Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52313
Title: ไฮโดรดีออกซิจิเนชันของกรดปาลมิติกบนตัวเร่งปฎิกิริยาซัลไฟด์ของ Ni-Mo และ Co-Mo แบบไม่มีตัวรองรับ
Other Titles: Hydrodeoxygenation of palmitic acid over unsupported Ni-Mo and Co-Mo sulfide catalysts
Authors: ศักดิพัฒน์ เวียงเกตุ
Advisors: ภัทรพรรณ ประศาสน์สารกิจ
บุญญาวัลย์ อยู่สุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Pattarapan.P@Chula.ac.th,Pattarapan.P@Chula.ac.th
boonyawy@mtec.or.th
Subjects: ตัวเร่งปฏิกิริยา
ซัลไฟด์
Catalysts
Sulfides
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: น้ำมันปาล์มที่ได้จากกระบวนการไพโรไลซิสและลิควิแฟกชันนั้นมักมีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบประมาณ 10-50 เปอเซนโดยมวล โดยเฉพาะกรดปาลมิติกในนํ้ามันปาล์ม ดังนั้นจึงเลือกปฎิกิริยาไฮโดรดีออกซิจิเนชันมาใช้กำจัดออกซิเจนออกจากกรดปาลมิติกอยู่ในรูปของน้ำ ตัวเร่งปฎิกิริยาที่นิยมใช้ในปฎิกิริยาไฮโดรดีออกซิจิเนชัน คือ MoS2 และมีการเติมตัวส่งเสริม(นิกเกิลและโคบอลต์) งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาไฮโดรดีออกซิจีเนชันของกรดปาลมิติกบนตัวเร่งปฎิกิริยาซัลไฟด์ของ Ni-Mo และ Co-Mo แบบไม่มีตัวรองรับ ตัวแปรที่ศึกษาคือชนิดตัวเร่งปฎิกิริยา อัตราส่วนโดยโมล Ni/(Ni+Mo) และ Co/(Co+Mo) ความเข้มข้นของสารตั้งต้น อุณหภูมิ ความดันและเวลา พบว่าผลิตภัณฑ์หลัก คือ สารประกอบนอร์มัลอัลเคน C14, C15 และ C16 การเพิ่มอุณหภูมิส่งผลให้เกิดเส้นทางของดีคาร์บอกซิเลชันและดีคาร์บอนิลเลชัน การเพิ่มความดันส่งผลให้เกิดเส้นทางของไฮโดรดีออกซิจีเนชัน การใช้ตัวเร่งปฎิกิริยานิกเกิลโมลิบดินัมให้ปริมาณผลิตภัณ์หลักสูงกว่าตัวเร่งปฎิกิริยาโคบอลต์โมลิบดินัม จากงานวิจัยนี้ตัวเร่งปฎิกิริยาและภาวะที่เหมาะสมในการทำปฎิกิริยา คือ ตัวเร่งปฎิกิริยานิกเกิล-โมลิบดินัม ที่อัตราส่วนโดยโมลเป็น 0.2 ความเข้มข้นสารตั้งต้น 1.5 โดยนํ้าหนักของสารละลาย อุณหภูมิ 320 องศาเซลเซียส ความดัน 70 บาร์ และเวลา 60 นาที เเสดงได้จากร้อยละการเปลี่ยนของกรดปาลมิติก (ร้อยละ 95.2) ร้อยละการเลือกเกิด (ร้อยละ 78.5) C16 เเละร้อยละผลได้ (ร้อยละ 65.6) C16
Other Abstract: Palm oil from biomass fast pyrolysis or liquefaction usually consists of high oxygen content compounds (10-50 wt%), especially palmitic acid in palm oil. Therefore, the oxygen in palmitic acid could be removed in the form of water via hydrodeoxygenation (HDO). Catalysts containing Mo as an active element and Ni or Co as a promoter have been used intensively for HDO process. This research work is to investigate the hydrodeoxygenation of palmitic acid over unsupported Ni-Mo and Co-Mo sulfide catalysts. The parameters of study were catalysts, mole ratio of Ni-Mo and Co-Mo, concentration of reactant, temperature, pressure and reaction time. Experimental results show that the main products were n-alkanes (C14, C15 and C16). Increasing temperature enhanced decarboxylation and decarbonylation pathways, whereas increasing pressure increased the contribution of hydrodeoxygenation pathway. However using Ni-Mo sulfide catalyst gave a higher C16 selectivity and C16 yield than Co-Mo sulfide catalyst. Based on this research, the appropriate catalyst and conditions were Ni/(Ni+Mo) ratio of 0.2, reactant concentration of 1.5 wt%, temperature of 320 oC, pressure of 70 bar and reaction time of 60 min. that give high palmitic acid conversion (95.2 %), C16 selectivity (78.5 %) and C16 yield (65.6 %) .
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52313
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.12
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.12
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5772164123.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.