Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53297
Title: ธรณีวิทยาโครงสร้างของแนวสันเขาหินไรโอไลต์อุทัยธานี บริเวณชัยนาทดูเพลค ประเทศไทย
Other Titles: Structural geology of the Uthai thani rhyolite ridge within the Chainat duplex, Thailand
Authors: ณัชพล ขจรธรรม
Advisors: พิษณุพงศ์ กาญจนพยนต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: pitsanupong.k@hotmail.com
Subjects: ธรณีวิทยาโครงสร้าง -- ไทย -- อุทัยธานี
หินไรโอไลต์ -- ไทย -- อุทัยธานี
Geology, Structural -- Thailand -- Uthai Thani
Rhyolite -- Thailand -- Uthai Thani
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แนวสันเขาหินไรโอไลต์อุทัยธานีในบริเวณชัยนาทดูเพลคเป็นแนวภูเขา มีความยาว 25 กิโลเมตร วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ตั้งอยู่ในจังหวัดอุทัยธานี แนวสันเขานี้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนท่ามกลางที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงบริเวณที่ราบภาคกลางตอนบนจากภาพดาวเทียม ลักษณะทางธรณีวิทยาของแนวสันเขาดังกล่าวประกอบไปด้วยกลุ่มหินไรโอไลต์มหายุคมีโซโซอิกและมีพื้นที่คาบเกี่ยวเป็นหินปูนเพอร์เมียนบางส่วนจากการสำรวจภาคสนาม และการวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค ได้ถูกนำมาศึกษาและวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อใช้ในการอธิบายธรณีวิทยาโครงสร้างของแนวสันเขาหินไรโอไลต์อุทัยธานี ซึ่งพบว่าหินในพื้นที่ศึกษามีการเปลี่ยนลักษณะภายใต้สภาวะการเฉือนแบบแตกเปราะเคลื่อนที่ทวนเข็มนาฬิกา (Sinistral brittle shear) ซึ่งสังเกตได้จากโครงสร้างริ้วขนาน (Foliation) โครงสร้างแนวเส้น (Lineation) และผิวรอยครูด (Slickenside) ในหินโผล่และภายในแผ่นหินบางด้วย ธรณีวิทยาโครงสร้างและการเปลี่ยนลักษณะของแนวสันเขาหินไรโอไลต์อุทัยธานีมีความสัมพันธ์กับรูปลักษณ์ของชัยนาทดูเพลคและพฤติกรรมของรอยเลื่อนแม่ปิงในช่วงยุคเทอร์เทียรี
Other Abstract: Uthai Thani Rhyolite ridge within the Chainat duplex is the 25 km mountain range lying in N-S direction, and located in Changwat Uthai Thani. The ridge, which is clearly seen in the satellite image along the flat areas of the Central plane, is composed of Mesozoic rhyolite and a part of Permian limestone. Field observation and microstructure analysis have been integrated for the structural style of Uthai Thani Rhyolite ridge. The rocks within the ridge have been deformed under sinistral brittle shear which shown by foliations, lineations and slickensides in the outcrops in the thin sections. All structural elements and deformation style of Uthai Thani Rhyolite ridge relate to the Chainat duplex geometry and Mae Ping fault zone activity during Tertiary.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53297
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
report_Nutchapon Kachondham.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.