Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52376
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยศวีร์ สายฟ้าen_US
dc.contributor.authorจุฑารัตน์ ทับอุดมen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2017-03-03T03:06:34Z-
dc.date.available2017-03-03T03:06:34Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52376-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถทางสังคมก่อน ระหว่าง และหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบสืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษา และ (2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางสังคมก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบสืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครแห่งหนึ่ง จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถทางสังคม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 16 แผน โดยใช้รูปแบบสืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถทางสังคมของนักเรียนที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบสืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่มจากการวัดซ้ำ 9 ครั้ง มีพัฒนาการที่สูงขึ้น 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถทางสังคมของนักเรียนหลังจากได้เรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบสืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่มสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to: (1) examine the development of social competence of Elementary students before, during and after learning by the science learning activities using an approach the Group Investigation Model of Learning and (2) make the comparison between the social competence of elementary school students before and after learning through the activities with the Group Investigation Model. A sample was a group of 36 fifth grad students, in one public school under Bangkok Primary Education Service Area Office’s school, during semester 1 of academic year 2016. Social competence measurement test paper was developed for data collection. The 16 lesson plans using in Group Investigation Model was adopted as the research tool. The data was analyzed by T-Test and descriptive statistics including Arithmetic Mean, and Standard Deviation. The results indicated as follows: (1) The development of social competence of students, who studied by the science learning activities using an approach the Group Investigation Model, significantly increased. (2) At a statistical significance level of .05, compared with the average score of social competence measurement pre-test, the students achieved the higher average score of social competence, after learning through the activities using an approach the Group Investigation Model of Learning.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.562-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้-
dc.subjectวิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)-
dc.subjectInquiry-based learning-
dc.subjectScience -- Study and teaching-
dc.titleผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบสืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่มที่มีต่อความสามารถทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาen_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF USING SCIENCE LEARNING ACTIVITY THROUGH GROUP INVESTIGATION MODEL ON SOCIAL COMPETENCE OF ELEMENTARY SCHOOL STUDENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineประถมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorYotsawee.Sa@chula.ac.th,yotsawee.s@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.562-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783812027.pdf4.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.