Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54941
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนิดา ปรีชาวงษ์-
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.authorสุภัทรา ผิวขาว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:21:25Z-
dc.date.available2017-10-30T04:21:25Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54941-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการวิจัยแบบสหสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพและอำนาจการทำนายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรก จากปัจจัยดังต่อไปนี้ ได้แก่ สภาวะการทำหน้าที่ อาการเหนื่อยล้า อาการปวด การเผชิญปัญหา การสนับสนุนทางสังคม และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเกี่ยวกับการดูแลตนเอง โดยใช้แนวคิดคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของ Ferrans เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรก มีอายุระหว่าง 30-59 ปี มาติดตามการรักษา ณ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตำรวจและสถาบันประสาทวิทยา จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินสภาวะการทำหน้าที่ แบบประเมินความเหนื่อยล้า แบบประเมินอาการปวด แบบประเมินการเผชิญปัญหา แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเกี่ยวกับการดูแลตนเอง และแบบประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98, .97, .91, .83, .93 และ .97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรกมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 23.97, SD = 4.28) 2. การสนับสนุนทางสังคม การเผชิญปัญหา และอาการปวด สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรกได้ร้อยละ 38.3 (Adjusted R2 = .383)-
dc.description.abstractalternativeThis predictive research aimed to investigate health-related quality of life and to examine whether functional status, fatigue, pain, coping, social support, and self-care self-efficacy could predict health-related quality of life in the first-time stroke patients. The theoretical framework was based on Conceptual Model of Health-Related Quality of Life of Ferrans. One hundred and thirty-two first-time stroke patients, aged between 30-59, were recruited from the outpatient departments of Police General Hospital and Prasat Neurological Institute. Research instrument was a set of questionnaires consisting of eight parts: The Demographic Patients’ Data Form, the Modified Barthel Activities Daily Living Index, the Fatigue Severity Scale, the Numerical Pain Rating Scale, the Coping Strategies Questionnaire, the ENRICHD Social Support Questionnaire, the Self-efficacy Questionnaire, and the Quality of Life Index-Stroke Version. The questionnaires were validated by five experts. Internal consistency reliability determined by Cronbach's alpha coefficients were .98, .97, .91, .83, .93, and .97, respectively. Data were analyzed using mean, standard deviation, Spearman’s Rank Product Moment Correlation, and stepwise multiple regression. The results were presented as follows: 1. The mean score of health-related quality of life among the first-time stroke patients is in good level (mean = 23.97, SD = 4.28). 2. Social support, coping, and pain are significant predictors that explain 38.3% of the variance in the health-related quality of life among the first-time stroke patients (Adjusted R2 = .383; p-value ‹ .05).-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.646-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมอง, -- ผู้ป่วย-
dc.subjectคุณภาพชีวิต-
dc.subjectCerebrovascular disease -- Patients-
dc.subjectQuality of life-
dc.titleปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรก-
dc.title.alternativePREDICTING FACTORS OF HEALTH-RELATED QUALITY OF LIFE AMONG THE FIRST STROKE PATIENTS-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.646-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5677221036.pdf6.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.