมเบรนที่ได้จากการระเหยตัวทำละลายเป็นเวลา 14 ถึง 18 ชั่วโมง เนื่องจากมีโครงสร้างเนื้อแน่น และให้ค่าความสามารถทนต่อแรงดึงสูงกว่าเมมเบรนที่เตรียมจากสภาวะอื่นเมมเบรนซัลฟอเนเตดพอลิซัลโฟนที่ได้จากการระเหยตัวทำละลายที่อุณหภูมิ 50 หรือ 60 องศาเซลเซียสเป็นเวลานานกว่า 8 ชั่วโมง จะให้โครงสร้างภาคตัดขวางเป็นแบบเนื้อแน่นทุกสูตร และให้ค่าความสามารถทนต่อแรงดึงอยู่ในช่วง 30.8-41.9 เมกะปาสกาล แต่ให้ค่าสมรรถนะการแยกค่อนข้างต่ำ ซึ่งหากได้รับการปรับปรุงต่อไปจะสามารถใช้งานได้ดีขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeIn this study polysulfone (PSf) and sulfonated polysulfone (SPSf) membranes were prepared for separation of lycopene from tomato using plate and frame pervaporation technique. The PSf and SPSf membranes were prepared by phase inversion using composition of 20 wt % PSf or SPSf and N-methyl-2-pyrrolidone 80 wt%. The process parameters in this study were evaporation time, evaporation temperature and immersion time in water. It was found that the morphologies of PSf membranes were categorized as asymmetric and dense structure. The asymmetric structure was obtained from partial evaporation at 40 ํC at all evaporation times of 8-18 hrs or from partial evaporation at 50 ํC for 8-12 hrs. The dense structure was obtained from partial evaporation at 60 ํC at all evaporation times of 8-18 hrs or from partial evaporation at 50 ํC ดนพ 14-18 hrs. The immersion time in water showed insignificant effects on membrane properties. The tensile strengths of asymmetric structures were in the range of 5.5-16.0 MPa but those of the dense structures were in the range of 41.3-63.1 MPa. The preferred PSf membrane for separation of lycopene from hexane by pervaporation process was those obtained from partial evaporation at 50 ํC for 10-18 hrs with separation index of about 3,000. However, the candidate membrane for pervaporation technique was that obtained from evaporation times of 14-18 hrs due to their dense structures and higher tensile strength than other conditions. All SPSf membranes obtained from partial evaporation temperature at 50 or 60 ํC for more than 8 hrs showed dense structure. Their tensile strengths were in the range of 30.8-41.9 MPa but their separation factors were too low to be use for lycopene separation. The further improvements are neededen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1067-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไลโคพีน--การแยกen_US
dc.subjectการแยกด้วยเมมเบรนen_US
dc.subjectเพอร์เวเพอเรชันen_US
dc.subjectเทคโนโลยีเคมีen_US
dc.subjectมะเขือเทศen_US
dc.subjectLycopene--Separation (Technology)en_US
dc.subjectMembrane separationen_US
dc.subjectPervaporationen_US
dc.subjectChemistry, Technicalen_US
dc.subjectTomatoesen_US
dc.titleการเตรียมและลักษณะสมบัติของเมมเบรนพอลิซัลโฟนและซัลฟอเนเตดพอลิซัลโฟนเพื่อแยกไลโคพีนในมะเขือเทศen_US
dc.title.alternativePreparation and characterixation of polysulfone and sulfonated polysulfone membranes for separation of tomato lycopeneen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเคมีเทคนิคen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorkhantong@sc.chula.ac.th-
dc.email.authorchutima@tistr.or.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.1067-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tanawan_bo_front.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
tanawan_bo_ch1.pdf513.81 kBAdobe PDFView/Open
tanawan_bo_ch2.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open
tanawan_bo_ch3.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
tanawan_bo_ch4.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open
tanawan_bo_ch5.pdf249.87 kBAdobe PDFView/Open
tanawan_bo_back.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.