Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53099
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุกรี รอดโพธิ์ทอง-
dc.contributor.authorอารี อิ่มสมบัติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-06-23T07:43:42Z-
dc.date.available2017-06-23T07:43:42Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53099-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษารูปแบบของพิพิธภัณฑ์เสมือนที่มีอยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (2) เพื่อนำเสนอรูปแบบพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเสมือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ คือ พิพิธภัณฑ์เสมือนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั่วโลก จำนวน 66 แห่ง จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์องค์ประกอบพิพิธภัณฑ์เสมือน แบบประเมินองค์ประกอบพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเสมือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย สำหรับผู้เชี่ยวชาย และแบบประเมินและรับรองรูปแบบพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเสมือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบของพิพิธภัณฑ์เสมือนที่มีอยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีองค์ประกอบทั้งสิ้น 8 องค์ประกอบหลักแบ่งเป็น 1) ด้านโครงสร้างเว็บไซต์ ประกอบด้วย 20 องค์ประกอบรอง 2) ด้านข้อมูลสารสนเทศ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบรอง 3) ด้านนิทรรศการและการจัดแสดง ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบรอง 4) ด้านการศึกษา ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบรอง 5) ด้านความบันเทิงประกอบด้วย 5 องค์ประกอบรอง 6) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบรอง 7) ด้านการจัดเก็บข้อมูลประกอบด้วย 5 องค์ประกอบรอง 8) ด้านการประเมิน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบรอง 2. รูปแบบพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเสมือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย มีองค์ประกอบทั้งสิ้น 8 องค์ประกอบหลักโดยมีความแตกต่างจากผลการสำรวจรูปแบบพิพิธภัณฑ์เสมือนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตใน 2 ประเด็นต่อไปนี้ 2.1 มีองค์ประกอบหลักด้านกิจกรรม โดยการรวมองค์ประกอบหลักด้านความบันเทิง กับองค์ประกอบรองด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ ทำให้มีรูปแบบพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเสมือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย องค์ประกอบใหม่ที่ได้คือ องค์ประกอบด้านกิจกรรม มีองค์ประกอบรอง 2 องค์ประกอบคือ 1) การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ชมกับวัตถุ และ 2) ด้านความบันเทิง 2.2 เนื้อหาที่ใช้ในนิทรรศการและการจัดแสดง โดยรูปแบบพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเสมือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทยมีเนื้อหาที่ใช้จัดนิทรรศการแบ่งเป็น 5 หมวดหมู่ ดังนี้ 1) ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน 2) ภาษาและวรรณกรรมพื้นบ้าน 3) ดนตรีนาฎศิลป์และการละเล่นพื้นบ้าน 4) ความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นบ้าน และ 5) ชีวิตและความเป็นอยู่พื้นบ้านen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (1) study about Virtual Museum on the World Wide Web (2) to propose model of folklore virtual museum in the north-eastern region of Thailand. The samples were 66 online virtual museums which were randomly assigned with purposive sampling. Analysis form and questionnaires were used as research instruments to collect data. The statistics used for analyzing data were frequency, percentage, mean and standard deviation. The research findings were as follows: 1. The model of virtual museum on the World Wide Web consisted of eight categories: the first category was web site structure which consisted of 20 sub-categories. The second category was information which consisted of 3 sub-categories. The third categories were exhibition and displays which consisted of 4 sub-categories. The fourth category was education consisted of 2 sub-categories. The fifth category was entertainment consisted of 5 sub-categories. The sixth category was facility consisted of 4 sub-categories. The seventh category was documentation consisted of 5 sub-categories. The final aspect was evaluation which consisted of 3 sub-categories. 2. The model of folklore virtual museum in the north-eastern region of Thailand consisted of eight categories; however there were 2 catergories differ from the model of virtual museum’s survey on the World Wide Web, which were: 2.1 The “entertainment” category was suggested to be grouped with the “user-object interaction” under the catergory “activity” which consisted of 2 sub-categories: user-object interaction, and entertainment. 2.2 The content of model of folklore virtual museum under “exhibition” in the north-eastern region of Thailand was devided into 5 categories: the first categories were folk art and handcraft. The second categories were folk language and folk tale. The third categories were folk music, folk dance and folk play. The forth categories were believe and folklore. The final aspects were life and folkways.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1285-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพิพิธภัณฑ์ -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)en_US
dc.subjectพิพิธภัณฑ์เสมือน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)en_US
dc.subjectความจริงเสมือนเพื่อการศึกษาen_US
dc.subjectMuseums -- Thailand, Northeasternen_US
dc.subjectVirtual museums -- Thailand, Northeasternen_US
dc.subjectVirtual reality in educationen_US
dc.titleการนำเสนอรูปแบบพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเสมือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeA proposed model of folklore virtual museum in the north-eastern region of Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSugree.R@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1285-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
aree_lm_front.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
aree_lm_ch1.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
aree_lm_ch2.pdf13.88 MBAdobe PDFView/Open
aree_lm_ch3.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open
aree_lm_ch4.pdf5.53 MBAdobe PDFView/Open
aree_lm_ch5.pdf5.26 MBAdobe PDFView/Open
aree_lm_ch6.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open
aree_lm_back.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.