Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54890
Title: กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามแนวคิดการเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
Other Titles: ACADEMIC MANAGEMENT STRATEGIES ACCORDING TO THE CONCEPT OF THE QUALITY OF GIFTED STUDENTS’ ENHANCEMENT FOR SUSTAINABLE DEVELOPMENT
Authors: พรพรรณ ธรรมธาดา
Advisors: ปองสิน วิเศษศิริ
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pongsin.V@Chula.ac.th,v.pongsin@gmail.com
Pruet.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารงานวิชาการมุ่งสู่การเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดการเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามแนวคิดการเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 131 โรงเรียน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นด้วยเทคนิค PNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดของการบริหารงานวิชาการมุ่งสู่การเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย (1) การบริหารงานวิชาการ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล (2) คุณภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ได้แก่ การคิดขั้นสูงและการแก้ปัญหา การเป็นผู้นำและการปรับตัว การใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร (3) การพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ ผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสังคม ผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจ ผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านการคิดเชิงระบบ 2) สภาพปัจจุบันพบว่าอยู่ในระดับ มาก และสภาพที่พึงประสงค์พบว่าอยู่ในระดับ มากที่สุด 3) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามแนวคิดการเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก 9 กลยุทธ์รอง กลยุทธ์หลัก คือ (1) กลยุทธ์ปฏิรูปการวัดและประเมินผลมุ่งสู่การเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (2) กลยุทธ์พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนมุ่งสู่การเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และ (3) กลยุทธ์ยกระดับการพัฒนาหลักสูตรมุ่งสู่การเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
Other Abstract: The objectives of this research were 1) to study the conceptual framework ; 2) to explore the current and expected states, and 3) to develop academic management strategies of the quality of gifted students’enhancement for sustainable development. Mixed-method methodology was applied for this research. The sampling were gathered from 131 schools under the Office of the Basic Education Commissions. (Enrichment Science Classroom). The research instruments were questionares and an evaluation form. Descriptive statistics were used to acquire frequency, percentage, mean, standard deviation and a Modified Priority Needs index (PNIModified ) technique and contents analysis that were used in data’s analysis. The findings were as follows : 1) the conceptual framework of academic management strategies of the quality of gifted students’enhancement for sustainable development consisted of (1)academic management including curriculum development, teaching and learning, measurement and evaluation; (2) the quality of gifted students’enhancement including higher-order thinking and solutions skills, leadership and adaptability skills, technology and communication skills; (3) sustainable development including environment learning outcomes, social learning outcomes, economic learning outcomes, systematic thinking learning outcomes. 2) The current states was at high level , while the desirable states was the highest level. 3)The academic management strategies of the quality of gifted students’enhancement for sustainable development contained 3 main strategies and 9 sub-strategies were (1) Reforming measurement and evaluation of the quality of gifted students’enhancement for sustainable development; (2) Developing to teaching and learning efficiency of the quality of gifted students’enhancement for sustainable development, and (3) Elevating curriculum of the quality of gifted students’enhancement for sustainable development.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54890
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.515
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.515
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584249727.pdf11.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.