Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5234
Title: การใช้เชื้อราสองชนิดในสกุล Paecilomyces เพื่อควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens) ในสภาพนาข้าว
Other Titles: Application of two fungus species in the genus Paecilomyces to control rice brown planthopper (Nilaparvata lugens) under paddy field condition
Authors: ขจาริน ศิริหงษ์สุวรรณ
Advisors: อรุณี จันทรสนิท
สมศักดิ์ ทองดีแท้
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล -- การควบคุมโดยชีววิทยา
ศัตรูพืช -- การควบคุมโดยชีววิทยา
เชื้อราที่ก่อโรคต่อแมลง
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การใช้เชื้อรา Paecilomyces lilacinus และ Paecilomyces fumosoroseus ในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลศัตรูข้าวพบว่า เชื้อราทั้งสองชนิดทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตายมากกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญเมื่อทดลองในห้องปฏิบัติการและในเรือนกระจก แต่เมื่อทดสอบในนาที่ปลูกข้าวพันธุ์ กข 7 โดยปล่อยแมลงในมุ้งครอบซึ่งวางแผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มเพื่อเปรียบเทียบระหว่างการฉีดพ่นเชื้อราแต่ละชนิด การใช้สารฆ่าแมลง Isoprocarb และชุดควบคุม ปรากฏว่าเฉพาะการใช้สารฆ่าแมลงสามารถควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ดี และทำให้ได้ผลผลิตข้าวสูงกว่าอย่างอื่น ส่วนการใช้เชื้อรา Paecilomyces ทั้งสองชนิดไม่มีผลในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หรือเพิ่มผลผลิตข้าวแตกต่างจากชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ
Other Abstract: The entomopathogenic fungi, Paecilomyces lilacinus and Paecilomyces fumosoroseus, were evaluated for biological control for rice brown planthopper. The results showed that both of them could control brown planthopper with significance in insect mortality as compared to the control in the laboratory and greenhouse. The field trial using the RD7 rice variety in plots containing insect rearing cages was conducted in Randomized Complete Block Design to compare the efficiency among two species of Paecilomyces, the insecticide Isoprocarb (MIPC) 50% WP, and the controlled treatment. The result revealed that only Isoprocarb could control brown planthopper and gave highest yield. No significant differences in insect control and rice yield among the rest of the treatments were obtained.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พฤกษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5234
ISBN: 9743465588
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Khajarin.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.