Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51612
Title: การใช้พอลิเอมีนและพอลิเอมีนที่สกัดจากไซยาโนแบคทีเรียเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาของผลกล้วยหอมทอง
Other Titles: Utilization of polyamines and polyamines extracted from cyanobacteria to prolong storage life of "Hom Thong" banana fruit
Authors: อรรคพล สันติวิภานนท์
Advisors: กนกวรรณ เสรีภาพ
เสาวรัตน์ จันทะโร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Kanogwan.K@Chula.ac.th
saowarath.j@chula.ac.th
Subjects: พอลิเอมีน
ไซยาโนแบคทีเรีย
กล้วยหอมทอง -- การเก็บและรักษา
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาผลของการใช้พอลิเอมีนและพอลิเอมีนที่สกัดจากไซยาโนแบคทีเรียก่อนการเก็บรักษาต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษากล้วยหอมทอง (Musa acuminata, AAA group, Gros Michel subgroup, cultivar “HOM THONG”) โดยจุ่มผลกล้วยในสารละลายพอลิเอมีนชนิดต่างๆ ที่ความเข้มข้น 0.1, 1 และ 10 ppm เป็นเวลา 5 นาที แล้วนำมาเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 °C เป็นเวลา 13 วัน พบว่าการจุ่มกล้วยหอมทองในสารละลาย putrescine ที่ความเข้มข้น 1 ppm สามารถช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงสีเปลือก ความแน่นเนื้อ และปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ ส่วนการจุ่มสารละลาย spermine ที่ความเข้มข้น 0.1 ppm พบว่า สามารถช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงของปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ สำหรับการจุ่มสารละลาย spermidine ที่ความเข้มข้น 0.1 ppm มีแนวโน้มว่าสามารถช่วยชะลอการสูญเสียน้ำหนักสด การเปลี่ยนแปลงสีเปลือก ความสว่างของสีเปลือก ความแน่นเนื้อ และปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ของกล้วยหอมทองได้ดีกว่าชุดการทดลองอื่นๆ ส่วนการจุ่มสารละลายพอลิเอมีนที่สกัดได้จากไซยาโนแบคทีเรียที่ความเข้มข้น 10 ppm สามารถชะลอการสูญเสียน้ำหนักสด การเปลี่ยนแปลงสีเปลือก ความแน่นเนื้อ และปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ดีกว่าชุดการทดลองอื่นๆ นอกจากนี้พบว่าสารละลาย พอลิเอมีนที่สกัดได้จากไซยาโนแบคทีเรียความเข้มข้น 10 ppm สามารถป้องกันการเกิด chilling injury ของกล้วยหอมทองได้ดีที่สุดเมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 °C เป็นเวลา 8 วัน โดยการจุ่มสารละลายดังกล่าวสามารถช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงสีเปลือก การเกิดสีดำของเปลือก เปอร์เซนต์การรั่วไหลไอออน ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก แอกทิวิตีของเอนไซม์พอลิฟีนอล ออกซิเดสและการลดลงของปริมาณพอลิเอมีนชนิดที่เป็นโมเลกุลอิสระในกล้วยหอมทอง
Other Abstract: The effects of polyamines and polyamines extracted from cyanobacteria treatments before storage on quality and shelf life of “HOM THONG” bananas (Musa acuminata, AAA group, Gros Michel subgroup, cultivar “HOM THONG”) were studied. Concentrations of 0.1, 1 and 10 ppm of each polyamine were applied to bananas compared to control treatment (treatment with distilled water) and then stored at 25 °C for 13 days. The result showed that 1 ppm putrescine could delay changes in peel color, firmness and total soluble solids of banana fruits. Treatment of spermine at 0.1 ppm could maintain the amount of total soluble solids. Dipping banana fruit in 0.1 ppm spermidine likely delayed the loss of fresh weight, firmness, total soluble solids, and color changes. Treatment of 10 ppm polyamines extracted from cyanobacteria, could delay weight loss, changes in peel color, firmness and total soluble solids. In addition, 10 ppm polyamines extracted from cyanobacteria could prevent chilling injury of bananas stored at 4 °C for 8 days and also delay changes in peel color, peel blackening, ion leakage, phenolic compound content, activity of polyphenol oxidase and free form polyamine content.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พฤกษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51612
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2075
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2075
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
akapon_sa.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.