Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52107
Title: ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล : ศึกษากรณีกระทำผิดโดยประมาท
Other Titles: Corporate criminal liability : case study of criminal negligent
Authors: นลินอร ธิบดี
Advisors: อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Apirat.P@chula.ac.th
Subjects: ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล
Criminal liability of juristic persons
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันพบความเสียหายที่เกิดจากการกระทำโดยประมาทของนิติบุคคลบ่อยครั้งขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามการดำเนินคดีอาญากับนิติบุคคลในกรณีดังกล่าวมักจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จ จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลให้การดำเนินคดีไม่ประสบผลสำเร็จมีสาเหตุมาจากการที่หลักกฎหมายที่มีอยู่แต่เดิมขาดทฤษฎีรองรับที่เหมาะสมเกี่ยวกับเรื่องที่นิติบุคคลกระทำผิดโดยประมาท แต่เดิมในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์มีหลักในการวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล เรียกว่าหลัก identification โดยพิจารณาความรับผิดของนิติบุคคล จากเจตนาและการกระทำของผู้แทน แล้วถือเสมือนเป็นของนิติบุคคล ซึ่งหากนำแนวคิดนี้มาปรับใช้กับกรณีของการกระทำโดยประมาทแล้วจะพบอุปสรรคมากมาย จากการวิจัยพบว่าในประเทศที่ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความเสียหายที่เกิดขึ้น ได้ดำเนินการปฏิรูปกฎหมาย เพื่อสร้างมาตรการที่เหมาะสมในการดำเนินการกับกรณีดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศระบบคอมมอนลอว์ จากที่เคยยึดหลัก identification เป็นหลักในการวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลมาก่อน ได้ดำเนินการปฏิรูปกฎหมายของตนโดยมีการนำเอาหลัก aggregation และ organization fault มาใช้ จากการวิเคราะห์ ผู้วิจัยพบว่าทฤษฎีความรับผิดของนิติบุคคลในยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปกฎหมายความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลในประเทศไทย จึงสมควรนำมาเป็นแนวทางในการปฏิรูปกฎหมายเพื่อให้เกิดความเหมาะสมต่อไป
Other Abstract: Nowadays, there are harms done by corporations but criminal justice process has not been very useful. This research finds that the most important factor for such failure is the lack of proper theoretical application to corporate criminal liability, particularly in the case of criminal negligent. Comparative studies of Criminal negligent for corporation in the common law countries reveal that the earlier usage of Doctrine of Identification to impose corporate criminal liability has certain limitations. The Doctrine which states that act and intention of a legal person’s representative are of those of juridical legal person was found to entail practical flaws. This research finds that the countries that concern with such harm have resorted to the process of legal reformation and introduced new measures. Especially, the common law countries where the doctrine of Identification was used to determine corporate criminal liability is now changed to the more modern ‘Aggregation theory’ and ‘Organisational Fault theory.’ Upon analysis, this research also finds that theory on corporate criminal liability in Thailand needs reform. Therefore, models for reform in some countries would be the guideline for appropriate legal changes in Thailand as well.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52107
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.968
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.968
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nalinorn_ti_front.pdf7.8 MBAdobe PDFView/Open
nalinorn_ti_ch1.pdf5.94 MBAdobe PDFView/Open
nalinorn_ti_ch2.pdf24.95 MBAdobe PDFView/Open
nalinorn_ti_ch3.pdf56.7 MBAdobe PDFView/Open
nalinorn_ti_ch4.pdf32.8 MBAdobe PDFView/Open
nalinorn_ti_ch5.pdf9.21 MBAdobe PDFView/Open
nalinorn_ti_back.pdf37.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.