Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54977
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์-
dc.contributor.advisorธีรภัทร กุโลภาส-
dc.contributor.authorอุษณีษ์ ธีระพัชรรังษี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:22:08Z-
dc.date.available2017-10-30T04:22:08Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54977-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของครูและการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนครอบครัวซาเลเซียนในประเทศไทย 2) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของครูกับการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนครอบครัวซาเลเซียนในประเทศไทยและ 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของครูให้มีผลต่อการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนครอบครัวซาเลเซียนในประเทศไทย ใช้การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ประชากรจำนวน 22 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้บริหารและครู จำนวน 345 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และ PNI modified ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบแนวคิดการพัฒนาความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของครูและการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนครอบครัวซาเลเซียนในประเทศไทย ประกอบด้วย 1) การพัฒนาความเป็นผู้นำ ได้แก่ (1) การฝึกอบรมนอกสภาพแวดล้อมการทำงาน (2) การฝึกอบรมระหว่างการปฏิบัติงานปกติในสถานที่ทำงาน 2) ความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ ได้แก่ (1) มีวิสัยทัศน์ทางจริยธรรมที่สูงส่ง (2) มีพลังในการสร้างแรงบันดาลใจด้วยความศรัทธาและความหวัง (3) มีความรักเมตตา และ 3) คุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ได้แก่ 1) ความขยัน 2) ศรัทธาในความดี 3) ความร่าเริง 2. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของครูที่มีผลต่อการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนในครอบครัวซาเลเซียนในประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยของสภาพที่พึงประสงค์ สูงกว่าสภาพปัจจุบันในทุกด้าน 3. กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของครูที่มีผลต่อการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนครอบครัวซาเลเซียนในประเทศไทยมี 2 กลยุทธ์หลัก คือ 1) กลยุทธ์การปฏิรูปการฝึกอบรมนอกสภาพแวดล้อมการทำงานเพื่อพัฒนาความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของครู 2) กลยุทธ์การพัฒนาการสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการฝึกอบรมระหว่างการปฏิบัติงานปกติภายในองค์กรให้มีความเข้มแข็ง โดยมีกลยุทธ์รองจำนวน 4 กลยุทธ์ได้แก่ 1) กลยุทธ์การยกระดับการเรียนรู้ด้วยตนเองของครูให้มีวิสัยทัศน์ทางจริยธรรมที่สูงส่งและมีพลังในการสร้างแรงบันดาลใจด้วยความศรัทธาและความหวังในการเสริมสร้างความขยันและความศรัทธาในความดีของนักเรียน 2) กลยุทธ์การปฏิรูปการเรียนรู้เป็นกลุ่มของครูให้มีวิสัยทัศน์ทางจริยธรรมที่สูงส่งและมีพลังในการสร้างแรงบันดาลใจด้วยความศรัทธาและความหวังในการเสริมสร้างความขยันและความศรัทธาในความดีของนักเรียน 3) กลยุทธ์การยกระดับการเรียนรู้ตัวต่อตัวของครู ให้มีวิสัยทัศน์ทางจริยธรรมที่สูงส่งและมีพลังในการสร้างแรงบันดาลใจด้วยความศรัทธาและความหวังให้มีผลต่อการเสริมสร้างความขยันและความศรัทธาในความดีของนักเรียน 4) กลยุทธ์การพัฒนาการเรียนรู้จากประสบการณ์ของครูให้มีวิสัยทัศน์ทางจริยธรรมที่สูงส่งและมีพลังในการสร้างแรงบันดาลใจด้วยความศรัทธาและความหวังในการเสริมสร้างความร่าเริงของนักเรียน-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were 1) to study the conceptual framework suitable for developing spiritual leadership of teachers influencing the virtue and ethic enhancement of students in the Salesian family schools in Thailand. 2) to analyze the current and desired state for developing spiritual leadership of teachers impacting the virtue and ethic enhancement of students in the Salesian family schools in Thailand and 3) to develop strategies for the development of spiritual leadership of teachers affecting the virtue and ethic enhancement of students in the Salesian family schools in Thailand. A descriptive approach was used. The informants consisted of 345 school directors and teachers from a population of 22 Salesian family schools in Thailand.The research instruments were questionnaires and descriptive statistics and a Modified Priority Needs Index (PNI modified ) were used for data analysis. The results demonstrated that: 1.There were three aspects of conceptual framework: 1.1 Leadership development were off the job training and on the job training 1.2 Spiritual leadership comprised: a higher ethical vision, inspirational power by faith and hope, and loving kindness 1.3 The virtue and ethic of the students encompassed diligence, belief in goodness, and cheerfulness 2.The average figure of the desirable stage of spiritual leadership development of teachers affecting the virtue and ethic enhancement of students in the Salesian family schools in Thailand was higher than the current state in all aspects and 3.Two major strategies: the strategy of reforming off the job training and generating new culture of on the job training in order to gain the strength in organization with 4 sub strategies, were 1) the strategy for elevating solo learning of teachers 2) the strategy of reforming group learning of teachers 3) the strategy for raising up one-on-one learning of teachers, to have a higher ethical vision and inspirational power by faith and hope to enhance diligence and belief in the goodness of the students, and 4) the strategy for developing experiential learning of teachers to have a higher ethical vision and inspirational power by faith and hope to enhance cheerfulness in the students. These strategies were designed for developing spiritual leadership of teachers impact the virtue and ethic enhancement of students in the Salesian family schools in Thailand.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.516-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleกลยุทธ์การพัฒนาความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของครูที่มีผลต่อการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนในครอบครัวซาเลเซียนในประเทศไทย-
dc.title.alternativeSTRATEGIES FOR DEVELOPING SPIRITUAL LEADERSHIP OF THE TEACHERS AFFECTING THE VIRTUE AND ETHIC ENHANCEMENT OF STUDENTSIN THE SALESIAN FAMILY SCHOOLS IN THAILAND.-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorPruet.S@Chula.ac.th,Pruet.S@Chula.ac.th-
dc.email.advisorDhirapat.K@chula.ac.th,dhirapat.k@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.516-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684254927.pdf9.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.