Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53576
Title: การหาค่าความเร็วคลื่นเฉือนของดินด้วยสายพานรับสัญญาณคลื่นพื้นผิวแบบเอ็มเอเอสดับเบิ้ลยู บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
Other Titles: Application of Masw Land Streamer for Determining Shear Wave Velocity of Soils in Amphoe Muang, Changwat Lamphun
Authors: ธนบดี แร่นาค
Email: tanabodi_1@hotmail.com
Advisors: ฐานบ ธิติมากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: thanop.t@chula.ac.th
Subjects: คลื่นเฉือน
คลื่นพื้นผิว
พยากรณ์แผ่นดินไหว
พยากรณ์แผ่นดินไหว -- ไทย
พยากรณ์แผ่นดินไหว -- ไทย -- ลำพูน
Shear waves
Surface waves (Seismology)
Earthquake prediction
Earthquake prediction -- Thailand
Earthquake prediction -- Thailand -- Lamphun
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากพื้นที่ตั้งของอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีประชาชนอาศัยอยู่มากและ ตั้งอยู่บนตะกอนที่ยังไม่แข็งตัวนอกจากนี้ยังตั้งใกล้กับแนวรอยเลื่อนมีพลังหลายแห่งในเขต ภาคเหนือของประเทศไทย และ ในประเทศพม่า ทำให้มีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจาก แรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวสูง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ทำการประเมินพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด การขยายสัญญาณแผ่นดินไหวบริเวณอำเภอเมือง จังหวัดลาพูน โดยอาศัยข้อมูลค่าความเร็วคลื่น เฉือนของดินด้วยวิธีแบบ MASW (Multi-channel Analysis of Surface Wave) โดยทำการเก็บ ข้อมูลค่าความเร็วคลื่นเฉือนของดินตามแนวเส้นทางหลักที่ตัดผ่านเขตตัวเมืองคือในทิศตะวันออก เฉียงใต้ไปยังทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และทำการเก็บข้อมูลให้ครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่ เมื่อได้ค่า ความเร็วคลื่นเฉือนแต่ละจุดศึกษาจะทำการเฉลี่ยที่ระดับความลึก 30 เมตร แสดงผลออกมาเป็น แผนที่ค่าความเร็วคลื่นเฉือนเฉลี่ยที่ความลึก 30 เมตร และก็มาจำแนกตามข้อกำหนดของ National Earthquake Hazards Reduction Program 2003 (NEHRP 2003) แสดงผลลัพธ์ ออกมาเป็นแผนที่จำแนกชนิดของดินตามข้อกำหนด NEHRP 2003 ซึ่งจะสามารถบอกแนวโน้ม การขยายตัวของแรงแผ่นดินไหวได้ คือในบริเวณพื้น ที่ศึกษาจะสามารถแบ่งชนิดดินตามข้อกำหนด ของ NEHRP 2003 ได้ออกเป็น 2 class คือ class C กับ class D ซึ่งภายในตัวเมืองลาพูน ตั้งอยู่ บนดิน class D เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น บริเวณนี้จึงมีความเสี่ยงภัยจากแรงแผ่นดินไหวมากกว่า บริเวณอื่น ดังนั้นในการออกแบบฐานรากควรคำนึงถึงผลกระทบจากแรงแผ่นดินไหวด้วย
Other Abstract: Amphoe Muang, Changwat Lamphun where have many people live is located on soft sediment and near the active faults of the northern part of Thailand and Myanmar. So it is a high risk area to be affected by the earthquake ground motion. In this study, we consider the area of amplification of soils by using the MASW (Multi-channel Analysis of Surface Wave) (Park et al., 1999) method to collect the shear-wave velocity of soils data along the roads that past the urban areas. We collected the data from Southeast to Northwest that past the urban areas and collected data that cover all area. Next we calculated the averaged shear-wave velocity down to 30 meters (Vs (30)) for estimated the ground motion amplification of soils Vs (30) at each station are used to classify the soil classes based on the recommendations of the 2003 National Earthquake Hazards Reduction Program (NEHRP). The result show with NEHRP Classification of soil map can explain amplification of soils that the study area can divided into 2 classes: Class C and Class D. The urban areas of Amphoe Muang, Changwat Lamphun located on Class D that can amplify ground motions.So these areas should guardedly design the construction and the building that already constructed should recondition the structure for protect the damage.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53576
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1423
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1423
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5432716823_ธนบดี แร่นาค.pdf4.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.