Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52428
Title: ผลของการฝึกแรงต้านด้วยน้ำหนักตัวแบบวงจรที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักศึกษาชายระดับปริญญาบัณทิต
Other Titles: Effects of a resistance training program with bodyweight circuit upon undergraduate male health-related physical fitness
Authors: สาธิก ธนะทักษ์
Advisors: เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Tepprasit.G@chula.ac.th
Subjects: นักศึกษา -- สุขภาพและอนามัย
น้ำหนักตัว
สมรรถภาพทางกาย
Students -- Health and hygiene
Body weight
Physical fitness
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกแรงต้านด้วยน้ำหนักตัวแบบวงจรที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักศึกษาชายระดับปริญญาบัณฑิตกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น นิสิตจุฬาระดับปริญญาตรีที่ลงเรียนในรายวิชากิจกรรมกีฬา-หลักการสร้างสมรรถภาพทางกาย อายุ 18 -22 ปี จำนวน 60 คน เป็นเพศชาย โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คนโดยจัดกลุ่มให้มีความสมรรถภาพใกล้เคียงกัน กลุ่มที่แรกคือ กลุ่มควบคุมที่ออกกำลังกายตามปกติ กลุ่มที่สองคือ กลุ่มทดลองที่ออกกำลังกายด้วยโปรแกรมการฝึกแรงต้านด้วยน้ำหนักตัวแบบวงจร กลุ่มที่สองฝึก วันละ 45 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน 8 ทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ทั้งสองกลุ่ม แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า “ที” วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ ถ้าพบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีการของแอลเอสดี (LSD) โดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ กลุ่มทดลองที่ออกกำลังกายด้วยโปรแกรมการฝึกแรงต้านด้วยน้ำหนักตัวแบบ วงจรมีการพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ในเรื่อง เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ความอ่อนตัว ความอดทนของระบบหายใจและไหลเวียนโลหิต ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ แรงเหยียดแขน แรงเหยียดขา ความอดทนของกล้ามเนื้อ วิดพื้น และงอตัว มากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองที่ออกกำลังกายด้วยโปรแกรมการฝึกแรงต้านด้วยน้ำหนักตัวแบบ วงจรมีการพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ในเรื่อง เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ความอ่อนตัว ความอดทนของระบบหายใจและไหลเวียนโลหิต ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ แรงเหยียดแขน แรงเหยียดขา ความอดทนของกล้ามเนื้อ วิดพื้น และงอตัว มากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองที่ออกกำลังกายด้วยโปรแกรมการฝึกแรงต้านด้วยน้ำหนักตัวแบบ วงจรมีการพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ มากกว่ากลุ่มควบคุมที่ออกกำลังกายตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of resistance training program with bodyweight circuit upon undergraduate male health-related physical fitness. The subjects were 60 male students at Chulalongkorn University ,who enrolled Body condition class aged between 18-22 years old. They were chosed by purposive selection and divided equally into 2 groups by match group method. Group 1 was control group under normal exercise training and group 2 was experimental group under bodyweight circuit training. Groups 2 trained for 45 minutes a day, 3 days a week, for 8 weeks. Physical fitness test were measured before training, after training 4 weeks and 8 weeks in both groups. The obtained data were then statistically analyzed in term of means and standard deviation, t-test, One-way analysis of variance with repeated measures and multiple comparison by the LSD were also employed to determine the significant differences at the .05 level. The results were as follows: 1. After 4 weeks, health-related physical fitness, body fat, flexibility, cardiorespiratory fitness, muscular strength leg press, muscular endurance push up and curl in experimental group was significantly better than before training at the .05 level. 2. After 8 weeks, health-related physical fitness, body fat, flexibility, cardiorespiratory fitness, muscular strength leg press, muscular endurance push up and curl in experimental group was significantly better than before training at the .05 level. 3. After 8 weeks, health-related physical fitness in experimental group was significantly better than the control group at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52428
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1117
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1117
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sathik_th_front.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
sathik_th_ch1.pdf928.01 kBAdobe PDFView/Open
sathik_th_ch2.pdf4.17 MBAdobe PDFView/Open
sathik_th_ch3.pdf466.07 kBAdobe PDFView/Open
sathik_th_ch4.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open
sathik_th_ch5.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
sathik_th_back.pdf4.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.