Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53365
Title: แบบจำลอง 2 มิติ แสดงการรุกล้ำของน้ำทะเลและการฟื้นฟูโดยเทคนิคบ่อน้ำซึม
Other Titles: 2D model demonstrating salwater intrusion and remediation by an infiltration pond techniquee
Authors: พงศ์ธัชชัย ปณชัยบูรณ์พิภพ
Advisors: ศรีเลิศ โชติพันธรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: lertc77@yahoo.com
Subjects: น้ำบาดาล
ชั้นน้ำบาดาล
น้ำทะเล
บ่อน้ำ
แบบจำลองทางชลศาสตร์
Groundwater
Aquifers
Seawater
Ponds
Hydraulic models
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันมีความต้องการใช้น้ำจืดมากขึ้น จึงได้นำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้สูงขึ้น เนื่องจากน้ำบาดาลมีปริมาณมาก และสะอาด อย่างไรก็ตามปัญหาหนึ่งที่พบคือการรุกล้ำของน้ำทะเลในชั้นน้ำบาดาลในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเล ซึ่งทำให้น้ำบาดาลที่สูบขึ้นมาใช้เปลี่ยนสภาพเป็นน้ำกร่อยและน้ำเค็มในที่สุด การแก้ปัญหาดังกล่าวมีหลายวิธี เช่น การอัดน้ำจืดบริเวณชายฝั่ง การสูบน้ำทะเลออกก่อนเข้าสู่ชั้นน้ำบาดาล และการสร้างผนังกั้นน้ำทะเล ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายสูง ตลอดจนต้องใช้เทคนิคขั้นสูงในการดำเนินการ โครงงานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้แบบจำลองทางกายภาพ 2 มิติ เพื่อศึกษาการรุกล้ำของน้ำทะเลในชั้นน้ำบาดาลไร้แรงดัน และจำลองการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีบ่อน้ำซึม เนื่องจากเสียค่าใช้จ่ายน้อยและง่ายต่อการนำมาแก้ไขปัญหา การทดลองใช้แบบจำลองทางกายภาพ 2 มิติ โดยใช้แผ่นอะคริลิคใสมีขนาดภายในยาว 100 ซม. สูง 50 ซม. และกว้าง 4 ซม.จำลองภาพตัดขวางของชั้นน้ำบาดาลแบบไร้แรงดัน โดยใช้ทรายละเอียดขนาด 0.60-0.85 มม. เป็นตัวแทนของทรายชายฝั่ง ใช้น้ำกลั่นและน้ำเกลือเป็นตัวแทนของน้ำบาดาลและน้ำทะเล ตามลำดับ ในการดำเนินการทดลองแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1) เริ่มการทดลองโดยควบคุมให้เกิดการไหลของน้ำในชั้นทรายในสภาวะสมดุลอุทกสถิตของน้ำทะเลและน้ำจืด 2) ภายหลังจากสภาวะสมดุลอุทกสถิตได้ดำเนินการสูบน้ำออกด้วยอัตราการสูบ 0.225 cm3/s และ 3) ดำเนินการจ้าลองการแก้ไขปัญหาการรุกล้ำของน้ำทะเลเข้าสู่ ชั้นน้ำบาดาลไร้แรงดันโดยวิธีบ่อน้ำซึมด้วยอัตราการเติม 0.100 cm3/s ภายหลังแต่ละขั้นตอนจะดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำจากจุดเก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 50 ตัวอย่าง และน้าตัวอย่างน้ำที่เก็บมาตรวจวัดค่าความเค็มโดยใช้เครื่องวัดความเค็ม (Salinity refractometer) และถ่ายภาพสีเพื่อใช้ในการแปลแนวการรุกล้ำของน้ำทะเลโดยใช้โปรแกรม Tracker 4.84 เพื่อประเมินแนวรอยต่อระหว่างน้ำทะเลและน้ำจืด ผลการทดลองพบว่าในสภาวะสมดุลอุทกสถิตแนวรอยต่อดังกล่าวสอดคล้องกับสมการของ Glover และการสูบน้ำออกจากชั้นน้ำจะพบแนวการรุกล้ำของน้ำทะเลสูงขึ้นอย่างชัดเจน และในส่วนสุดท้ายที่มีการแก้ไขปัญหาการรุกล้ำของน้ำทะเลโดยบ่อน้ำซึมพบว่าแนวรอยต่อระหว่างน้ำทะเลและน้ำจืดมีระดับลดต่ำลง โดยเฉพาะบริเวณบ่อน้ำซึมและบริเวณหลังจากบ่อน้ำซึม และพบว่าพื้นที่การรุกล้ำของน้ำทะเลลดลง 56 เปอร์เซ็นต์
Other Abstract: Recently, water demand is continuously increasing due to growth of population and economic development. So, groundwater is highly pumped to use because it reserves a high storage and is clean enough to drink. However, saltwater intrusion is one major problem of coastal groundwater aquifer, causing groundwater to be more salinity. There are many remediation techniques to solve this problem such as freshwater injection, saltwater extraction and subsurface barrier, which are costly and need sophisticated techniques. This project conducted 2D physical model to investigate the saltwater intrusion in an unconfined sandy aquifer and simulate an infiltration pond technique to mitigate saltwater intrusion due to a low cost and easy to implement remediation method. The 2D physical model is made of acrylic sheets with 100 cm long, 50 cm high and wide and 4 cm thick to represent a cross section of an unconfined aquifer in the coastal area. Clean sorted sand (0.60-0.85 mm in diameter) is used to represent aquifer media in the unconfined aquifer. Freshwater and saltwater are used to represent groundwater and seawater, respectively. The experiment is divided into three parts in following procedures: 1) groundwater flow in the model was set under a hydrostatic equilibrium condition between saltwater and freshwater, 2) after the equilibrium condition, water was pumped by a groundwater well with pumping rate 0.225 cm3/s and 3) an infiltration pond technique with infiltration rate 0.100 cm3/s were carried out. Each step is employed to collect water samples from 50 sampling points in order to measure salinity of water by using a salinity refractometer and the digital pictures were taken to determine the interface between of saltwater and freshwater by using a Tracker 4.84. The results shows that interface under the hydrostatic equilibrium condition is corresponding to the Glover equation. Moreover, in step 2, sharp interface is obviously induced after pumping from the groundwater well. Finally, the infiltration pond technique shows that interface is retreated, especially in areas landward of the pond and the area affected from saltwater intrusion is decreased of 56 percent.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2556
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53365
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5332721823 พงศ์ธัชชัย ปณชัยบูรณ์พิภพ.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.