Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52166
Title: ผลของการใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีร่วมกับการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยมะเร็งระยะแพร่กระจายต่อจำนวนวันนอนและคุณภาพการพยาบาล
Other Titles: EFFECTS OF CASE MANAGEMENT COMBINED WITH PALLIATIVE CARE MODEL IN PATIENTS WITH METASTATIC CANCER ON LENGTH OF STAY AND QUALITY OF NURSING CARE
Authors: อัญชัญ โสตถิลักษณ์
Advisors: วาสินี วิเศษฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Sasinee.W@Chula.ac.th,wwasinee.w@gmail.com
Subjects: มะเร็ง -- ผู้ป่วย -- การดูแล
Cancer -- Patients -- Care
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ได้ใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบจำนวนวันนอนของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะแพร่กระจายกระดูกสันหลังระหว่างกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลโดยใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีร่วมกับการดูแลแบบประคับประคอง และเปรียบเทียบระดับคุณภาพการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพระหว่างการดูแลผู้ป่วยโดยใช้การพยาบาลตามปกติ และการดูแลผู้ป่วยโดยใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีร่วมกับการดูแลแบบประคับประคอง กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะแพร่กระจายกระดูกสันหลัง 10 คน คัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดจัดเข้ากลุ่มที่ใช้เกณฑ์เปรียบเทียบโดยวิธีการจับคู่ ตามรายโรค อายุ เพศ และระดับความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (palliative performance scale) และพยาบาลวิชาชีพ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โครงการอบรม แผนการดูแลผู้ป่วย และคู่มือการจัดการผู้ป่วยรายกรณีร่วมกับการดูแลแบบประคับประคอง แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติบทบาทของพยาบาลผู้จัดการผู้ป่วยรายกรณี แบบบันทึกจำนวนวันนอนในโรงพยาบาล และแบบสอบถามการรับรู้คุณภาพพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ เครื่องมือผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าความตรงเท่ากับ 0.90 และตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิตินอนพาราเมตริก Mann-Whitney U test และ Wilcoxon matched -pairs signed-ranks test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะแพร่กระจายกระดูกสันหลังหลัง การใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีร่วมกับการดูแลแบบประคับประคองน้อยกว่าจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คุณภาพตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมทุกด้านหลังการใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีร่วมกับการดูแลแบบประคับประคองดีกว่าการพยาบาลแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this quasi-experimental research were to compare the length of stay in hospital of patients with metastatic spine and quality of care as perceived by nurses after using case management model with palliative care in Spinal unit Siriraj hospital. The research subject composed of 10 nurses who worked in Spinal unit and 10 patients who had diagnose of metastatic spine , case selected using matched with variable for disease, age, gender and level of activity of patients receiving palliative care (palliative performance scale). The research instrument were consisted of training project of case management model with palliative care, clinical pathway, manual for metastatic spine patient, observation form of nursing practice, length of stay in hospital record and questionnaire for quality of nursing care, tested for content validity by the five experts, the validity were 0.90 and reliability coefficient Cronbach alpha were 0.87. Data were analyzed by using standard deviation, statistical parametric Mann-Whitney U test and Wilcoxon matched -pairs signed-ranks test. The results of this study revealed that 1. The length of stay in hospital of patients with metastatic spine after using a case management model for patients with palliative care was less than criteria as usual care. The level of statistical significance. 05. 2. Quality as perceived by nurse after using a case management model for patients with palliative care was better than criteria as usual care. The level of statistical significance. 05.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52166
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.148
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.148
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577335936.pdf7.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.