Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52092
Title: การสร้างอัตลักษณ์วัยรุ่นจากการแต่งกายแฟชั่น : กรณีศึกษา สยามแสควร์
Other Titles: Identity formation of youth through fashionable clothings : a case study of Siam Square
Authors: อุสุมา สุขสม
Advisors: อมรา พงศาพิชญ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Amara.P@Chula.ac.th
Subjects: เอกลักษณ์ทางสังคม
อัตลักษณ์
การแต่งกาย
วัยรุ่น -- ไทย
ค่านิยมในวัยรุ่น
พฤติกรรมผู้บริโภค
Group identity
Identity (Philosophical concept)
Clothing and dress
Adolescence -- Thailand
Values in adolescence
Consumer behavior
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่อง “การสร้างอัตลักษณ์วัยรุ่นจากการแต่งกายแฟชั่น : กรณีศึกษา สยามสแควร์” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแต่งกายแฟชั่นของวัยรุ่น โดยหาเงื่อนไขที่มีอิทธิพลสร้างแรงจูงใจ วิถีทางในการแสดงออก ตลอดจนวิเคราะห์การนิยามและตีความหมายจากการแต่งกายแฟชั่นของวัยรุ่น ศึกษาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการแต่งกายแฟชั่นที่มีต่อการสร้างอัตลักษณ์ของวัยรุ่นตลอดจนศึกษาอัตลักษณ์ใหม่ของวัยรุ่นที่ถูกสร้างขึ้นจากการแต่งกายแฟชั่น ผ่านการศึกษาเชิงเปรียบเทียบแนวแฟชั่นสามรูปแบบ ได้แก่ แฟชั่นฮิพฮอพ แฟชั่นเด็กแนว (อินดี้) และแฟชั่นแบรนด์เนม โดยดำเนินการเก็บข้อมูลผ่านเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เจาะลึกวัยรุ่นจำนวน 23 คน ผลการศึกษาพบว่า การสร้างอัตลักษณ์วัยรุ่นจากแฟชั่นเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในเชิงกระบวนการ เริ่มต้นจากเงื่อนไขสร้างแรงจูงใจแก่วัยรุ่นให้แต่งกายแฟชั่น คือ แรงขับตามธรรมชาติของวัยและปริบททางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมที่แวดล้อม ได้แก่ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน สื่อมวลชน ตลอดจนการใช้เวลายามว่างในชีวิตประจำวัน จากนั้น วัยรุ่นมีการแสดงออกโดยการซื้อสินค้าแฟชั่นและบริโภคแฟชั่นผ่านกระบวนการสร้างความแตกต่างและกระบวนการลอกเลียนแบบ ภายใต้การแสดงออกวัยรุ่นได้นิยามความหมายแฟชั่นในเชิงสัญลักษณ์ที่สื่อถึงรสนิยม รูปแบบการดำเนินชีวิต ชนชั้น ความสัมพันธ์เชิงอำนาจต่อสังคมรอบตัว เป็นเทคนิคของการสร้างความทันสมัยให้แก่ร่างกายอย่างหนึ่ง ตลอดจนสื่อความสัมพันธ์ที่มีร่วมกับกลุ่ม ดังนั้น ความหมายเชิงสัญลักษณ์จากแฟชั่นจึงเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสำนึกอัตลักษณ์บุคคลและอัตลักษณ์ร่วมทางสังคมตามการเลือกบริโภคแฟชั่นของวัยรุ่น (ได้แก่ อัตลักษณ์แฟชั่นฮิพฮอพ อัตลักษณ์แฟชั่นเด็กแนว (อินดี้) และอัตลักษณ์แฟชั่นแบรนด์เนม) นอกจากนี้ อัตลักษณ์แฟชั่นยังนำมาซึ่งการสร้างอัตลักษณ์ด้านกิริยาท่าทาง และคำศัพท์เทคนิคเฉพาะเกี่ยวกับแฟชั่นอันเป็นคุณลักษณะร่วมอย่างหนึ่งของการแสดงอัตลักษณ์แฟชั่นที่ปรากฏด้วย การพิจารณาความหมายของแฟชั่นภายใต้วัฒนธรรมการบริโภค ซึ่งถูกสร้างในฐานะเป็นวาทกรรมอย่างต่อเนื่อง กอรปกับเมื่อถูกบริโภคจากวัยรุ่นซึ่งกำลังอยู่ในช่วงแห่งการเปลี่ยนผ่านของวัย ทำให้กระบวนการสร้างอัตลักษณ์แฟชั่นวัยรุ่นมีความยืดหยุ่น และลื่นไหลตามปฏิสัมพันธ์ภายใต้มิติพื้นที่และเวลาอัตลักษณ์แฟชั่นของวัยรุ่นจึงมีทั้งที่อยู่ระหว่างกระบวนการสร้าง ขณะที่บางคนสร้างได้และอัตลักษณ์มีแนวโน้มจะดำรงอยู่ตลอดช่วงการเป็นวัยรุ่นหรืออาจติดตัวไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ดี การสร้างอัตลักษณ์วัยรุ่นบนพื้นฐานการบริโภคแฟชั่นเป็นสิ่งที่ถูกสร้างจากกระบวนการทางสังคมที่ไม่ตายตัว ให้ภาพอัตลักษณ์ที่มีลักษณะชั่วคราว บ่งบอกความเป็นตัวตนของวัยรุ่นได้ส่วนหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น อัตลักษณ์แฟชั่นของวัยรุ่นที่สร้างและปรากฏในปัจจุบันจึงเป็นสิ่งไม่แน่นอน และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต
