Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51873
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสีหนาท ประสงค์สุข-
dc.contributor.authorสุภาภรณ์ ฤทธิ์กล้า-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-02-16T01:44:37Z-
dc.date.available2017-02-16T01:44:37Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51873-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาการฟอกเยื่อจากต้นข้าวโพดโดยใช้เอนไซม์ไซแลนเนสและเอนไซม์แลกเคสร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ โดยเริ่มจากการใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในการฟอกเยื่อที่ปริมาณต่างๆ คือ ร้อยละ 5, 10 และ 15 ของน้ำหนักเยื่อแห้ง พบว่าการฟอกเยื่อโดยใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ส่งผลให้ค่าความขาวสว่างและความต้านทานแรงฉีกสูงขึ้นแต่ความแข็งแรงต่อแรงดึงลดลง การใช้ปริมาณไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เพิ่มขึ้นทำให้ความหนาแน่นปรากฎและความขาวสว่างเพิ่มขึ้น ส่วนความทึบแสงและความเรียบมีค่าลดลง ปริมาณไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่เหมาะสมคือ ร้อยละ 15 ของน้ำหนักเยื่อแห้ง ส่วนการใช้เอนไซม์ไซแลนเนสหรือเอนไซม์แลกเคสที่ปริมาณต่างๆ คือ ร้อยละ 20, 30 และ 40 ของน้ำหนักเยื่อแห้งร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในการฟอกเยื่อนั้นพบว่า การใช้เอนไซม์ทำให้ความขาวสว่าง ความเรียบ ความหนาแน่นปรากฎ ความต้านทานแรงฉีกเพิ่มขึ้น แต่ความแข็งแรงต่อแรงดึงและความทึบแสงลดลง การใช้เอนไซม์ไซแลนเนสในปริมาณมากขึ้นมีแนวโน้มทำให้ความเรียบเพิ่มขึ้น ในขณะที่การใช้เอนไซม์แลกเคสในปริมาณมากขึ้นมีแนวโน้มทำให้ความแข็งแรงต่อแรงดึงลดลง ส่วนปริมาณเอนไซม์ไซแลนเนสและเอนไซม์แลกเคสที่เหมาะสมคือที่ร้อยละ 20 เนื่องจากให้ค่าความขาวสว่างและความแข็งแรงไม่แตกต่างจากที่ปริมาณอื่นมากนัก เมื่อทำการฟอกเยื่อโดยใช้เอนไซม์ไซแลนเนส (X) และเอนไซม์แลกเคส (L) ร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (P) โดยใช้ลำดับการฟอกเยื่อต่างกัน ได้แก่ XLP, LXP และ (X+L)P พบว่าลำดับการฟอกเยื่อ XLP, LXP และ (X+L)P ไม่ส่งผลต่อความหนาแน่นปรากฎ ความเรียบ ความขาวสว่างและความทึบแสง ในขณะที่ลำดับการฟอกเยื่อ XLP และ LXP ไม่ส่งผลต่อความแข็งแรงต่อแรงดึงและความต้านทานแรงฉีก แต่ (X+L)P ให้ความแข็งแรงต่อแรงดึงและความต้านทานแรงฉีกเพิ่มขึ้น การใช้เอนไซม์ทั้งสองชนิดร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ส่งผลต่อสมบัติของเยื่อและกระดาษไม่ต่างจากการใช้เอนไซม์เพียงชนิดเดียวร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์en_US
dc.description.abstractalternativeBleaching of corn stalk pulp using xylanase and laccase combined with hydrogen peroxide (H₂O₂) was studied. Various H₂O₂ dosages of 5%, 10% and 15% based on oven dried (O.D.) pulp weight were used. The results indicated that H₂O₂ bleaching increased brightness and tear resistance but decreased tensile strength. Higher dosage of H₂O₂ led to higher apparent density and brightness but lower opacity and smoothness. The optimal dosage of H₂O₂ was equal to 15%. Then, various dosages of xylanase and laccase equal to 20%, 30% and 40% based on O.D. pulp weight were employed with H2O2. It was found that use of enzyme increased brightness, smoothness, apparent density and tear resistance but decreased tensile strength and opacity. Higher dosage of xylanase and laccase caused higher smoothness and lower tensile strength respectively. The optimal dosages of xylanase and laccase were equal to 20% and brightness and strength obtained using this enzyme optimal dosage did not differ from using other dosages. Pulp bleaching using xylanase (X) and laccase (L) combined with H₂O₂ (P) with the bleaching sequences of XLP, LXP and (X+L)P were also studied and discovered that apparent density, smoothness, brightness and opacity obtained from XLP, LXP and (X+L)P were not different. Although XLP and LXP did not affect tensile strength and tear resistance, (X+L)P led to higher tensile strength and tear resistance. Also, it was found that pulp and paper properties using these two enzymes together with H₂O₂ did not differ from using each enzyme together with H₂O₂.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2133-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectข้าวโพดen_US
dc.subjectไซแลนเนสen_US
dc.subjectเยื่อกระดาษen_US
dc.subjectCornen_US
dc.subjectXylanasesen_US
dc.subjectWood-pulpen_US
dc.titleผลของไซแลนเนสและแลกเคสร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ต่อความสามารถในการฟอกได้ของเยื่อต้นข้าวโพดen_US
dc.title.alternativeEffects of xylanase and laccase combined with hydrogen peroxide on bleachability of corn stalk pulpen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSehanat.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.2133-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supaporn_ri.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.