Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53298
Title: ความน่าจะเป็นของการเกิดแผ่นดินไหวตามแนวมุดตัวมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
Other Titles: Probabilities of earthquake occurrences in Manila subduction zone, Philippines
Authors: ณัฐชนา บุญฉลวย
Advisors: สันติ ภัยหลบลี้
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Pailoplee.S@hotmail.com
Subjects: แผ่นดินไหว -- ฟิลิปปินส์
การประเมินอันตรายจากแผ่นดินไหว
พยากรณ์แผ่นดินไหว -- ฟิลิปปินส์
Earthquakes -- Philippines
Earthquake hazard analysis
Earthquake prediction -- Philippines
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 2004 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.3 ริกเตอร์ บริเวณเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ทำให้เกิดสึนามิ สร้างความเสียหายให้กับหลายประเทศ รวมถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ซึ่งต่อมาภาครัฐ และเอกชนจึงมีความกังวลและให้ความสนใจว่าบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยนั้นมีโอกาสเกิดสึนามิได้หรือไม่ หลังจากการศึกษาและสร้างแบบจำลองการเดินทางของคลื่นสึนามิพบว่าแนวมุดตัวมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ สามารถส่งผลกระทบด้านสึนามิต่ออ่าวไทยได้ หากเกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริกเตอร์ งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาถึงความน่าจะเป็นของการเกิดแผ่นดินไหวขนาดต่างๆ และคาบอุบัติซ้ำ ตามแนวมุดตัวมะนิลา โดยอาศัยข้อมูลการตรวจวัดแผ่นดินไหวที่มีการบันทึกไว้ในอดีตจากฐานข้อมูลต่างๆ งานวิจัยนี้มีพื้นที่ศึกษาอยู่ระหว่างลองจิจูด 112 º - 125 º E และละติจูด 3 º - 23 º N ครอบคลุมพื้นที่ประเทศฟิลิปปินส์และพื้นที่ข้างเคียงที่มีความสำคัญในเชิงธรณีแปรสัณฐานที่สัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหว เมื่อทำการรวบรวมข้อมูลแผ่นดินไหว มีจำนวนข้อมูลแผ่นดินไหวทั้งหมด 304,257 เหตุการณ์ มีข้อมูลตั้งแต่ ค.ศ. 1960 - 2012 โดยบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มีขนาด mb 0.2 - 7.9 ริกเตอร์ Mw 3.6 - 8.0 ริกเตอร์ MS 0.1 - 8.8 ริกเตอร์ โดยมีความลึกระหว่าง 0 - 830 กิโลเมตร จากการวิเคราะห์ข้อมูลเหตุการณ์แผ่นดินไหวด้วยวิธีการทางสถิติพบว่าค่าความน่าจะเป็นของแผ่นดินไหวขนาดสูงสุดต่อปีบริเวณแนวมุดตัวมะนิลา มีค่าเท่ากับ 6.3 ริกเตอร์ แนวมุดตัวฟิลิปปินส์ 6.4 ริกเตอร์ และบริเวณประเทศฟิลิปปินส์มีค่า 6.8 ริกเตอร์ ตามลำดับ ค่าคาบอุบัติซ้ำของการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริกเตอร์ บริเวณแนวมุดตัวมะนิลามีค่า 36 ปี และบริเวณประเทศฟิลิปปินส์ท่ากับ 70 ปี โดยประมาณ ส่วนบริเวณแนวมุดตัวฟิลิปปินส์ มีคาบอุบัติซ้ำของการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.5 ริกเตอร์ ประมาณ 95 ปี ความน่าจะเป็นของการเกิดแผ่นดินไหว บริเวณแนวมุดตัวมะนิลา มีค่าความน่าจะเป็นของการเกิดแผ่นดินไหว 95% เมื่อมีขนาดแผ่นดินไหว 9.0 ริกเตอร์ ในเวลา 100 ปี บริเวณแนวมุดตัวฟิลิปปินส์ มีค่าความน่าจะเป็นของการเกิดแผ่นดินไหว 70% เมื่อมีขนาดแผ่นดินไหว 8.5 ริกเตอร์ ในเวลา 100 ปี และบริเวณประเทศฟิลิปปินส์ มีค่าความน่าจะเป็นของการเกิดแผ่นดินไหว 90% เมื่อมีขนาดแผ่นดินไหว 9.0 ริกเตอร์ ในเวลา 100 ปี ผลจากการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการประเมินระดับอันตรายจากแผ่นดินไหวในประเทศฟิลิปปินส์ และประเมินโอกาสการเกิดสึนามิที่อาจส่งผลกระทบต่ออ่าวไทย อย่างไรก็ตามเนื่องจากข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ศึกษาใช้เพียงข้อมูลที่ตรวจวัดได้จากเครื่องมือ ซึ่งมีช่วงเวลาในการบันทึกสั้นและอาจจะสั้นกว่าคาบอุบัติซ้ำของเหตุการณ์แผ่นดินไหวบางขนาด โดยเฉพาะขนาดใหญ่ ส่งผลให้การประเมินตัวแปรทางสถิติต่างๆ ที่ได้อาจมีความคาดเคลื่อนอยู่บ้าง การสืบค้นเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ทั้งจากข้อมูลบันทึกทางประวัติศาสตร์ และบันทึกทางธรณีวิทยาที่พบได้จากการเลื่อนตัวของชั้นตะกอน จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต เพื่อยืนยันความถูกต้องของผลการศึกษาที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้
Other Abstract: After devastation of the 2004 tsunami along the Andaman Sea side of Thailand, Thai’s citizen also worries about the situation of tsunami hazard along the Gulf of Thailand. Based on previous study, it is indicated that the Gulf of Thailand have a possibility to be attacked by the tsunami if the earthquake with equal or larger than 9.0 Richter occur in the the Manila Subduction zone, western part of Philippines. However, the return period and the probability of the earthquake occurrence in this earthquake source zone are still myth. This study, therefore, focused on the statistical evaluation of the earthquake occurrence along the Manila Subduction Zone based mainly on the existing earthquake data recorded in the past. From statistic evaluation, it is indicated that the most probable largest annual magnitudes of the earthquakes have been estimated as 6.3, 6.4 and 6.8 Richter for the Manila and the Philippines Subduction zone including the mainland of Philippines. The return period of the earthquakes with magnitude greater than or equally to 9.0 Richter have been estimated around 40 and 70 years for the Manila trench and the Philippines, respectively. And the return period of the earthquakes with magnitude greater than or equally to 8.5 Richter have been estimated around 95 years for the Philippines Subduction zone. This obtained information also implies the probability of tsunami hazard occurrence in the Gulf of Thailand.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53298
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
report_Natchana Boonchaluay.pdf5.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.