Other Abstract: This qualitative research is concerned with identity formation of youth through fashionable clothings in Siam Square. The objectives are to study youth clothing fashions by putting emphasis on motivations and expressions as well as to explore how youth define and give meaning of their dressing style. The relationship between fashionable clothing and its effect on the youth’s identity formation was also analyzed. In addition, the study also investigates trendy youth construction of identity through the comparative study of three fashions, i.e., hip hop, dek-neaw (indy) and brand name. The data was collected by means of reviewing related literature, participant observation and in-depth interviews of 23 teenagers. The research shows that the youth identity formation begins with the conditions which motivate youth to dress fashionably. These conditions are teenage natural drive, family economic and social contexts, peer groups, mass media as well leisure activities. After that, they go through “distinction” and “imitation” processes. In fact, these fashion expressions represent their tastes, lifes-styles, social classes, and authoritative relationships within their social and cultural milieu. The process also connote the modernization of individual youth and their relationship with a particular group. In other words, these fashionable clothings are in fact parts of self-identity and shared collective identity. It was found that the fashionable identity also brings about particular characteristics and personality identity through gestures and use of slang words related to fashion. Since discourse on fashion constructed in consumer culture among the youth who are in the transitional period is a continuous process, the process of formation identity is consequently flexible and fluid depending on social interaction in the context of place and time. Therefore, it was found that while some youth are just forming their identity, others already complete theirs. Nevertheless, the identity formation based on the consumer culture is considered the product of impermanent social process. In other words, this identity is temporary, representing youth identity at a particular time and is subject to change in the further.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52092
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.285
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.285
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
usuma_su_front.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
usuma_su_ch1.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
usuma_su_ch2.pdf4.86 MBAdobe PDFView/Open
usuma_su_ch3.pdf5.8 MBAdobe PDFView/Open
usuma_su_ch4.pdf9.61 MBAdobe PDFView/Open
usuma_su_ch5.pdf8.21 MBAdobe PDFView/Open
usuma_su_ch6.pdf6.8 MBAdobe PDFView/Open
usuma_su_ch7.pdf6.97 MBAdobe PDFView/Open
usuma_su_ch8.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
usuma_su_back.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.