Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52332
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิราพร เกศพิชญวัฒนาen_US
dc.contributor.authorชุติมา สินชัยวนิชกุลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2017-03-03T03:05:36Z-
dc.date.available2017-03-03T03:05:36Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52332-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ระดับการศึกษา รายได้ ความสามารถในการทำงานของร่างกาย ภาวะโภชนาการ และการเห็นคุณค่าในตนเอง ต่อการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร ในชุมชนบนพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เขต ห้วยขวางและเขตวังทองหลาง ซึ่งเป็นชุมชนต้นแบบที่ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จำนวน 282 คน โดยเครื่องมือที่ใช้แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล (2) ประเมินความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน (3) แบบประเมินภาวะโภชนาการ (4) แบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเอง และ(5) แบบสอบถามการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะ ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเที่ยงแบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเอง และแบบสอบถามการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะ จากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .85 และ.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อีตา (Eta Coefficient) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation) และค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชนมีการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (Mean = 4.25, SD = 0.72) 2. ผู้สูงที่อายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนมีระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับไม่มีภาวะพึ่งพา คิดเป็นร้อยละ 98.6 3. ผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชนส่วนใหญ่มีภาวะโภชนาการอยู่ในระดับปกติ คิดเป็นร้อยละ 85.8 4. ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนมีการเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 82.3 5. เพศมีความสัมพันธ์กับการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Eta= .484) 6. รายได้ ความสามารถในการทำงานของร่างกาย ภาวะโภชนาการ และการเห็นคุณค่าในมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .199, .197, .265 และ .499 ตามลำดับ) 7. ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study the correlation between gender, education, income, physical activity, nutrition and self-esteem, and healthy aging in the target area of Bangkok. The participants were 282 older persons live in the area of the Crown Property Bureau in Huai Khwang and Wang Thonglang Districts. The quality of life community model development was implemented. The instrumentation in the present study can be divided into the following 5 components: (1) Questionnaires on personal factors; (2) Barthel ADL index; (3) Mini Nutrition Assessment [MNA]; (4) Rosenberg self-esteem scale and (5) Healthy Aging Instrument [HAI]. The instruments were tested for content validity by a panel of qualified experts. The Rosenberg self-esteem scale and Healthy Aging Instrument were tested for content validity and reliability by calculating for Cronbach's Alpha Coeffirient, at .85 and .80, respectively. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, Eta coefficient, Pearson’s product moment correlation, and One-way ANOVA. The statistical significance level was set at 0.05 The findings can be summarized as follows: 1. The older persons in the communities were found to have high scores for healthy aging. (Mean = 4.25, SD = 0.72) 2. The older persons in the communities were found to have basic physical function without dependence (96.8%) 3. Most of the older persons in the communities had normal nutrition (85.8%) 4. The older persons living in the communities had high scores for self-esteem (82.3%) 5. Gender was found to be positively correlated with healthy aging with statistical at .05 (Eta=.484) 6. Income, physical function nutrition and self-esteem were found to be positively correlated with healthy aging with statistical significance at .05 (r = .199, .197, .265, .499, respectively) 7. Older persons with difference education levels had no differece in terms of healthy aging with stratistical significance at .05en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.587-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- ไทย -- กรุงเทพฯ-
dc.subjectสุขภาวะ-
dc.subjectOlder people -- Thailand -- Bangkok-
dc.subjectWell-being-
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชนเขตกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeFactors related to healthy aging among the older persons in community-dwelling of Bangkok metropolitanen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorJiraporn.Ke@Chula.ac.th,wattanaj@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.587-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777163436.pdf10.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.