Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53324
Title: การสำรวจธรณีฟิสิกส์แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
Other Titles: Geophysical investigation of pre-historical archaeological site, Amphoe Bankruad, Changwat Buriram
Authors: ธาริณีย์ จิรคงสวัสดิ์
Advisors: ฐานบ ธิติมากร
สันติ ภัยหลบลี้
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Pailoplee.S@hotmail.com
thanop.t@chula.ac.th
Subjects: ธรณีฟิสิกส์ -- ไทย -- บุรีรัมย์
ธรณีฟิสิกส์ในโบราณคดี -- ไทย -- บุรีรัมย์
การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ -- ไทย -- บุรีรัมย์
Geophysics -- Thailand -- Buriram
Geophysics in archaeology -- Thailand -- Buriram
Geophysical surveys -- Thailand -- Buriram
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาการสำรวจธรณีฟิสิกส์ด้วยเรดาห์ (Ground Penetration Radar, GPR) เป็นการสำรวจด้านธรณีฟิสิกส์โดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Waves, EM) ในการตรวจสอบสภาพใต้พื้นดิน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและสามารถตรวจวัดได้รวดเร็วอีกทั้งไม่ทำลายวัสดุที่ทดสอบ ทำให้เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน การประยุกต์ใช้ GPR นั้นมีมากมายหลายด้าน โดยได้ทำการสำรวจแหล่งโบราณคดีปราสาททอง อำเภอบางบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มจากการทดสอบหาความถี่ที่เหมาะสมของเครื่องมือที่สามารถตอบสนองต่อโบราณวัตถุได้ชัดเจน คือ ความถี่ 900 MHz จากนั้นจึงทำการเก็บข้อมูล GPR ในพื้นที่ 100 ชุดข้อมูล และพบว่ามีค่าความผิดปกติที่สามารถแยกความแตกต่างของดินและศิลาแลงที่ฝังอยู่ใต้ดินได้ นอกจากนี้ความถี่ดังกล่าวยังสามารถแยกแยะและระบุขอบเขตของสระน้ำโบราณ ที่ทำจากดินโดยสังเกตจากค่าความผิดปกติที่เกิดจากการสะสมตัวในช่วงเวลาที่ต่างกันของดินในยุคโบราณและดินในปัจจุบัน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ความถี่ขนาด 900 MHz คือความถี่ที่เหมาะสมในการสำรวจทางโบราณคดีเพื่อแยกแยะโครงสร้างโบราณทั้งแบบที่แตกต่างกัน เช่น ศิลาแลงกับดิน และแบบที่เป็นวัสดุที่เหมือนกัน เช่นดินกับดิน ทั้งนี้จากการศึกษาดังกล่าว พบว่านอกจากพบศิลาแลงโผล่พ้นผิวดินเล็กน้อยแล้ว ยังมีโบราณวัตถุและสิ่งก่อสร้างในสมัยก่อนจำนวนมากหลงเหลืออยู่ในชั้นใต้ดินของปราสาททอง เช่น ถนนศิลาแลง และบ่อน้ำโบราณซึ่งถูกปิดทับโดยดินจนหมด
Other Abstract: In this study, the ground penetration radar (GPR) is applied for exploring subsurface features of the Prasat Thong archaeological site, Amphoe Bankruad, Changwat Burirum. At first, some different frequencies of GPR antennas are tested in order to define the most appropriated frequency range responded efficiently with the existing archaeological objects. Thereafter, totally 100 GPR profiles of selected 900 MHz antenna are operated. The obtained data show the GPR anomalies identifying the difference between covering sediment and the buried laterite blocks. Furthermore as the same frequency, GPR anomalies can also separate and locate the boundary of ancient pool with made from the sediment and cover by the sediment with different time of deposition. Therefore based on this research study, it is conclude technically that, the 900 MHz antenna is the most appropriated frequency range for exploring the ancient remain’s structures both different (i.e., laterite-sediment) and same (i.e., sediment-sediment) materials. In addition for site study, beside some small portion of laterite blocks exposed on the surface, there are a large number of ancient remain leave underground of the Prasat Thong ancient remain including laterite road and pool cover by sediment.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53324
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
report_Tarinee Jirakongsawat.pdf4.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.