Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52632
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมะลิ หุ่นสม-
dc.contributor.authorกฤษณะ ลีลารุจิ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-03-14T04:43:58Z-
dc.date.available2017-03-14T04:43:58Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52632-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractตัวเร่งปฏิกิริยาแพลทินัมถือได้ว่าเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่นิยมใช้สำหรับปฏิกิริยารีดักชันของออกซิเจนในเซลล์เชื้อเพลิงชนิดพีอีเอ็ม โดยในงานวิจัยนี้จะศึกษาการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาแพลทินัมโดยใช้ตัวรองรับเป็นผงคาร์บอนวัลแคน (Carbon Vulcan) จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าการใช้แอมโมเนียมเฮกซะคลอโรแพลทิเนต (Ammonium hexachloroplatinate, (NH4)2PtCl6) เป็นสารตั้งต้นนั้นให้ประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการใช้สารตั้งต้นเป็นกรดเฮกซะคลอโรแพลทินิก (Hexachloroplatinic acid, H2PtCl6)โดยวิธีการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสมที่สุดคือวิธีรีดักชันด้วยแอลกอฮอล์ จากนั้นจึงทำการศึกษาตัวแปรต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อลักษณะสัณฐานวิทยาและปริมาณแพลทินัมของตัวเร่งปฏิกิริยา พบว่าการใช้เมทานอลเป็นสารรีดิวซ์จะให้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีขนาดอนุภาคของแพลทินัมเล็กกว่าและมีการกระจายตัวของอนุภาคที่สม่ำเสมอกว่าการใช้เอทานอลและ 2-โพรพานอล อีกทั้งยังมีปริมาณแพลทินัมที่สูงกว่า เมื่อทำการศึกษาผลของค่าความเป็นกรด-เบสของสารละลายเริ่มต้น พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมในสารละลายกรดจะให้ลักษณะสัณฐานวิทยาที่เหมาะสมกว่าการเตรียมในสารละลายเบสและมีปริมาณของแพลทินัมที่สูงกว่า ส่วนการศึกษาผลของความเข้มข้นของเมทานอลและเวลาที่ใช้ในการเตรียม ตัวเร่งปฏิกิริยา พบว่าตัวแปรเหล่านี้จะส่งผลต่อลักษณะสัณฐานวิทยาและปริมาณของแพลทินัมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อนำตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมขึ้นโดยใช้ภาวะการเตรียมที่เหมาะสมที่สุดคือ เตรียมในสารละลาย เมทานอลที่มีความเข้มข้น 5.0 โมลต่อลิตร มีค่าความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นเท่ากับ 1 และใช้เวลาในการเตรียมทั้งหมด 1 ชั่วโมง มาทดสอบประสิทธิภาพทางเคมีไฟฟ้า พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมขึ้นมีพื้นที่ของการเกิดปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้า (Electrochemical surface area, ECA) เท่ากับ 39.66 ตารางเมตรต่อกรัม ซึ่งมีค่าสูงกว่าตัวเร่งปฏิกิริยาของบริษัท E-TEK ประมาณ 1.89 เท่า นอกจากนี้ที่ค่าความต่างศักย์เท่ากับ 0.6 โวลต์ ตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมขึ้นมีความหนาแน่นกระแสไฟฟ้าและความหนาแน่นกำลังไฟฟ้าเท่ากับ 535 มิลลิแอมแปร์ต่อตารางเซนติเมตรและ 0.32 วัตต์ต่อตารางเซนติเมตรตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativePlatinum electrocatalyst is usually used in PEM fuel cell due to its high activity for oxygen reduction reaction. In this work, the Pt/C electrocatalyst was prepared by using carbon Vulcan XC-72 as a supporter. The preliminary results showed that the catalyst prepared using ammonium hexachloroplatinate ((NH4)2PtCl6) as the Pt precursor provided a similar catalytic efficiency as that prepared by using hexachloroplatinic acid (H2PtCl6) as Pt precursor. The Pt/C electrocatalyst prepared using alcohol reduction method provided the best performance compared with others. The effects of parameters on the morphology and the Pt content of Pt/C electrocatalyst were also explored. The Pt/C electrocatalyst prepared using methanol as reducing agent provided the smallest platinum particle size, uniform distribution in nanometer range with the good particle dispersion and higher Pt contents compared with that prepared using ethanol and 2-propanol. The electrocatalyst prepared in the acid solution provided a smaller platinum particle size and a higher Pt contents than that prepared in the basic solution. In addition, the alcohol concentration and reaction time had slightly affected to the Pt particle size and the Pt contents of obtained catalyst. Consequently, the electrochemical performance of the Pt/C electrocatalyst that prepared by using optimized conditions (5 M of methanol, the solution initial pH of 1 and reaction time of 1 hour) was tested. The results showed that the prepared Pt/C electrocatalyst gave an electrochemical surface area (ECA) of 39.66 m2/g. This ECA value was larger than the commercial Pt/C electrocatalyst. Finally, from the polarization curve at 0.6 V, the prepared Pt/C electrocatalyst gave a current density and power density of 535 mA/cm2 and 0.32 W/cm2, respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.348-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectตัวเร่งปฏิกิริยาen_US
dc.subjectเคมีไฟฟ้าen_US
dc.subjectเซลล์เชื้อเพลิงชนิดเมมเบรนแลกเปลี่ยนโปรตอนen_US
dc.subjectเซลล์เชื้อเพลิงen_US
dc.subjectCatalystsen_US
dc.subjectElectrochemistryen_US
dc.subjectProton exchange membrane fuel cellsen_US
dc.subjectFuel cellsen_US
dc.titleการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าแพลทินัมบนคาร์บอนสำหรับปฏิกิริยารีดักชันของออกซิเจนในเซลล์เชื้อเพลิงพีอีเอ็มen_US
dc.title.alternativePreparation of Pt/C electrocatalyst for oxygen reduction reaction in PEM fuel cellen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเคมีเทคนิคen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisormali.h@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.348-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kritsana_le_front.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
kritsana_le_ch1.pdf513.29 kBAdobe PDFView/Open
kritsana_le_ch2.pdf6.4 MBAdobe PDFView/Open
kritsana_le_ch3.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
kritsana_le_ch4.pdf3.88 MBAdobe PDFView/Open
kritsana_le_ch5.pdf378.04 kBAdobe PDFView/Open
kritsana_le_back.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.